นอกจากเป็นเซลส์แมนเบอร์ 1 ของประเทศไทยแล้ว นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ยังเป็นผู้นำแฟชั่นอีกด้วย

โดยนำสินค้าท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ของไทยออกสู่สายตาคนไทยอย่างกว้างขวางและพาสู่สายตาชาวโลกให้เห็นของดีเมืองไทย

หลาก&หลาย

พันผ้าพันคอ หิ้วกระเป๋ากระจูด อวดเมืองแฟชั่นปารีส

หลาก&หลาย

เศรษฐา ทวีสิน นำผ้าขาวม้าโชว์ที่ฝรั่งเศส

ไม่ว่าจะเป็น ผ้าขาวม้าร้อยเอ็ด ผ้าขาวม้าอุดรธานี ผ้าขาวม้ากาฬสินธุ์ ผ้าย้อมครามสกลนคร ผ้ามัดหมี่หนองบัวลำภู บางชิ้นก็นำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าใส่ลงพื้นที่หรือไปงานต่างๆ และยังโปรโมตกระเป๋ากระจูด นราธิวาส จนเลื่องชื่อยิ่งขึ้น

หลาก&หลาย

ชิลชิล ที่ออสเตรเลีย

หลาก&หลาย

กรุงเบอร์ลิน เยอรมัน

ในการเยือนออสเตรเลีย เยอรมัน ฝรั่งเศส ช่วง 4-14 มี.ค.2567 นายเศรษฐาได้นำซอฟต์เพาเวอร์เหล่านี้ไปโกอินเตอร์ด้วย

นายเศรษฐาที่พันคอด้วยผ้าขาวม้า ยังควงอุ๊งอิ๊ง-น.ส.แพทองธาร ชินวัตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ที่สวมโค้ตผ้าย้อมครามสกลนคร ชมห้างสรรพสินค้ากลางกรุงปารีส ปูทางดีไซเนอร์ไทย พร้อมจับมือแบรนด์แฟชั่นต่างประเทศนำสินค้าท้องถิ่นไทยสู่ตลาดโลก

หลาก&หลาย

เศรษฐา-อุ๊งอิ๊ง ที่ฝรั่งเศส

นายเศรษฐาระบุว่า มาฝรั่งเศสเมืองแห่งแฟชั่น ผมตั้งใจเอาผลิตภัณฑ์กระจูดของดีขึ้นชื่อจ.นราธิวาส และผ้าขาวม้าจ.อุดรธานี ซึ่งเป็นสินค้าท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นและเอกลักษณ์มาด้วย

“ผ้าขาวม้าคือเครื่องหมายของการผูกมิตร มีความเป็นสากล และ muti-color ถ้าเราต่อยอดและขยายตลาดในต่างประเทศได้ ในอนาคตข้างหน้าผ้าขาวม้า ผืนละ 50 บาทอาจจะยกระดับราคาให้ เป็น 1,000 บาทได้ และนั่นคือการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนไทย”

หลาก&หลาย

 

ขณะที่ภาคเอกชนไทยใช้โอกาสทองนี้ ร่วมมือกับรัฐบาลจัดโครงการ “THAINESS STATION สินค้าไทย ร่วมใจเพื่อชุมชน” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนสินค้าไทยฝีมือชาวบ้านเพื่อสร้างรายได้ และต่อยอดผลงานสู่สายตาคนทั่วโลกต่อไป

หลาก&หลาย

หลาก&หลาย

ด้วยการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าไทยในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ อาทิ ผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้า เครื่องจักสานจากกระจูด และผ้าคราม ที่ศูนย์การค้าชั้นนำ โดยซื้อจากกลุ่มแม่บ้าน และชุมชนในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อมาจำหน่ายให้กับลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติ ไปจนถึงสิ้นเดือน เม.ย.2567

สำหรับผ้าขาวม้า เป็นซอฟต์พาวเวอร์ไทย ที่ในสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปร่วมแสดงในงาน World Dance Day 2023 ที่กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้รับความสนใจจากผู้ชมชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก

หลาก&หลาย

ชาวบ้านมอบผ้าขาวม้าเต็มตัว

รัฐบาลสมัยนั้นยังเสนอขึ้นทะเบียน ‘ผ้าขาวม้า’ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Intangible cultural heritage) ต่อองค์การยูเนสโกอีกด้วย

คนไทยรู้จักผ้าขาวม้าตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ตรงกับยุคสมัยเชียงแสน ที่ผู้ชายเริ่มใช้ผ้าเคียนเอวหรือผ้าขาวม้า ซึ่งได้รับวัฒนธรรมมาจากไทยใหญ่ ขณะที่ไทยใหญ่ใช้โพกศีรษะ ส่วนไทยยังม้วนผมมวยอยู่

หลาก&หลาย

ซื้อเสื้อกั๊กผ้าฝ้าย ที่พะเยา

ผ้าขาวม้าส่วนใหญ่ทอจากผ้าฝ้าย เส้นไหม ด้ายดิบ ป่านหรือวัสดุตามท้องถิ่น นิยมทอสลับสีเป็นลายตาหมากรุกหรือเป็นลายทาง โดยมากผลิตในแถบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีขนาดความกว้างยาวแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่จะกว้างประมาณ 3 คืบ ยาว 5 คืบ ราคาจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้

ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในการพัฒนาเป็นเครื่องแต่งกายตามสมัยนิยม โดยแปรรูปออกมาเป็นรูปแบบที่คนรุ่นใหม่จะนิยมใช้มากขึ้น

หลักฐานที่คนไทยเริ่มใช้ผ้าขาวม้าในสมัยเชียงแสนปรากฏให้เห็นในภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่วัดภูมินทร์ จ.น่าน

หลาก&หลาย

ผ้ามัดหมี่ หนองบัวลำภู ทอชื่อเศรษฐา

และเมื่อดูจากการแต่งกายของหญิงและชายในสมัยอยุธยา จากภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยาราวต้นศตวรรษที่ 22 เห็นได้ชัดว่าชาวอโยธยานิยมผ้าขาวม้าพาดบ่า คาดพุง นุ่งโจงกระเบน คล้องคอตลบห้อยชายทั้งสองข้างไว้ด้านหลัง

สมัยรัตนโกสินทร์ชาวไทยทั้งชายและหญิงนิยมใช้ผ้าขาวม้าทำประโยชน์อย่างมาก โดยไม่จำกัดแต่เพียงแค่หญิงเพศชายเท่านั้น และไม่จำกัดเฉพาะการใช้ทำเครื่องแต่งกายเพียงอย่างเดียว

ผ้าขาวม้า ไม่ใช่คำไทยแท้ แต่เป็นภาษาเปอร์เซียที่มีคำเต็มว่า กามาร์บันด์ กามาร์ หมายถึง เอวหรือท่อนล่างของร่างกาย บันด์ แปลว่าพัน รัดหรือคาด เมื่อนำคำสองคำมารวมกันจึงหมายถึง เข็มขัด ผ้าพันหรือคาดเอว

การ์มาบันด์ ยังปรากฏอยู่ในภาษาอื่น เช่น ในภาษามลายู ภาษาอินดี้ ภาษาอังกฤษ ที่มี คัมเมอร์บันด์ หมายถึง ผ้าคาดเอวในชุดสูท

หลาก&หลาย

ส่วน ‘กระเป๋ากระจูด นราธิวาส’ หลังนายเศรษฐาโปรโมตผ่านกิจกรรม “เที่ยวใต้สุด จังหวัดนราธิวาส” เมื่อวันที่ 29 ก.พ.2567 และใช้กระเป๋าสานกระจูดในการเยือนกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังชั่วข้ามคืน

นางกุเเวรายะ กุโน ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์กระจูดบ้านพรุกาบแดง (กลุ่มกระจูดรายา) จ.นราธิวาส กล่าวว่า จากเดิมที่มีออร์เดอร์เข้ามาเรื่อยๆ พอมีรายได้หล่อเลี้ยงกลุ่ม แต่ทันทีที่ปรากฏภาพของนายกฯ ใช้กระเป๋าสานกระจูดในการเยือนกรุงปารีส ทำให้มีการติดต่อสั่งซื้อสินค้าเข้ามามากมาย

หลาก&หลาย

ส่วนใหญ่จะสั่งซื้อกระเป๋าเอกสารแบบที่นายกฯ ถือ และอีกส่วนหนึ่งสั่งซื้อกระเป๋ารูปแบบอื่นๆ ด้วย จากเดิมมียอดขายเฉลี่ยประมาณ 30,000 บาทต่อเดือน แต่ขณะนี้ยอดขายพุ่งเป็นเท่าตัวกว่า 60,000 บาท

สินค้าของเรามีให้เลือกหลายรูปแบบ เริ่มต้น 40 บาท จนถึงหลักพันบาท ส่วนกระเป๋าเอกสารสานกระจูดที่นายกฯ ใช้นั้น แต่ละใบจะใช้คนทำถึง 6 คน รับผิดชอบแต่ละด้านตั้งแต่การสานกระจูด ขึ้นรูป และตัดเย็บ จำหน่ายใบละ 690 บาท

สามารถติดต่อสั่งซื้อได้ที่เฟซบุ๊ก เพจ: กระจูดรายา โทรศัพท์ 08-9298-8567

ด้าน นายทวีบุญ เชาวะเจริญ ข้าราชการครู คศ.2 วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส หนึ่งในผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูดรายา กล่าวว่า สืบเนื่องจากการที่เราได้ลงพื้นที่พูดคุยกับชุมชนวัดชลธาราสิงเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ทำให้ทราบว่าคนชุมชนต้องการเรื่องผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการวิจัยเพื่อการมุ่งทำผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของชุมชนเเละเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว

จึงนำลวดลายสถาปัตยกรรมที่มีความผสมผสานทั้งศิลปะมลายูและศิลปะจากตะวันตก และภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดชลธาราสิงเห ซึ่งเก่าแก่อยู่ในยุคปลายรัชกาลที่ 4 ต้นรัชกาลที่ 5 มาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก คือ กระจูดสาน ซึ่งเป็นความร่วมมือของกลุ่มกระจูดรายา ที่มีความชำนาญในการแปรรูปผลิตภัณฑ์กระจูดสานและกลุ่มกระจูดบ้านใหญ่ที่มีความชำนาญในการปักซอย

“สินค้าทุกชิ้นของกลุ่ม ทุกคนทำด้วยใจ รังสรรค์อย่างประณีตงดงาม จึงปลื้มใจมากที่นายกฯ สนใจและช่วยโปรโมตให้ อยากให้คนไทยหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ของคนไทยในชีวิตประจำวัน” นายทวีบุญกล่าวทิ้งท้าย

ผลิตภัณฑ์ของดีเมืองไทยยังมีอีกมากมายที่ผงาดในเมืองไทยและกำลังปูทางไปสู่ตลาดโลก

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน