คติ-สัญญลักษณ์ สถาปัตยกรรมไทย

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

อุเทสิกเจดีย์ คือ เจดีย์ที่เป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ส่วนจิตรกรรมนี้เป็นอุเทสิกเจดีย์ในรูปแบบจิตรกรรม

ภาพมารผจญนี้แสดงถึงกาลเวลาที่ต่อเนื่องในรูปเดียวกัน จากพุทธประวัติพญามารนาม “วสวัตตีมาร” ยกกองทัพทวงสิทธิบนบัลลังก์ เพื่อขัดขวางการจะตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในเวลาเย็น เทียบเป็นเวลาปัจจุบันคือราว 18 นาฬิกาหรือ 6 โมงของวันวิสาขบูชา

ในปฐมยาม 18.00-22.00 น. ทรงระลึกชาติได้

มัชฌิมยาม 22.00-02.00 น. ทรงรู้การเกิดของสัตว์ทั้งปวง

ปัจจมยาม 02.00-18.00 น. ทรงตรัสรู้ อริยสัจ 4

ในภาพด้านขวา เริ่มแต่ทัพพญามารยกเข้ามาทางบัลลังก์ ปัจฉิมยาม พระศากยมุนีในเวลานั้น มิให้บรรลุนิพพาน ในช่วงเวลานั้นพระศากยมุนียังมีฐานะเป็นพระโพธิสัตว์ได้อ้างแผ่นดินเป็นพยานของการประพฤติปฏิบัติ ตรีทศบารมีหรือบารมีทั้ง 30

ในภาพด้านซ้าย เวลาถัดมา พระแม่ธรณีได้บีบน้ำจากมวยผมไล่พญามารแพ้ไป

ในภาพจะเป็นภาพพระพุทธเจ้าในอิริยาบถที่ปล่อยพระหัตถ์ข้างขวาลงเหนือพระเพลาหรือเข่า ที่เรียกกันว่าปางมารวิชัย หรือชนะมาร

การวาดภาพของพระพุทธเจ้ามีพระเกตุมาลาที่มีเปลวรัศมียอดพระเศียร มีความหมายถึงการตรัสรู้ อริยสัจ 4

ในภาพจึงเป็นกาลเวลาที่พระพุทธเจ้าบรรลุนิพพาน ซึ่งเป็นเวลาเช้า พระอิริยาบถจึงเปลี่ยนจากปางนั่งสมาธิที่นั่งประสานมือเป็นการปล่อยมือหรือพระหัตถ์ลงเหนือเข่า

พระหัตถ์ที่ชี้ลงพื้นในสายของพุทธศาสนามหายาน กล่าวว่าเป็นสัญลักษณ์ของการชี้ว่าพระพุทธเจ้าได้พ้นโลกหรือสังสารวัฏแล้วสมบูรณ์

บางภาพจะเป็นภาพของพระโพธิสัตว์ที่บรรลุนิพพานเป็นพระพุทธเจ้า โดยประทับในปางสมาธิ ซึ่งน่าจะเป็นเวลาในยามที่ 3 คือเวลาเช้า สัญลักษณ์แห่งพระนิพพานที่เขียนไว้ในภาพก็คือ พระเกตุมาลาบัวตูมมีเปลวรัศมียอดพระเศียร

นอกจากนี้ในบางภาพจะปรากฏธิดามารทั้งสามที่มายั่วยวนพระพุทธเจ้า ซึ่งก็หมายถึงเวลาที่เกินเช้ามาแล้ว

ภาพมารผจญจึงเป็นภาพวาดประเพณีที่มีความหมายของกาลเวลาที่ต่อเนื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนพระอาทิตย์ตกจนถึงรุ่งเช้าและแสดงในรูปเดียวกัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน