‘มติชน’ก้าวสู่ปีที่ 43 จัดทอดผ้าป่าสามัคคี

ระดมทุนสร้าง ศูนย์ปฏิบัติธรรม สมเด็จพระสังฆราช

‘มติชน’ก้าวสู่ปีที่ 43 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับแรกออกสู่สายตาผู้อ่าน เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2521 ราคา 1 บาท 50 สตางค์ จนถึงวันนี้ก้าวสู่ปีที่ 43 หนังสือพิมพ์ราคา 10 บาท และแตกแขนงสื่อข่าวออนไลน์เข้าไปถึงมือถือของผู้อ่านผู้ชม ด้วยการนำเสนอข่าวสาร ความคิดเห็น และสารคดีความรู้ความบันเทิง

‘มติชน’ก้าวสู่ปีที่ 43 จัดทอดผ้าป่าสามัคคีระดมทุนสร้าง ศูนย์ปฏิบัติธรรม สมเด็จพระสังฆราช : หลาก&หลาย

การปรับตัวของมติชนเป็นมาตามรากฐานของมติชน ที่ไม่ได้มีเพียงแค่นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ แต่ประกอบด้วย คนทำงานข่าว นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนหลากหลายแนว คนทำงานด้านวรรณกรรม กวี ปัญญาชน นักวิชาการ ที่มีแนวคิดคล้ายๆ กัน คือ รักอิสรภาพ เสรีภาพ ในการคิดการเขียน

ย้อนกลับไปในยุคก่อตั้ง ขรรค์ชัย บุนปาน ผู้เป็นที่รู้จักมากกว่าดีกรีบัณฑิตคณะโบราณคดี จากรั้วศิลปากร ด้วยชื่อเสียงด้านงานเขียนที่ได้รับการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือ ทั้งบทกวีและเรื่องสั้น เช่นเดียวกับ สุจิตต์ วงษ์เทศ เพื่อนซี้ที่จูงมือกันผลิตผลงานป้อนนักอ่านจนได้ฉายา “สองกุมารสยาม”

‘มติชน’ก้าวสู่ปีที่ 43 จัดทอดผ้าป่าสามัคคีระดมทุนสร้าง ศูนย์ปฏิบัติธรรม สมเด็จพระสังฆราช : หลาก&หลาย

ส่วน เสถียร จันทิมาธร นักอ่านฉกาจฉกรรจ์ ได้รู้จักกับหลานชายนักเขียนดังอย่าง สำราญ ทรัพย์นิรันดร์ นามว่า เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ ที่วิทยาลัยครูสวนสุนันทา ผู้ชักชวนเสถียรและสุจิตต์ ขรรค์ชัย ซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้วสมัยเรียนมัธยมด้วยกันที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ทั้งหมดร่วมกันทำนิตยสารช่อฟ้ารายเดือนของวัดมหาธาตุ ชักนำทั้งหมดสู่วงการหนังสือทั้งที่ยังสวมชุดนักศึกษา

ต่อมา ขรรค์ชัยและสุจิตต์ เข้าสู่แวดวงข่าวที่สำนักสยามรัฐ ก่อนตัดสินใจออกมาเปิดโรงพิมพ์ “พิฆเณศ” ย่านแพร่งสรรพศาสตร์ เมื่อปี 2515 รับจ้างพิมพ์หนังสือทุกชนิด

‘มติชน’ก้าวสู่ปีที่ 43 จัดทอดผ้าป่าสามัคคีระดมทุนสร้าง ศูนย์ปฏิบัติธรรม สมเด็จพระสังฆราช : หลาก&หลาย

กองบรรณาธิการมติชนยุคก่อตั้ง

ต่อมาหลัง 14 ตุลาฯ 2516 จึงออกหนังสือพิมพ์ “ประชาชาติรายสัปดาห์” ร่วมกับ เดอะ เนชั่น โดย สุทธิชัย หยุ่น แล้วมี พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ร่วมด้วย แล้วขยับขยายเป็น “ประชาชาติรายวัน” ก่อนจะเป็น “มติชน” จนถึงทุกวันนี้

เสถียร จันทิมาธร ยังคงมีงานเขียนที่คมคายไม่ทิ้งลายนักข่าวรุ่นเก่า ส่วน สองกุมารสยาม ก็ยังมีผลงานเคียงคู่ทุกฉบับวันอาทิตย์ ด้วยกลอนสี่บรรทัดของสุจิตต์ และโคลงสี่สุภาพของขรรค์ชัย

 กองบรรณาธิการมติชนยุคก่อตั้ง

มติชนยังคงยึดมั่นและสนับสนุนด้านวิชาการ โดยมีการลงนามความร่วมมือกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ นำโดยหัวเรือใหญ่อย่าง ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และยังมีนักเขียนรับเชิญมากมายในสาย “วิชาการ” ไม่ว่า ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ลิขิต ธีรเวคิน, วีรพงษ์ รามางกูร, นิธิ เอียวศรีวงศ์ สุรชาติ บำรุงสุข ฯลฯ

นอกเหนือจากงานข่าว บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ยังดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อสังคมตลอดมา หนึ่งในนั้นคือ โครงการ “แบ่งปันความรู้ เชิดชูศาสนา พัฒนาแหล่งน้ำลำคลอง” ถือกำเนิดขึ้นใน พ.ศ.2553 ร่วมกับ มูลนิธิ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ และ มูลนิธิบรรจง พงศ์ศาสตร์ สานต่องานอันเป็นประโยชน์อย่างไม่หยุดยั้ง

 กองบรรณาธิการมติชนยุคก่อตั้ง

โครงการปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร

ตลอดปี 2562 มีการต่อยอดกิจกรรมหลากหลาย ทั้งด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และส่งเสริมการอ่าน พร้อมสนับสนุนโครงการสำคัญที่กำลังดำเนินไปในปี 2563

อาทิ โครงการปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร คือหนึ่งในอารามสำคัญยิ่งต่อในยุคกรุงศรีอยุธยาสืบเนื่องกรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นวัดต้นบรมราชวงศ์จักรี ด้วยผู้สร้างคือพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

โครงการปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร

โครงการ “10 เล่ม 1,000 โรงเรียน”

ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ภายในเกาะเมืองทางทิศใต้ ใกล้ป้อมเพชร ตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนการค้าชาวจีน ย่านเศรษฐกิจสำคัญของกรุงศรีอยุธยา

เดิมชื่อวัดทอง สร้างโดยสมเด็จพระปฐมบรมชนก พระนามเดิมว่า ‘ทองดี’ ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ครั้นพ่ายแก่พม่าเมื่อพุทธศักราช 2310 วัดแห่งนี้ถูกปล่อยให้ทิ้งร้างเกือบ 2 ทศวรรษ กระทั่งรัชกาลที่ 1 สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์อารามแห่งนี้ทั้งหมดเมื่อ พ.ศ.2328

โครงการ “10 เล่ม 1,000 โรงเรียน”

พระอุโบสถงดงาม บอกเอกลักษณ์ศิลปะยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายด้วยฐานแอ่นโค้งอย่าง ‘ท้องสำเภา’ ส่วนพระวิหารอีกทั้งเจดีย์ประธานทรงระฆัง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

จิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารโดดเด่นแปลกตาด้วยพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฝีมือมหาเสวกตรี พระยาอนุศาสตร์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) ในรัชกาลที่ 7

โครงการ “10 เล่ม 1,000 โรงเรียน”

ได้รับการปฏิสังขรณ์เรื่อยมาในทุกรัชกาลแห่งราชจักรีวงศ์ กระทั่งระหว่าง พ.ศ.2547-2548 ธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด (มหาชน) สนับสนุนงบประมาณกว่า 19 ล้านบาทเพื่อบูรณะโบราณวัตถุสถานในวัดแห่งนี้เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปีการก่อตั้ง

ล่วงมาถึงวันนี้ มีการตระเตรียมการบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้ง โดย ‘มติชน’ ร่วมกับ มูลนิธิ ดร.โกวิทย์ วรพิพัฒน์ และ บรรจง พงศ์ศาสตร์ ดำเนินโครงการแบ่งปันความรู้ เชิดชูศาสนา พัฒนาแหล่งน้ำลำคลอง ต่อเนื่องยาวนาน รับเป็นสื่อกลางในการประสานเมื่อ กฤตย์ รัตนรักษ์ หัวเรือใหญ่ ‘ช่อง 7’ มีดำริสนับสนุนการบูรณปฏิสังขรณ์ในครั้งนี้

โครงการ “10 เล่ม 1,000 โรงเรียน”

ต่อมาเป็นโครงการ “10 เล่ม 1,000 โรงเรียน ปี 2 เติมหนังสือดีสู่ห้องสมุดทั่วไทย” ริเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2561 และสานต่อมาถึงปีนี้ ด้วยเป้าหมายว่า การอ่านคือพื้นฐานของความรู้อันจะขับเคลื่อนสังคมไทยให้เดินหน้า

มติชนและสื่อในเครือเป็นสื่อกลางในการรณรงค์อีกทั้งประชาสัมพันธ์การรับเงินบริจาคเพื่อนำไปจัดหาหนังสือใหม่และทันสมัย มอบให้ห้องสมุดโรงเรียนทั่วประเทศ รวมถึง “ห้องสมุดพร้อมปัญญา” ของกรมราชทัณฑ์ และผู้ด้อยโอกาสเพื่อส่งเสริมการอ่าน

สําหรับโครงการล่าสุด ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติธรรม สมเด็จ พระสังฆราช ปทุมธานี ภายใต้ร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนาอันเสถียรสถาพรมาอย่างยาวนานกว่า 2,500 ปี เผยแผ่จากจุดกำเนิดสู่ดินแดนสยาม หยั่งรากลึกในจิตใจของผู้คน ก่อเกิดอารามสำคัญมากมายซึ่งมีส่วนสำคัญในการสืบทอดพระธรรมแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

หนึ่งในนั้นคือ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ซึ่งจะครบวาระ 150 ปี นับแต่สถาปนาขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ถึง 3 พระองค์ เพื่อส่งเสริมและสานต่อกิจการด้านพระพุทธศาสนาให้ธำรงและรุดหน้ายิ่งขึ้น

โครงการ “10 เล่ม 1,000 โรงเรียน”

โครงการก่อสร้าง “ศูนย์ปฏิบัติธรรม สมเด็จพระสังฆราช (อมฺพรมหาเถร)” จึงถือกำเนิดขึ้น เมื่อผู้มีจิตศรัทธายิ่งใหญ่ ร่วมกันบริจาคที่ดิน รวมกว่า 127 ไร่ ในบริเวณคลองเก้า อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ในช่วงต้นปี 2562 เพื่อให้อุบาสก อุบาสิกา เข้ามาปฏิบัติธรรม นอกจากนี้ยังจะใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งเป็นที่พำนักของภิกษุผู้ใหญ่ที่ชราภาพ และอาพาธ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานอุปถัมภ์ และสมเด็จพระมหา วีรวงศ์ (สุชิน อัคคชิโน) เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานอำนวยการโครงการ

ศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งนี้ เน้นความ “สัปปายะ” กล่าวคือ มี สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม สะดวกสบายแก่การปฏิบัติธรรม กลมกลืนกับธรรมชาติ สงบ เรียบง่ายประกอบด้วยสถานที่ปฏิบัติธรรมเป็นสถาปัตยกรรมหลัก นอกจากนี้ ยังมีอาคารอเนกประสงค์ โรงครัว รวมถึงที่พักสำหรับฆราวาสหญิง-ชาย วิหาร สถานพยาบาล กุฏิ ศาลาการเปรียญ ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช อาคารเรียนพระภิกษุ หอฉัน โรงเพาะชำ

รวมถึงพื้นที่ปลูกป่าทั้งสวนไทย ไม้มงคล และสมุนไพร ผลงานการออกแบบของ ‘อาศรมศิลป์’ นำโดย ธีรพล นิยม ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ร่วมด้วย เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมไทย)

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 สมเด็จพระสังฆราชประทานพระวโรกาสให้ วราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กัญจนา ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ขรรค์ชัย บุนปาน ประธาน บมจ.มติชน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเข้าเฝ้า โดยวราวุธและกัญจนา ร่วมสมทบทุน 11 ล้านบาท สร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม สมเด็จพระสังฆราช

เครือมติชน ภายใต้โครงการแบ่งปันความรู้ เชิดชูศาสนา พัฒนาแหล่งน้ำลำคลอง เนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 43 เตรียมทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อรวบรวมทุนทรัพย์ มอบแด่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามในการเดินหน้าสร้างศูนย์อันจะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อพระพุทธศาสนาและเหล่าสาธุชน

นับเป็นอีกหนึ่งโครงการใหญ่ที่พุทธศาสนิกชนต้องร่วมแรงร่วมใจเพื่อสืบสานพระศาสนาจากนี้สืบไปชั่วกาลนาน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน