การุณยฆาต คือ การทำให้เสียชีวิตอย่างสงบโดยมีมนุษยธรรม เป็นการการยุติชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามเจตนารมณ์ของผู้ป่วยหรือตามคำร้องขอของผู้แทนโดยชอบธรรม

ด้วยเสียงโหวตที่สูงถึง 65.2% จากประชามติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในนิวซีแลนด์ สนับสนุนให้ กฎหมาย End of Life Choice หรือ กฎหมายการุณยฆาต มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายใหม่ และจะมีผลบังคับใช้ทางกฎหมายในเดือนพฤศจิกายน ปี 2564 ซึ่งกฎหมายนี้ใช้ระยะการอภิปรายอย่างเข้มข้นกว่า 2 ปี

Jacinda Ardern นายกรัฐมนตรีของนิวซีแลนด์

เกณฑ์สำหรับผู้ที่สามารถสมัครเพื่อยุติชีวิตว่าจะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นผู้ที่มีความทุกข์ทรมานจากการเจ็บปวด และจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน เป็นผู้ที่มีความสามารถทางกายภาพถดถอยจนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ รวมถึงเป็นผู้ที่มีเจตจำนงค์ในการเสียชีวิตอย่างมีเหตุผล

ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องได้รับการพิจารณา และอนุมัติจากแพทย์อย่างน้อย 2 คนอย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ยังไม่ครอบคลุมถึงความต้องการเสียชีวิตจากเป็นผู้ป่วยทางจิต มีความพิการทางร่างกาย หรือผู้สูงอายุ

การการุณยฆาต นั้นถูกกฎหมายในหลายประเทศ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ,เบลเยียม ,ลักเซมเบิร์ก ,ออสเตรเลีย ,แคนาดา ,โคลอมเบีย ,เยอรมันนี ,ญี่ปุ่น ,อินเดีย และ 6 รัฐ ในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ รัฐโอเรกอน , รัฐวอชิงตัน, รัฐมอนตานา,รัฐนิวเม็กซิโก ,รัฐเวอร์มอนต์ และรัฐแคลิฟอร์เนีย

เดวิด กู๊ดดอล นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย เลือกจบชีวิตตนเองอย่างถูกต้องตามกฎหมายในสวิตเซอร์แลนด์

ประเทศแรกในโลกที่การุณยฆาต อย่างถูกต้องตามกฎหมาย คือ เนเธอร์แลนด์ ประกาศใช้ครั้งแรกในปี 2545 โดยอนุญาตเฉพาะผู้ป่วยที่มีอายุ 12 ปี ขึ้นไป ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการป่วยเท่านั้น และผู้ป่วยต้องมีสติสัมปชัญญะในการขอร้องแพทย์ให้มีการทำการุณยฆาต

ส่วน สวิตเซอร์แลนด์ เป็นประเทศที่มีผู้ป่วยต่างประเทศเดินทางไปเข้ารับการทำกรุณยฆาตจำนวนมาก เพราะมีกฎหมายอนุญาตให้ผู้ป่วยยุติชีวิต ตั้งแต่ปี 2485 และมีสถาบันด้านการทำยุติการรักษาสำหรับผู้ป่วยต่างชาติ ที่เดียวในโลก คือ Dignitas Suicide Clinic สถาบันแห่งนี้มีบุคคลสำคัญหลายคนมาจบวาระสุดท้ายที่นี่

โดยผู้ป่วยสามารถเลือกได้ว่าจะจบชีวิตตัวเองได้ตามใจปรารถนา ซึ่งผู้ป่วยที่เดินทางมาทำการการุณยฆาตที่นี่มากที่สุด 3 อันดับแรกคือ เยอรมัน อังกฤษ และฝรั่งเศส ด้วยอายุเฉลี่ย 69 ปี

Dignitas Suicide Clinic ในเขตเทศบาล Pfäffikon ของนครซูริค ในสวิตเซอร์แลนด์

ในประเทศไทย การทำการุณยฆาต นั้นคงจะต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจร่วมกันอีกมาก เพราะจะต้องถกเถียงในหลากหลายมิติไม่ว่าจะเป็นทางการแพทย์ กฎหมาย รวมทั้งความเชื่อทางศาสนาอีกด้วย แต่ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 มาตรา 12 ได้ระบุไว้ว่า

“บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะ รับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้”

ทำให้เห็นว่ามาตรา 12 เปิดโอกาสให้บุคคลสามารถแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าว่า เมื่ออยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตขอใช้สิทธิตายตามธรรมชาตินั่นเอง โดยไม่ประสงค์จะให้ใช้เครื่องมือต่างๆมายืดความตายออกไป

ที่มา : bbc / theguardian / therichest / พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ 2550

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน