เกาหลีใต้ใช้ ปัญญาประดิษฐ์ สร้างเสียงซุปเปอร์สตาร์ชื่อดังที่เสียชีวิตไปแล้ว ให้กลับมาร้องเพลงบนเวที แต่มีประเด็นทางจริยธรรมที่ต้องพิจารณาอยู่มาก

CNN

นับเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี ที่เสียงของคิมควางซอก ซุปเปอร์สตาร์ชาวเกาหลีใต้ที่เสียชีวิตไปแล้ว ถูกเปล่งเสียง ในรายการโทรทัศน์แห่งเกาหลี ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ SBS ของเกาหลี ระบุว่า บริษัทวางแผนที่จะใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อทำให้เสียงของคิมควางซอก กลับมามีชีวิตอีกครั้งในรายการใหม่ การแข่งขันแห่งศตวรรษ ระหว่าง ปัญญาประดิษฐ์และมนุษย์ “Competition of the Century: AI vs Human” ซึ่งจะออกอากาศในปลายสัปดาห์นี้

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ AI ถูกใช้เพื่อชุบชีวิตนักร้องชื่อดังในเกาหลีใต้ เพราะในเดือนธันวาคม พ.ศ.2563 ช่องเพลง Mnet ได้ออกอากาศรายการ “One More Time” ซึ่งเป็นรายการที่ใช้ AI และโฮโลแกรม ฉายภาพของศิลปินผู้ล่วงลับเพื่อยกย่องผลงานของพวกเขา

รวมถึง ในวันส่งท้ายปีเก่า K-Pop วง BTS ซุปเปอร์สตาร์เกาหลีแห่งยุค ได้ทำการแสดงกับนักร้องชินแฮชุล ในเวอร์ชั่น AI ซึ่ง ชินแฮชุล เสียชีวิต หลังการผ่าตัดในปี พ.ศ.2557

การแสดงของ AI ทำให้เหล่าแฟนเพลงของศิลปิน รู้สึกตื่นตาตื่นใจกับดนตรีและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายได้ตั้งข้อกังวลเกี่ยวกับจริยธรรมและกฎหมายในการ “ปลุกเสียงของคนตายให้ฟื้นคืนชีพ”

การสร้างสรรค์ผลงานใหม่หรือเสียงที่ได้รับการฟื้นคืนชีพโดย AI ยังก่อให้เกิดปัญหาด้านจริยธรรมและลิขสิทธิ์ เพราะยากที่จะระบุว่า ผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ระหว่าง ผู้สร้างโปรแกรม AI หรือตัวระบบ AI เอง

A hologram concert of late South Korean singer Kim Kwang-seok was held in his hometown of Daegu on June 10, 2016.

นักร้องเกาหลีในตำนาน

คิมควางซอก นักร้องเกาหลีในตำนาน เสียชีวิตด้วยอายุเพียง 31 ปี ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งนับว่าเป็นช่วงสูงสุดของอาชีพการงานของเขา หลังจากมีเพลงฮิตมากมาย เช่น “A Letter From a Private” “Song of My Life” และ “In the Wilderness”

การเสียชีวิตของเขาถือเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก ปัจจุบันชาวเกาหลีบางคนยังไม่สามารถยอมรับสาเหตุการเสียชีวิตอย่างเป็นทางการ ว่าคิมควางซอกฆ่าตัวตาย แต่เลือกที่จะเชื่อทฤษฎีสมคบคิดว่าเขาถูกฆาตกรรม

หลายทศวรรษต่อมาแฟนคลับของคิมควางซอก ยังคงมารวมตัวกันที่ถนนซึ่งตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ซึ่งเป็นถนนใกล้บ้านในวัยเด็กของเขาในเมืองแทกู แม้ว่าในปีนี้จะมีการจัดกิจกรรมกันทางออนไลน์ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม

Tourists can visit a street dedicated to Kim Kwang-seok in the city of Daegu.

คลิปโปรโมตความยาวหนึ่งนาที จากช่องสถานีโทรทัศน์ SBS ของเกาหลี เผยแพร่คลิปวิดีโอ คิมควางซอก ร้องเพลง “I Miss You” (เพลงบัลลาด ของ คิมบอมซู ที่ถูกปล่อยออกมาในปี พ.ศ.2545 หรือหลังการเสียชีวิตของคิมควางซอก 6 ปี)

มีผู้เข้าชมจำนวนมาก โดยแฟนเพลงของคิมควางซอก กล่าวว่า “เสียงที่ถูกฟื้นฟูขึ้นมานั้นคล้ายกับเขามาก ราวกับว่าคิมได้บันทึกเสียงไว้ในตอนที่ยังมีชีวิต” คิมจูยอน แฟนคลับของคิมควางซอก กล่าว

เสียงที่ถูกฟื้นฟูขึ้นได้สร้างความประทับใจ ให้ พัคฮเยฮยอน ซึ่งเป็นแฟนคลับของคิมควางซอกตั้งแต่อายุ 2 ขวบ เมื่อคิมควางซอกเสียชีวิต เธอกล่าวว่า “ความปรารถนาอย่างหนึ่งของฉันคืออยากฟังเพลงของคิมมากกว่านี่ ฉันน้ำตาไหล…” เธอกล่าว

แรงบันดาลใจจากการแข่งขันหมากล้อมระหว่างมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์

นัมซังมุน โปรดิวเซอร์ของสถานี SBS กล่าวว่า ความคิดเรื่อง AI กับการแข่งขันของมนุษย์ เกิดขึ้นกับเขา หลังจากที่เขาได้ดูลีเซโดล แชมป์โลกหมากล้อม ในรายการ AI ของเกาหลีใต้ ปีพ.ศ.2562

น่าแปลกที่ ลีชนะเพียงหนึ่งในสามรอบการแข่งขัน ต่อมา ลีเซโดล ได้ประกาศลาออกจากการแข่งขันหมากล้อมมืออาชีพ โดยกล่าวว่า AI เป็น “แก่นแท้ที่ไม่สามารถเอาชนะได้”

หมากล้อม คือหมากกระดานที่มีผู้เล่นสองคน แข่งขันกันวางหินขาวดำบนเส้นตาราง 19 คูณ 19 ผู้แข่งขันแต่ละฝ่าย ต้องพยายามอ้างสิทธิ์ในดินแดนให้ได้มากที่สุด โดยใช้หมากของตน ล้อมรอบหมากของคู่ต่อสู้ เพื่อให้หมากของคู่ต่อสู้ถูกกินและถูกขับออกจากกระดาน

Go world champion Lee Se-dol took on Google’s AlphaGo program in 2016.

เกมของ ลีเซโดล กับ ฮันโดล (โปรแกรม AI ของเกาหลีใต้) ทำให้ นัมซังมุน นึกถึงการแข่งขันครั้งก่อนของ ลีเซโดล กับ อัลฟาโก (AlphaGo) ซึ่งเป็นโปรแกรม AI ที่พัฒนาโดย Google DeepMind ในปี พ.ศ.2559 ครั้งนั้น AlphaGo ชนะ 4 ใน 5 เกม จนทำให้ ลีเซโดล กล่าวว่าเขาประเมินความสามารถของ AI ต่ำไปมาก

“การแข่งขันระหว่าง ลีเซโดล และ AlphaGo เป็นเรื่องที่น่าตกใจ และทำให้คนสนใจเทคโนโลยี AI มากขึ้น แต่เรายังไม่คุ้นเคยกับมัน” นัมซังมุน ผู้อำนวยการสร้าง SBS กล่าวในการให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

นัมซังมุน เชื่อว่า ประชาชนชาวเกาหลีพร้อมสำหรับการชมประสิทธิภาพของ AI รวมถึงการแสดงของคิมควางซอก ซุปเปอร์สตาร์ในตำนานผู้ล่วงลับ

การสร้างคิมควางซอกขึ้นมาใหม่

บริษัท AI ด้านเสียงที่อยู่เบื้องหลังการฟื้นคืนชีพเสียงของคิมควางซู คือบริษัท Supertone ซึ่งเป็น บริษัท สตาร์ทอัพในเกาหลีใต้ที่ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2563 ซึ่งให้บริการผลิตเสียง AI สำหรับนักสร้างคอนเทนต์ เพื่อแก้ปัญหาทุกอย่างที่เกี่ยวกับเสียง

ตัวอย่างเช่น ถ้าหาก วง BTS ซุปเปอร์สตาร์ ไม่สามารถเข้าร่วมในรายการได้เนื่องจากไม่มีเวลา เทคโนโลยี AI ของบริษัท Supertone จะสามารถเข้ามาแก้ปัญหา โดยที่วง BTS ไม่จำเป็นต้องเข้ามาบันทึกเสียงในสตูดิโอด้วยตนเอง “ชเว ฮี โดว ประธานบริษัท Supertone กล่าว

เทคโนโลยี สังเคราะห์เสียงร้อง (Singing Voice Synthesis หรือ SVS) ของ Supertone จะให้ AI เรียนรู้เสียง โดยการฟังเพลงหลาย ๆ เพลง พร้อมโน้ตและเนื้อเพลงที่สอดคล้องกัน

ชเว ฮี โดว อธิบาย ว่า ระบบได้เรียนรู้เพลง 100 เพลงจากนักร้อง 20 คน ก่อนที่จะให้ AI เรียนรู้ เพลงของคิมควางซอก 10 เพลง และตอนนี้ AI ก็รู้จักเสียงของคิมควางซอกดีพอที่จะเลียนแบบสไตล์และการออกเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของนักร้องในตำนานครดังกล่าว ชเว กล่าว

“ในรายการ SBS AI คิมควางซอกจะไม่แข่งขันกับนักร้องที่เป็นมนุษย์ แต่เขาจะร้องเพลงคู่กับมนุษย์” นัมซังมุน โปรดิวเซอร์ของสถานี SBS กล่าว

Ock Joo-hyun rose to fame in the 1990s as the lead singer of Fin.K.L.

อุก จู ยุน อดีตนักร้องนำของวง Girl Band Fin.K.L แม้จะยังมีชีวิตอยู่ เธอก็จะเข้าร่วมรายการผ่านระบบ AI เช่นเดียวกับที่ระบบ AI เรียนรู้เสียงของคิมควางซอก โดยระบบ AI จะได้รับการฝึกฝนให้เลียนแบบเสียงของเธอด้วยเช่นกัน

ในขณะที่บางคนอาจมองว่าการแข่งขันระหว่างนักร้อง AI และมนุษย์ เป็นเรื่องสนุก และไม่เป็นอันตราย แต่หลายฝ่ายกลับ พิจารณาว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ สามารถก่อให้เกิดภัยคุกคามที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข โดยต้องมีหลักเกณฑ์และกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้น

อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์

เกาหลีใต้ ถือเป็นประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI อยู่ในระดับแนวหน้าของสากล อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายกำลังเรียกร้องให้ กฎระเบียบด้านจริยธรรมใน AI มีความเข้มงวดมากขึ้น

มีชาวเกาหลีมากกว่า 376,000 คน ได้ลงนามเพื่อเรียกร้องให้มีบทลงโทษที่รุนแรงขึ้น สำหรับผู้สร้างวิดีโอที่มีเนื้อหา DeepFake โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่นำใบหน้าของดาราหญิงมาสร้างคลิปวิดีโออนาจาร

DeepFake เป็น เทคโนโลยีการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ผ่านกิจกรรม Deep Learning ซึ่งเป็นการเรียนรู้อัตลักษณ์ของบุคคลที่เฉพาะเจาะจงลงไปอย่างลึกซึ้ง เช่น ใบหน้า สีผิว รูปร่าง และท่าทางการเคลื่อนไหว และแสดงผลออกมาตามคำสั่งที่ป้อนเข้า

จากเทคโนโลยีดังกล่าว ทำให้ระบบสามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวของบุคคล จนทำให้แยกออกได้ยากว่า ภาพในคลิปวิดีโอ เป็นปัญญาประดิษฐ์ หรือ เป็นมนุษย์จริง ๆ

BBC

กลุ่ม Deeptrace นักวิจัยจากอัมสเตอร์ดัม รวบรวมวิดีโอ Deepfake ไว้มากกว่า 14,000 รายการ จากแหล่งออนไลน์ในปีพ.ศ.2562 และพบว่าเกือบทั้งหมด ร้อยละ 96 เป็นคลิปวิดีโอและภาพอนาจารที่ไม่ได้รับความยินยอม โดยเป็นการใช้ภาพของดาราหญิงหลายคนจากเกาหลีใต้

การเลียนแบบเสียงของผู้อื่นยังก่อให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการใช้เสียงปลอมในแคมเปญที่เผยแพร่ข้อมูลที่ผิดและถูกใช้ในการฉ้อโกง

โดยในปีพ.ศ.2562 นักต้มตุ๋นได้พยายามโน้มน้าวให้ เจ้าหน้าที่ตามบริษัทต่าง ๆ โอนเงินสดหลายแสนดอลลาร์ไปยังบัญชี โดยปลอมแปลงเสียงผู้บริหารของบริษัทด้วยเทคโนโลยี AI

ทุกๆปี มีผู้ได้รับความเสียหายจากการฉ้อโกง รวมถึงการโอนเงินและการหลอกลวงทางโทรศัพท์เป็นจำนวนที่มาก ทั่วโลกและองค์กรต่างๆ พยายามเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมและข้อตกลงทางสังคมเพื่อป้องกันการนำ AI ไปใช้ในทางที่ผิด

ปัจจุบันยูเนสโก กำลังทำงานร่วมกับประเทศสมาชิก 193 ประเทศเพื่อวางรากฐานทางจริยธรรมสำหรับการควบคุมเทคโนโลยี โดยเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา ยูเนสโก ได้เผยแพร่ร่าง “คำแนะนำเกี่ยวกับจริยธรรมของปัญญาประดิษฐ์” เสนอต่อที่ประชุมใหญ่ของยูเนสโก

คำถามเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ
การใช้ AI เพื่อสร้างผลงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทำให้เกิดปัญหาในการเป็นเจ้าของ หาก AI สร้างผลงานขึ้นมา ผลงานจะถือลิขสิทธิ์ของ AI หรือไม่หรือเป็นของโปรแกรมเมอร์ผู้สร้าง AI ?
ทนายความ โก ฮวาน กยอง ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และการปกป้องข้อมูล กล่าวว่า ปัญหานี้ต้องได้รับการแก้ไขเนื่องจาก AI มีความก้าวหน้ามากขึ้น

ทั้งนี้ เมื่อปี พ.ศ.2563 นักร้องสาวเกาหลี “ฮายอน” ได้เปิดตัวเพลง “Eyes on You” ซึ่งแต่งโดยโปรแกรม AI จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยี AI ถูกใช้เพื่อสร้าง ข่าว หนังสือ หรือ แม้แต่งานศิลปะ โดยปกติแล้วผู้สร้างจะถือว่าเป็นเจ้าของผลงาน แต่ในกรณีของ AI นั้นมีความชัดเจนน้อยกว่า และยังเกิดปัญหาทางจริยธรรม

The Verge

“เราจะยอมรับ AI ในฐานะนิติบุคคลที่มีบุคลิกตามกฎหมายเหมือนมนุษย์และให้ลิขสิทธิ์หรือไม่” โก ฮวาน กยอง ทนายความผู้เชี่ยวชาญด้าน AI กล่าว “เราต้องการกฎระเบียบที่รับประกันความปลอดภัยของมนุษย์ นี่ไม่ใช่สิ่งที่มากเกินไป และไม่ได้ไปขัดขวางการพัฒนาเทคโนโลยี AI”

ในกรณีของนักร้องในตำนาน คิมควางซอก โปรดิวเซอร์ นัมซังมุน กล่าวว่า SBS ได้รับความยินยอมจากครอบครัวของ คิมควางซอก ในการสร้างเสียงของเขาก่อนที่จะดำเนินการทางเทคโนโลยีแล้ว

โดย SBS ได้จ่ายค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเดียว ให้กับครอบครัวของคิมควางซอก สำหรับการฟื้นฟูและใช้เสียงของเขาในรายการ เช่นเดียวกับที่ SBS จะใช้แนวทางนี้กับนักร้อง-นักแสดงคนอื่น ๆ

นัมซังมุน ระบุว่า บางส่วนของรายการจะถูกเผยแพร่บน ยูทูบ หลังจากออกอากาศ แต่ทั้ง SBS และ Supertone ได้ตกลงกันว่า พวกเขาไม่มีแผนการที่จะปล่อยเพลงของ คิมควางซอก เป็นซิงเกิ้ลเหมือนนักร้องปกติ

แหล่งที่มา : CNN

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน