ในยามที่น้ำมันเชื้อเพลิงราคาแพง ไบโอดีเซลที่ได้จากพืชปาล์มน้ำมัน เอทานอลที่ได้จากพืชอ้อย จึงกลายเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพราคาถูก

ขณะที่หลายครั้งผลผลิตทางการเกษตรอย่าง ปาล์มน้ำมัน อ้อย รวมถึงยางพารา มันสําปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประสบปัญหาราคาตกต่ำ

หลาก&หลาย

ลานเทปาล์ม

 

จึงเป็นความประจวบเหมาะที่ภาครัฐต้องเข้าไปดูแล ทั้งเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและสินค้าเกษตรโดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน จึงมีการนำไบโอดีเซล 100% หรือ B100 ที่ได้จากปาล์ม

ไปใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมันดีเซลประมาณ 6.6-7% เป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B7 เพื่ออุดหนุนราคาปาล์มไม่ให้ตกต่ำ โดยที่ผ่านมาอาศัยกลไกสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เข้ามาอุดหนุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

หลาก&หลาย

เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น

 

แต่ปัจจุบันสถานการณ์ราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวขึ้นไปสูงถึง 34-35 บาท/กิโลกรัม (ก.ก.) ไม่ถูกเหมือนที่เคยอุดหนุนในช่วงราคาตกต่ำที่ 4 บาท/ก.ก. ความจำเป็นในการอุดหนุนจึงน้อยลง

สกนช.จึงเร่งศึกษาศักยภาพของเชื้อเพลิงชีวภาพปาล์มน้ำมัน รองรับการเงินชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ พร้อมลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นและผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผลิตน้ำมันปาล์มแดงธรรมชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช และเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชน แปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน จ.ตรัง

หลาก&หลาย

เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชน แปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน จ.ตรัง

 

นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการ สกนช.ระบุว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อศึกษากรณีการปรับตัวของกลุ่มเกษตรกรปาล์มน้ำมัน กองทุนฯ จะนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นส่วนหนึ่งเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ประกอบการพิจารณาข้อดีข้อเสีย ว่าจะยกเลิกหรือขยายระยะเวลาการอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ

หลาก&หลาย

พรชัย จิรกุลไพศาล

 

ด้าน นายพรชัย จิรกุลไพศาล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สกนช. กล่าวว่า ปัจจุบันราคาน้ำมันปาล์มและเอทานอลค่อนข้างสูง เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น จึงเกิดเสียงคัดค้าน เพราะในช่วงที่ราคาไบโอดีเซลแพง กองทุนก็ใช้เงินอุดหนุนประมาณ 3.50 บาท/ลิตร เพื่อตรึงราคาดีเซลไว้ไม่เกิน 30 บาท/ลิตรตามนโยบายของรัฐบาล

หลาก&หลาย

ผลผลิตปาล์มน้ำมันสดส่งตรงจากสวน

 

ขณะที่งานวิจัยเพื่อพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผลิตน้ำมันปาล์มแดงธรรมชาติ ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สามารถทลายข้อจำกัดเรื่องราคาตกต่ำเพราะผลผลิตล้นตลาด และชี้ให้เห็นทางออกของปาล์มน้ำมันที่มีศักยภาพในการปรับตัว หากต้องยกเลิกการอุดหนุนของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

หลาก&หลาย

หมุดตอเล็บ หนิสอ

 

รศ.ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รายงานผลการวิจัย พบว่า น้ำมันปาล์มแดงที่ได้จากผลปาล์มสด มีคุณสมบัติโดดเด่นที่มีสารอาหารคุณค่าสูงมาก โดยเฉพาะสารเบต้าแคโรทีน ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีค่าสูงกว่ามะเขือเทศถึง 300 เท่า และสูงกว่าแครอต 15 เท่า และยังมีวิตามินอี ไม่มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงได้ยกระดับพัฒนาเทคโนโลยีไมโครเวฟ เพื่อรักษาคุณค่าของผลิตภัณฑ์ และยังลดระยะเวลาการใช้ความร้อนในการอบผลปาล์ม เพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มแดงบริสุทธิ์ที่ให้ผลตอบแทนสูง ต่อยอดเป็นส่วนประกอบกลุ่มเวชสำอางนอกจากอาหาร สร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลาย

หลาก&หลาย

กว่าจะเป็นน้ำมันปาล์มแดง

 

หลาก&หลาย

เครื่องหีบปาล์มน้ำมัน

 

ผลสำเร็จจากงานวิจัยพบว่าปาล์มทลายปริมาณ 100 กิโลกรัม สามารถผลิตน้ำมันปาล์มแดงธรรมชาติได้ 12 กิโลกรัม ซึ่งสามารถจำหน่ายได้ในราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 500 บาท

นอกจากนี้ ยังมีแผนยกระดับกำลังไฟของเครื่องไมโครเวฟเป็น 10 กิโลวัตต์/ชั่วโมง จากเดิมอยู่ที่ 1 กิโลวัตต์/ชั่วโมง ช่วยเพิ่มกำลังผลิตเป็น 500 กิโลกรัม/วัน สู่เป้าหมายการผลิตน้ำมันปาล์มแดงให้ได้อย่างน้อย 2 ตัน/วัน

หลาก&หลาย

เทคโนโลยีไมโครเวฟอบผลปาล์ม

 

หลาก&หลาย

ห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

การต่อยอดให้ทุกวิสาหกิจชุมชนมี 1 อำเภอ 1 โรงงานน้ำมันปาล์มแดง ต้นทุนการตั้งโรงงานไม่เกิน 10 ล้านบาท ต่างจากการผลิตแบบดั้งเดิมที่โรงสกัดน้ำมันปาล์มต้องลงทุนกว่า 200 บาท และโรงกลั่นน้ำมันปาล์มต้องลงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท

หลาก&หลาย

จันทร์เพ็ญ ชิดเชื้อ

 

นางจันทร์เพ็ญ ชิดเชื้อ ประธานวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน หมู่ที่ 3 ต.ท่าสะบ้า อ.วังวิเศษ จ.ตรัง แสดงจุดยืนบนพื้นฐานความคิดในการพึ่งพาตนเอง จึงรวมกลุ่มกันเป็นเกษตรกรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน

โดยนำเทคโนโลยีไมโครเวฟมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาใช้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพิ่มมูลค่าน้ำมันปาล์มธรรมชาติที่มีสีแดง เรียกว่าน้ำมันปาล์มแดง และกำลังพัฒนาต่อยอดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ตามต้นแบบจากมูลนิธิชัยพัฒนา

หลาก&หลาย

ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์มแดง

 

สิ่งที่กลุ่มคาดหวังจะให้เกิดในอนาคต คือ โรงงานน้ำมันปาล์มธรรมชาติต้นแบบเชิงพาณิชย์ในชุมชน

โดยมีเครื่องมือขนาดเหมาะสมในการสกัดน้ำมันปาล์มแดงธรรมชาติ ที่ได้มาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และการผลิตอาหารที่ดีตามระบบประกันคุณภาพ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย (Good Manufacturing Practice : GMP) สามารถผลิตน้ำมันบริโภคและเครื่องสำอาง เวชสำอางต่อไปได้

หลาก&หลาย

น้ำมันปาล์มแดงสกัดจากธรรมชาติ

 

หลาก&หลาย

สบู่เหลวจากน้ำมันปาล์มแดง

 

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ทางกลุ่มผลิตจากน้ำมันปาล์มแดง อาทิ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากน้ำมันปาล์มแดง สบู่เหลวจากน้ำมันปาล์มแดง แต่ที่สำคัญต้องทำให้น้ำมันปาล์มแดงตอบโจทย์เรื่องคุณภาพ การสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นที่รู้จักของตลาด

เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันยืนได้ด้วยลำแข้งตัวเอง เลิกพึ่งพาการอุดหนุนราคาจากภาครัฐ

พรพิมล แย้มประชา

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน