สุดสะพรึง! ชายไต้หวันพบ’โลน’ แมลงตัวจิ๋วคล้ายเหา เต็มขนน้องชาย หลังไปแช่บ่อน้ำพุร้อน คันไม่ไหว แถมเมียเกือบจะหย่า เพราะติดเชื้อไปด้วย

การอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายเป็นกิจวัตรประจำวันที่ไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีอากาศร้อน การอาบน้ำนอกจากจะช่วยคลายร้อน ขับสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย ยังช่วยป้องกันผดผื่นคัน กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และลดเชื้อโรคอีกด้วย อย่างไรก็ตาม กรณีทางการแพทย์ของไต้หวันที่สร้างตวามฮือฮาไปทั่วโซเชียล เหตุชายคนหนึ่งมีแมลงขนาดเล็กเต็มขนหัวหน่าวอย่างน่าสะพรึง

อีทีทูเดย์รายงาน นางหยาง วัย 40 ปี พาสามีไปที่แผนกระบบทางเดินปัสสาวะด้วยความโกรธ โดยบ่นว่าขนน้องชายของสามีเต็มไปด้วยแมลงคล้ายเหา กระทั่งเธอติดเชื้อไปด้วยจนมีอาการคันไม่ไหว แทบอยากจะยื่นหย่ากับสามี ซึ่งสามีอธิบายอย่างบริสุทธิ์ใจว่าเขาไม่ได้ทำผิดประเวณีกับใครจริง ๆ และอาจติดเชื้อในบ่อน้ำพุร้อนสาธารณะ

แพทย์วินิจฉัยว่า โรคที่ชายประสบปัญหาคือ โลน (Pediculosis Pubis หรือ Pubic Lice)คือแมลงขนาดเล็กที่อยู่ในกลุ่มของปรสิต และอาศัยอยู่กับร่างกายมนุษย์ พบได้มากที่สุดบริเวณอวัยวะเพศ แต่ก็อาจพบที่บริเวณอื่น ๆ ของร่างกายได้เช่นกัน เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ติดต่อผ่านพฤติกรรมทางเพศเป็นหลัก

โลนเป็นกาฝากบนร่างกายของมนุษย์ ไม่ว่าจะอาศัยในผม เสื้อผ้า รวมถึงขนหัวหน่าว โดยอาศัยการดูดเลือดมนุษย์ในการอยู่รอด เมื่อโลนตัวเต็มวัยจะมีความยาวประมาณ 1 – 2 มม. ไม่มีปีกและมีตะขอแหลมที่ปลายเท้าคล้ายก้ามปู ช่วยให้โลนเกาะผิวหนังและเส้นผมได้อย่างแน่นหนา จากนั้นเจาะผิวหนังด้วยปาก ฉีดน้ำลายที่ระคายเคืองและดูดเลือด จากนั้นบริเวณนั้นของร่างกายจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีสนิม

ภาพจาก cdc

โดยทั่วไปแล้วอายุขัยเฉลี่ยของโลนจะอยู่ที่ 30 วัน เมื่อโลนตัวผู้และตัวเมียผสมพันธุ์กันจะเริ่มวางไข่ภายใน 24 ชั่วโมง วางไข่ประมาณ 3 ฟองต่อวันและผลิตไข่ครั้งละประมาณ 50 ฟอง ไข่มักจะฟักออกมาหลังจากผ่านไป 7 วัน กล่าวอีกนัยหนึ่งเมื่อผู้ป่วยติดเชื้อโลนจะมีแมลงตัวจิ๋วหลายร้อยตัวและสามารถทวีคูณได้ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ หากไม่กำจัดตัวเต็มวัยและไข่ในทันที

การติดเชื้อโลน มักติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยมีโอกาส ติดเชื้อ 90% แม้ว่าโลนจะกระโดดหรือบินไม่ได้ แต่สามารถคลานไปมาระหว่างผิวหนังและเส้นผมได้ ดังนั้น การสัมผัสทางกายใด ๆ ที่ใกล้ชิด เช่น การกอด การสัมผัส หรือการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางปาก และทางทวารหนัก ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีถุงยางอนามัย ก็อาจทำให้โลนแพร่กระจายได้

ภาพจาก Ettoday

โดยโลนมักจะกระจายไปยังบริเวณทวาร, ต้นขา, รักแร้, เครา, ขนตา และคิ้ว ในระยะแรกของการติดเชื้อ ผู้ป่วยอาจรู้สึกคัน, ผื่น, มีเลือดคั่ง และผื่นแดงเกิดจากปฏิกิริยาการแพ้ของร่างกายมนุษย์ต่อน้ำลายของโลน ซึ่งโลนมักชอบเคลื่อนไหวในเวลากลางคืน ผู้ป่วยอาจรู้สึกคัน อาการคันมักจะรุนแรงหลังเวลานอน

บางครั้งอาจเกิดอาการบวมเฉียบพลัน หรือเนื่องจากการเกาซ้ำ รอยขีดข่วน สะเก็ดเลือด และแม้กระทั่งรูขุมขนอักเสบหรือต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบนั้นเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หากมีอาการคันหรือพบไข่พยาธิบ่อยในส่วนข้างต้นคุณควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

แม้ว่าโลนจะถูกแยกจากร่างกายมนุษย์ โลนยังสามารถอยู่รอดได้ 2 – 10 วัน ดังนั้น เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน สระว่ายน้ำ บ่อน้ำพุร้อน คนใกล้ชิด และผ้าเช็ดตัวสาธารณะจึงเป็นพาหะแพร่เชื้อได้เช่นกัน ดังนั้น วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงการใช้เสื้อผ้าและผ้าเช็ดตัวร่วมกัน รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี และหมั่นซักทำความสะอาดฆ่าเชื้อเสื้อผ้าและผ้าปูที่นอนเสมอ

การรักษาโลน ตามรายงานของพบแพทย์ โดยทั่วไปแล้วโลนสามารถรักษาให้หายได้ด้วยแชมพู โลชั่น หรือครีมที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่มีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงจำพวกโลนหรือเหา การรักษาด้วยยาครั้งแรกมักจะเป็นการกำจัดตัวโลนที่อยู่ในร่างกาย ดังนั้น ไข่ที่ยังไม่ฟักจึงไม่ถูกทำลาย ภายหลังการใช้ยาครั้งแรก 3-7 วัน จึงควรใช้ซ้ำเพื่อกำจัดตัวโลนที่เพิ่งออกมาจากไข่ แต่หากใช้ยาซ้ำเป็นครั้งที่ 2 แล้วอาการยังไม่ทุเลาลง หรือการรักษาไม่ได้ผล ควรกลับไปปรึกษาแพทย์

หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ อาการแทรกซ้อนที่มักพบในผู้ติดโลน คือ

  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง อาการคันที่เกิดจากโลน อาจทำให้ต้องเกาบริเวณที่คันบ่อย ๆ จนรู้สึกระคายเคือง และอาจนำไปสู่การติดเชื้อ เป็นแผลพุพอง หรือฝีที่ผิวหนังได้
  • การติดเชื้อที่ดวงตา ในบางกรณีโลนอาจแพร่กระจายไปเกาะบริเวณขนตาได้ และทำให้เกิดภาวะเยื่อบุตาอักเสบ เปลือกตาอักเสบได้

ขอบคุณที่มาจาก Ettoday พบแพทย์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน