แม่ฮ่องสอน กลุ่มสตรีแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านป่าปุ๊ ชวนนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมวิถีชีวิตชาวบ้าน พร้อมชมการทำน้ำอ้อยแผ่น พร้อมชิมเปโหย่ ที่ผลิตจากอ้อยอินทรีย์แท้ ใช้น้ำอ้อยล้วนๆ

ที่บ้านป่าปุ๊ หมู่ 2 ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน นายกุศล สุปัญโญ ผู้ใหญบ้านฯ เผยว่า บ้านป่าปุ๊ มีการทำน้ำอ้อยมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยใช้วัตถุดิบจากต้นอ้อยที่ปลูกไว้ในบริเวณหมู่บ้าน ปัจจุบันมีเกษตรกรกลุ่มปลูกอ้อย บ้านป่าปุ๊ ปลูกอ้อย 10 ราย บนเนื้อที่กว่า 30 ไร่เศษ

DCIM100MEDIADJI_0002.JPG

ในอดีตนั้น น้ำอ้อยจะทำไว้รับประทานกันเองในบ้าน และขายเพื่อให้มีรายได้เล็กๆ น้อยๆ เป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือน แต่ปัจจุบัน มีหน่วยงานราชการหลายแห่งเข้ามาส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง เช่น สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฯ สำนักงานพัฒนาชุมชน สำนักงานเกษตรจังหวัดฯ องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง

พร้อมทั้งมีการแนะนำการจัดตั้งกลุ่ม อบรมให้ความรู้เพิ่มเติม ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย เพื่อจะได้ผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ด้วย ซึ่งจะปลูกอ้อยพันธุ์พื้นเมือง ทั้งนี้บ้านป่าปุ๊ชาวบ้านส่วนใหญ่จะปลูกอ้อยทุกครัวเรือน จากนั้นจึงส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มขึ้น คือ กลุ่มน้ำอ้อยอินทรีย์ป่าปุ๊

นางสุพรรณ แววดาว เกษตรกร สมาชิกกลุ่มน้ำอ้อยอินทรีย์ป่าปุ๊ ด้เล่าถึงขั้นตอนการแปรรูปว่า เริ่มจากตัดอ้อยตอนเช้า จากนั้นเอามาล้างให้สะอาด นำมาเข้าเครื่องหนีบ ก่อนนำมาเคี่ยวจนแห้งได้ที่ ใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง จึงนำมาวางบนไม้กระดานที่เตรียมไว้ เพื่อตัดเป็นแผ่น ก่อนนำไปแพ็กใส่ถุงเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อจำหน่ายต่อไป

สำหรับการเคี่ยวแต่ละครั้งจะใช้น้ำอ้อย 3 ปีบ ประมาณ 50 กิโลกรัม ใช้เวลาเคี่ยว 3 ชั่วโมง เมื่อเคี่ยวจนแห้งเหนียวได้ที่แล้วจะเหลือน้ำหนัก 8-9 กิโล เราใช้น้ำอ้อยล้วนๆ ไม่ผสมอะไรเลยเป็นน้ำอ้อยสดนำมาจากอ้อยอินทรีย์ การปลูกอ้อยที่นี่จะเป็นอ้อยอินทรีย์ 100% วันหนึ่งๆ จะทำได้ประมาณ 4 หม้อต้ม หรือ 12 ปีบ

นางสาวสมหมาย กล้าณรงค์ ที่ปรึกษากลุ่มน้ำอ้อยอินทรีย์ป่าปุ๊ กล่าวถึงเรื่องของการตลาด ปัจจุบันเน้นจำหน่ายให้กับลูกค้า ทั้งใน จ.แม่ฮ่องสอน และต่างจังหวัด โดยเฉพาะการจำหน่ายแบบออนไลน์ ถ้าในจังหวัดลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยว ซึ่งจะขายดีมากในช่วงปลายปีถึงต้นปี เพราะเป็นฤดูท่องเที่ยวของแม่ฮ่องสอน

ส่วนราคาจำหน่ายสนนราคาถุงละ 40 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับผลิตภัณฑ์น้ำอ้อยอัดก้อน ซึ่งแต่ละปีจะมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 3-4 หมื่นบาท

สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจอยากมาเยี่ยมชมวิถีชีวิต และการทำน้ำอ้อยที่บ้านป่าปุ๊นั้น หรือต้องการผลิตภัณฑ์น้ำอ้อยอินทรีย์ ติดต่อสอบถามได้ที่ Facebook กลุ่มสตรีแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านป่าปุ๊ โทร.089-8351039 หรือทางไอดีไลน์ prmel

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน