การประกวดแข่งขัน “เจมส์ ไดสัน อวอร์ด” เปิดรับสมัครผลงานเป็นทางการแล้ว โดยเป็นปีที่ 3 ที่จัดการแข่งขันในประเทศไทย ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมาผลงานจากนักเรียนนักศึกษาไทยที่ได้รับรางวัลระดับประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาจากเยาวชนนักประดิษฐ์ในประเทศ ที่ส่งผลงาน KomilO ระบบตรวจจับการเป็นสัดในโคนม

มุ่งช่วยพัฒนาชีวิตเกษตรกรโคนมในประเทศ ได้รับรางวัลชนะเลิศในปีแรก และผลงาน O-GA เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายและผลิตน้ำมันที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของเกษตรกร ได้รับรางวัลชนะเลิศในปีที่ผ่านมา

ไอคิวทะลุฟ้า

ทีมไทยผู้ออกแบบ O-GA

ไอคิวทะลุฟ้า

ผลงาน O-GA ชนะเลิศ

ในปีที่ 3 การจัดประกวดในประเทศไทย “เจมส์ ไดสัน อวอร์ด” ยังคงโจทย์การแข่งขันไว้เช่นเดิมคือ “ออกแบบอะไรก็ได้ที่แก้ไขปัญหา” พร้อมรับผลงานจากนักเรียน นักศึกษา ด้านการออกแบบและวิศวกรรม วันนี้ไปจนถึง 17 ก.ค. 2567

“เจมส์ ไดสัน อวอร์ด” คือการแข่งขันที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่จากคณะด้านการออกแบบหรือวิศวกรรมศาสตร์เข้าร่วมการแข่งขัน โดยมองหางานออกแบบที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาทุกรูปแบบตั้งแต่การวินิจฉัยโรคมะเร็งไปจนถึงภัยธรรมชาติ โดยจะมอบเงินรางวัลและโอกาสในการประชาสัมพันธ์ผลงานให้ผู้ชนะในระดับนานาชาติและผู้ชนะด้านความยั่งยืน

ไอคิวทะลุฟ้า

ไอคิวทะลุฟ้า

ผลงานคว้ารางวัล

ผู้ชนะจากการประกวดในปีที่ผ่านมา อาทิ รถพยาบาลเคลื่อนที่เพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากเขตพื้นที่ความขัดแย้ง เครื่องมือสำหรับผู้ที่เป็นโรคต้อหินสามารถตรวจความดันของตาได้โดยไม่สร้างความเจ็บปวด และเครื่องมือเพื่ออุดแผลสำหรับเหยื่อที่โดนแทง

รางวัล “เจมส์ ไดสัน อวอร์ด” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2548 ปัจจุบันสนับสนุนนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ไปแล้วกว่า 400 คน ด้วยเงินรางวัลรวมกว่า 43.5 ล้านบาท ผู้ชนะในอดีตกว่าสองในสามสามารถต่อยอดไอเดียไปสู่การใช้จริงเชิงพาณิชย์ รางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศระดับนานาชาติและผู้ชนะเลิศด้านความยั่งยืนจะได้รับเงินจำนวน 1,345,000 บาท เพื่อสนับสนุนในการต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ ขณะเดียวกันเงินจำนวน 224,000 บาท จะมอบให้ผู้ชนะเลิศในแต่ละประเทศที่จัดการแข่งขัน

O-GA ผลงานของทีมผู้ชนะรางวัล “เจมส์ ไดสัน อวอร์ด” ประจำปี 2566 ในประเทศไทย เป็นที่รู้จักกว้างขวางเนื่องด้วยการเผยแพร่ของสื่อในประเทศไทย โดยทีมนักศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ริเริ่มโครงการเพื่อพัฒนาทางเลือกด้านพลังงานให้เกษตรกรชาวไทย ออกแบบเครื่องจักรแบบออล-อิน-วัน ทำหน้าที่เพาะเลี้ยงสาหร่ายสำหรับสกัดเป็นน้ำมันไบโอดีเซล และเป็นเครื่องจ่ายน้ำมันแก่ผู้ใช้ มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมภาคเกษตรกรรมภายในประเทศอย่างยั่งยืน

สรวิศ อุปฌาย์ หนึ่งในสมาชิกทีมผู้ออกแบบ O-GA กล่าวว่า “เราดีใจมากที่ผลงานในห้องเรียนของทีมเราได้รับรางวัลชนะเลิศ และสามารถนำเสนอในระดับนานาชาติได้ ทำให้เห็นว่าคนไทยมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมไม่แพ้ใคร พวกเราจะนำรางวัลที่ได้ไปต่อยอดผลงาน โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและชีววิทยา เพื่อพัฒนาให้ O-GA เป็นทางเลือกพลังงานใหม่สำหรับเกษตรกรไทยที่ใช้ได้จริง”

สนใจค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสมัครและเกณฑ์การเข้าร่วมได้ที่ Jamesdysonaward.org

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน