“จากผลสำรวจความคิดเห็นของคนสันกำแพงอายุ 13-66 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ตำบลสันกำแพงและตำบลต้นเปา จำนวน 100 คน ต่อต้นฉำฉา พบว่าร้อยละ 80 ไม่ทราบว่าต้นจามจุรีหรือต้นฉำฉาอยู่ในความดูแลของหน่วยงานใด และร้อยละ 55 ต้องการปลูกต้นฉำฉาทดแทนต้นที่ตายบนถนนสายวัฒนธรรม เพราะต้องการความร่มเย็นสวยงามควบคู่ถนนวัฒนธรรม ขณะที่ผู้ที่ไม่ต้องการปลูกเพิ่มเห็นว่าไม่มีพื้นที่ให้ปลูกและทำให้ถนนสัญจรขรุขระเนื่องจากรากไม้ของต้นฉำฉา เมื่อมีพายุหรือลมแรงกิ่งก้านจากต้นฉำฉาตกลงมาทำให้เกิดความเสียหาย นอกจากนี้ร้อยละ 90 ต้องการให้มีกองทุนเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากต้นฉำฉา และร้อยละ 66 ไม่ทราบหรือไม่รู้ว่าต้นฉำฉาป่วย”

สดจากเยาวชน

พลังเยาวชนเพื่อสันกำแพง

เสียงบอกเล่าของน้องๆ นักเรียนโรงเรียนสันกำแพง จ.เชียงใหม่ สมาชิก “กลุ่มเยาวชนพลเมืองสันกำแพง” ที่อยากส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนำไปใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนา ระหว่างร่วมกิจกรรม “พื้นที่สีเขียวกับลมหายใจคนสันกำแพง” ที่ชุมชนโหล่งฮิมคาว เมื่อเร็วๆ นี้ จัดขึ้นโดยประชาธรรมร่วมกับโรงเรียนสันกำแพงและโรงเรียนบ้านหนองโค้ง ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการเปลี่ยนสันกำแพงด้วยพลังเยาวชน มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน

สดจากเยาวชน

นักเรียนรร.สันกำแพง

นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอโครงการ “ปุ๋ยจากใบฉำฉา” สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในสันกำแพง ผลงานน้องๆ โรงเรียนบ้านหนองโค้ง ก่อนปิดท้ายด้วยเวทีเสวนาเรื่อง “พื้นที่สีเขียวกับลมหายใจสันกำแพง และบทบาทเยาวชน”

น้องเจ๋ง ด.ช.จิรภาส อินต๊ะอ้อม ชั้น ม.2 โรงเรียนบ้านหนองโค้ง กล่าวว่า สันกำแพงเป็นเมืองวัฒนธรรม มีต้นฉำฉาอยู่เยอะมาก สามารถสร้างรายได้และทำให้เมืองร่มรื่นน่าอยู่ขึ้น

สดจากเยาวชน

น้องซีและน้องเจ๋ง

ขณะที่ น้องซี น.ส.กุลธิดา แซ่หย่าง โรงเรียนบ้านหนองโค้ง เผยว่า ก้าวต่อไปคือสานต่อให้รุ่นน้องมาแทนที่เรา และทำโครงการนี้ต่อไปเรื่อยๆ ต่อไปอาจมีการขายปุ๋ยในอินเตอร์เน็ต ตอนนี้วางขายในชุมชน เสียงตอบรับดีมาก

สดจากเยาวชน

ด้าน ปัณณพร ไพบูลย์ จากสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) กล่าวว่า การพาเด็กออกไปเรียนรู้นอกโรงเรียน เด็กเริ่มขับเคลื่อนด้วยชุดข้อมูล จากที่เขาไม่รู้ว่าต้นนี้เรียกว่าต้นฉำฉา ไม่รู้ว่านอกรั้วโรงเรียนมีอะไร กระบวนการนี้ทำให้เด็กเชื่อมโยงกับธรรมชาติ สิ่งรอบตัวและชุมชน ขับเคลื่อนด้วยการสื่อสารบนฐานของทางออก หาวิธีการแก้ไขปัญหาเรื่องต้นฉำฉาอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านผลิตภัณฑ์ “ปุ๋ยจากใบฉำฉา” ถือเป็นขั้นสูงสุดของกระบวนการเรียนรู้แบบ MIDL

“อะไรก็แล้วแต่ที่ผู้ใหญ่ทำผมคิดว่าความหวังน้อย เพราะผู้ใหญ่อยู่ไม่นาน แต่อะไรที่เริ่มมาอยู่ในมือเยาวชน สิ่งเหล่านั้นจะยาวนานและถูกส่งต่อ เป็นสิ่งที่เห็นชัดเจน พอมีเยาวชนเข้ามา พลังและความหวังมันเกิดขึ้น” นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจ และโหล่งฮิมคาว กล่าว

ปฤษณา กองวงค์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน