เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร – นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์และเซ็นเซอร์ควบคุมการปลูกผัก

โดย ผศ.ดร.ไพฑูรย์ รักเหลือ หัวหน้าภาควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม เผยว่า เป็นโปรเจ็กต์สำเร็จการศึกษาของนักศึกษาชั้น ปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม โดยประยุกต์เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรในการปลูกพืชควบคุมอุณหภูมิต่ำผลงานแรก ได้แก่ “โรงเรือนเพาะปลูกแตงกวาญี่ปุ่นในระบบไฮโดร โปนิกส์แบบ NFT”

โดย นายกิตติภณ บริบูรณ์หิรัญ และ นายอดิเทพมงคลสินธุ์ ผลงานที่สอง “สมาร์ทฟาร์มแนวตั้งสำหรับปลูกเบบี้กรีนคอสและเบบี้แครอท” เจ้าของไอเดียคือ นายชนกชนม์ อุปการณ์ และนายกิตติธัช แสงนวกิจ ผลงานสุดท้าย “ระบบเซ็นเซอร์เพื่อควบคุมการปลูกผักแบบอควาโปนิกส์” ผลงาน นายกฤษณพงศ์ แผนบัว และ น.ส.อรพรรณ วิชาพล

นายกิตติภณเผยว่า ออกแบบและทำระบบควบคุมโรงเรือน เพาะปลูกเเตงกวาญี่ปุ่นในระบบไฮโดรโปนิกส์แบบ NFT โดยประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์แบบ Node MCU esp8266 และเซ็นเซอร์ DHT22 สำหรับวัดอุณหภูมิและค่าความชื้นในอากาศ รวมทั้งเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำแบบไร้สัมผัส เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมของระบบโรงเรือน

ระบบสามารถจัดเก็บข้อมูลที่ได้รับจากเซ็นเซอร์ต่างๆ ผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ของเว็บไซต์ google sheets สามารถแสดงค่าเวลาจริงผ่านสมาร์ตโฟน

ด้านนายชนกชนม์เล่าว่า แนวคิดในการออกแบบสมาร์ตฟาร์มแนวตั้งสำหรับปลูกเบบี้กรีนคอสและเบบี้แครอต เป็นระบบควบคุมการปลูกพืชที่ต้องการอุณหภูมิต่ำ ประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์แบบ Node MCU esp8266 และเซ็นเซอร์ DHT22 สำหรับตรวจวัดอุณหภูมิและค่าความชื้นในอากาศ รวมทั้งเซ็นเซอร์วัดความชื้นในดิน ระบบสามารถ จัดเก็บข้อมูลที่ได้รับจากเซ็นเซอร์ต่างๆ ผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ของเว็บไซต์ Thingspeak สามารถแสดงผลการทำงานและควบคุมผ่านสมาร์ตโฟน

ขณะที่ น.ส.อรพรรณบอกว่า ออกแบบและสร้างระบบเซ็นเซอร์เพื่อควบคุมการปลูกผักแบบอควาโปนิกส์มาช่วยตรวจเช็กสภาพแวดล้อมบริเวณการปลูกผักสะระแหน่ กวางตุ้งจีน และการเลี้ยงลูกปลานิล โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์แบบ Node MCU esp8266 และเซ็นเซอร์ DHT22 แล้วเก็บข้อมูลที่ได้รับจากเซ็นเซอร์ต่างๆ ผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ของเว็บไซต์ Thing speak สามารถแสดงผลการทำงานและควบคุมผ่านสมาร์ตโฟนได้เช่นกัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน