วันสากลว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่น

คอลัมน์ รู้ไปโม้ด

โดย…น้าชาติ ประชาชื่น

วันสากลว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่น – ผู้อพยพมีมากมายและเป็นวิกฤตหนึ่งของโลก มี วันผู้อพยพไหม (เหมือนที่มีวัน ผู้ลี้ภัย)

ป่าฝน

ตอบ ป่าฝน

วันนี้ 18 ธันวาคม คือ วันสากลว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่น (International Migrants Day)

องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 18 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสากลว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่น เนื่องจากเป็นวันที่สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปกป้องและคุ้มครองแรงงานข้ามชาติและครอบครัว 1991 เพื่อรณรงค์ถึงความสำคัญของแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามที่เป็นบุคคลในครอบครัวที่ทำงานและย้ายถิ่นทั่วโลก ให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิทั้งสิทธิมนุษยชนและสิทธิการเป็นแรงงาน

วันสากลว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่น

วันสากลว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่น

และเพื่อสร้างความตระหนักถึงการอพยพย้ายถิ่นฐานที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งตลอดประวัติศาสตร์มนุษยชาติ การย้ายถิ่นถือได้ว่าเป็นความกล้าหาญในการแสดงออกถึงเจตนารมณ์ของแต่ละบุคคลเพื่อเอาชนะความทุกข์ยากและเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของตนเองและครอบครัว

ทั้งนี้ จำนวนแรงงานที่มีการย้ายถิ่นระหว่างประเทศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จากประมาณ 175 ล้านคนในปี .. 2543 เพิ่มมาเป็น 244 ล้านคนในปี 2558 กระทั่งถึงช่วงปี 2559 โลกเผชิญกับการอพยพย้ายถิ่นที่สำคัญในหลายพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการย้ายถิ่น และกลายเป็นวิกฤตของการอพยพย้ายถิ่นทั่วโลก ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติในหลายประเทศ รวมถึงสถานการณ์สำคัญเกี่ยวกับคนอพยพย้ายถิ่นในไทย

วันสากลว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่น วันสากลว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่น

ในปี 2559 มีผู้ลี้ภัยราว 22.5 ล้านคน ในจำนวนนี้อยู่ภายใต้อาณัติของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) จำนวน 17.2 ล้านคน และอีกจำนวน 5.3 ล้านคนลงทะเบียนกับสำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับ ผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้ (UNRWA) และอีก 40.3 ล้านคนที่ถูกบังคับให้อพยพออกจากบ้านเนื่องจากสถานการณ์ความรุนแรงและความขัดแย้ง

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2559 สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ให้สัตยาบันระหว่างการประชุมสุดยอดเกี่ยวกับการลี้ภัยและอพยพครั้งใหญ่ครั้งแรก เพื่อเพิ่มการคุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ เรียกชื่อว่า ปฏิญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัยและผู้อพยพนิวยอร์ก หรือปฏิญญานิวยอร์ก

ซึ่งเป็นปฏิญญาที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกในการสร้างและเพิ่มกลไกปกป้องผู้คนในระหว่างการอพยพย้ายถิ่น และเป็นการปูทางสู่ข้อตกลงระหว่างประเทศใหม่ของโลก 2 ฉบับ ได้แก่ ข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อผู้ลี้ภัย และข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการอพยพย้ายถิ่นที่ปลอดภัยปี 2561

ยังมีข้อมูลจากวิกิพีเดียถึงวิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรป หรือวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยยุโรป คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2558 จากการที่ผู้ลี้ภัยและผู้ย้ายถิ่นทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากพื้นที่อย่างตะวันออกกลาง เอเชียใต้ ทวีปแอฟริกา และคาบสมุทรบอลข่านตะวันตกหลั่งไหลสู่สหภาพยุโรป ข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ และสมัครขอที่ลี้ภัย

ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่มาจากประเทศซีเรีย อัฟกานิสถาน เอริเตรีย มีการใช้คำนี้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2558 เมื่อเรืออย่างน้อยห้าลำที่บรรทุกผู้ย้ายถิ่นมุ่งทวีปยุโรปเกือบ 2,000 คนล่มในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มียอดผู้เสียชีวิตรวมประเมินไว้กว่า 1,200 ราย

วิกฤตการณ์นี้เกิดในบริบทความขัดแย้งที่ดำเนินอยู่ในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางหลายประเทศ ทั้งนี้ ตามข้อมูลของ ยูโรสแตท รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปได้รับคำขอลี้ภัยที่ 626,000 ครั้งในปี 2557 เป็นจำนวนสูงสุดนับแต่คำขอ 672,000 ครั้งในปี 2535

[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน