เพื่อเฉลิมฉลองวันช้างไทยในเดือนมีนาคม WWF ประเทศไทย องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ดำเนินงานด้านอนุรักษ์เพื่อสัตว์ป่าและธรรมชาติ ร่วมเจาะลึกข้อดี 3 ประการของการอนุรักษ์ช้างที่ควรค่าแก่การตระหนักรู้ในระดับสากล

“ความสมดุลของระบบนิเวศ” ช้างเป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นวิศวกรแห่งระบบนิเวศที่สำคัญ ช้างมีบทบาทต่อการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและช่วยสร้างระบบนิเวศของป่าไม้ที่สมบูรณ์ ช่วยสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ๆ และทรัพยากรที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ชนิดอื่นๆ การจัดการโครงสร้างใหม่ให้พืช ดิน และน้ำ นับเป็นการช่วยควบคุมสมดุลของระบบนิเวศอันเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ด้วยเช่นกัน ช้างยังช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์และสารอาหารต่างๆ ในวงกว้างผ่านผลไม้และหญ้าที่ปนออกมาทางอุจจาระ ส่งผลให้ป่าไม้มีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์และอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

 

“การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ” ภาคส่วนต่างๆ ในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ไม่ว่าจะเป็น WWF ประเทศไทย เจ้าหน้าที่อุทยานฯ รวมถึงสมาชิกชุมชนในพื้นที่ ต่างร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาระหว่างคนกับช้าง หนึ่งในวิธีแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จคือการส่งเสริมให้กุยบุรีเป็นแหล่งท่องเที่ยวชมสัตว์ป่า หรือเรียกว่า “กิจกรรมส่องสัตว์ที่กุยบุรี ซาฟารีเมืองไทย” ช่วยสร้างรายได้ให้แต่ละภาคส่วนพร้อมทั้งมอบประสบการณ์ให้ผู้คนทั่วไปเรียนรู้วิถีชีวิต และการอยู่อาศัยของสัตว์ป่าในอุทยาน อาทิ ช้าง กระทิง และสัตว์อื่นๆ

“มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทย” ช้างและคนไทยมีความสัมพันธ์กันมายาวนานหลายร้อยปี ในความเชื่อดั้งเดิมของไทยนั้น ช้างถือเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความแข็งแกร่ง และความเฉลียวฉลาด รวมถึงเป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์ ช้างมีบทบาทมากในวัฒนธรรมประเพณีของไทย เห็นได้จากการจัดเทศกาลต่างๆ มากมายเพื่อเชิดชูเกียรติให้ช้าง เช่น งานช้างจังหวัดสุรินทร์ ช้างยังปรากฏในงานศิลปกรรม วรรณกรรม และคติความเชื่อของไทย








Advertisement

ร่วมติดตามชม Docu-Series ที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงพลังแห่งความร่วมมือ รวมถึงรับชมและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแคมเปญ “We’re Ele-friends : เพื่อช้างเพื่อนเรา” ได้ที่เพจเฟซบุ๊ก WWF Thailand

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน