เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

กาเบรียล โอเอตทินเกน จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา แบ่งกลุ่มนักเรียนอายุระหว่าง 10-18 ปี จำนวน 197 คน เพื่อทดสอบผลกระทบจาก “จินตนาการ” โดยให้แต่ละคนนึกคิดตามเหตุการณ์สมมติ 12 เหตุการณ์ซึ่งเจ้าหน้าที่เตรียมไว้ ต่อมา ระบุว่าอยากให้จุดลงเอยของเหตุการณ์จำลองเป็นอย่างไร รวมทั้งให้คะแนนการจินตนาการว่าเป็นไปในทิศทางบวก หรือลบ จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับคะแนน วัดระดับความตึงเครียดและซึมเศร้า พบว่านักเรียนที่มีจินตนาการเชิงบวก มีคะแนนซึมเศร้าในระดับต่ำ

อย่างไรก็ตาม หลังจากนักเรียนกลุ่มเดิมกลับมาทำแบบทดสอบเดิมในอีก 1 เดือนให้หลัง เด็กๆ ในกลุ่มจินตาการเชิงบวก มีคะแนนซึมเศร้าสูงกว่าเพื่อนในกลุ่มจินตนาการเชิงลบอย่างชัดเจน

การใช้จินตนาการจึงต้องพอเหมาะพอเจาะ เพราะจะช่วยเป็นพลังผลักดันให้เกิดแรงบันดาลใจในการเดินหน้าสานฝัน แต่ถ้ามีมากเกินไป ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า หากความจริงยังห่างไกลจากสิ่งที่จินตนาการ ยิ่งวาดหวังไว้สูงเท่าไหร่ก็จะยิ่งรู้สึกผิดหวังมากเท่านั้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน