ททท. 2 จังหวัด จับมือร่วมทำตลาดท่องเที่ยว จากทะเลสู่เขา-จากเขาสู่ทะเล เพิ่มมูลค่าด้านท่องเที่ยว พบ 2 จังหวัด ศักยภาพท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ คาด 1 ปีสร้างมูลค่าเพิ่มสูง

8 ก.ค. 66 – การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานน่าน (ททท.น่าน) นำโดย นายโยธิน ทับทิมทอง ผู้อำนวยการ ททท.น่าน นำผู้ประกอบการท่องเที่ยว เดินทางมา อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด

เพื่อร่วมโครงการ The Link Nan x Trat Green Route Good Trip (จากทะเลตราดสู่ทะเลหมอก)มีนางพัชรินทร์ เศวตรัตน์ ผู้อำนวยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตราด และผู้ประกอบการท่องเที่ยวจ.ตราดร่วมต้อนรับที่โรงแรมเกาะช้างพาราไดซ์ อ.เกาะช้าง จ.ตราด

นางพัชรินทร์ กล่าวถึงโครงการนี้ว่า ก่อนหน้านี้ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2566 ทางททท.สำนักงานตราด ได้นำผู้ประกอบการเดินทางไปยังจังหวัดน่าน เพื่อสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน เพื่อให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวของจังหวัดตราด จัดทริปทัวร์เพื่อนำนักท่องเที่ยวมายังจังหวัดน่าน

ขณะที่ผู้ประกอบการจังหวัดน่าน เดินทางมาตราด และ ทาง ททท.ตราดได้จัดกิจกรรมทางการท่องเที่ยว และชุมชนท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นไฮไลท์ของจังหวัดตราด ให้ผู้ประกอบการนำไปจัดทริปทัวร์ เพื่อเดินทางมาตราด








Advertisement

ซึ่งจังหวัดน่านมีจุดเด่นในเรื่องภูเขา และทะเลหมอก รวมทั้งมีความเป็นธรรมชาติ และวัฒนธรรม ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ ส่วนจังหวัดตราด มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงาม และมีน้ำทะเลใส ทรายหาดขาวสะอาด และมีอาหารทะเลที่สด และอร่อย

ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการนำเที่ยวทั้งสองจังหวัดได้จัดทริปทัวร์นำเที่ยวเพื่อแลกเปลี่ยนกันได้อย่างดี และจะสร้างมูลค่าทางการตลาดท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งทั้งสองจังหวัดมีความต้องการที่เหมือนกัน

พฤติกรรมของชาวตราดนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวข้ามภูมิภาค จำนวน ร้อยละ 35.16 และภายในภูมิภาค ร้อยละ 64.84 โดยจะพักค้างคืน ร้อยละ 64.66 และไม่ค้างคืน ร้อยละ 35.34 ทั้งนี้จะจะเดินทางในวันธรรมดา ร้อยละ 16.49 วันหยุดปกติ ร้อยละ 55.53 และวันนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดพิเศษ ร้อยละ 27.98 แต่ละปีจะเที่ยว 1.37 ครั้ง/ปี และจะเดินทางไปในลักษณะไปเป็นครอบครัว ร้อยละ 63.21 และไปกับแฟนร้อยละ 51.35 ซึ่งในปี 2566 ช่วง 5 เดือนแรก มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาจังหวัดตราดมากถึง คน932,114 คน เป็นนักท่องเที่ยวไทย จำนวน 582,286 คน และต่างชาติ 349,829 คน เติบโตขึ้น 3.17 ทำให้มีรายได้เข้าสู่จังหวัดตราดถึง 9,035.96 ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้น ร้อยละ 25.11

ขณะ นายโยธิน กล่าวว่า โครงการนี้เป็นความร่วมมือของ 2 จังหวัดท่องเที่ยวที่มีการท่องเที่ยวแบบยั้งยืนเพื่อใร้าวความใกล้ชิด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยที่จังหวัดตราดเน้นการท่องเที่ยวเน้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับน่านที่ทุ่งรักษาความยั้งยืนของแหล่งท่องเที่ยว และทำโครงการร่วมระหว่าง 2 จังหวัด มองแล้วคุ้มค่าในการทำโครงการกันทั้งสองจังหวัด

น่านมีจุดเด่นในเรื่องธรรมชาติ และหัตถกรรมพื้นบ้าน มีการทำเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงระดับชาติ มีอัตรลักษณ์ของชุมชน มีวิถีชีวิตที่งดงาม และมีศิลป วัฒนธรรม ประเพณีที่เก่าแก่ ทั้งวัด และพิพิธภัณฑ์มีชีวิต และธรรมชาติที่งดงาม ซึ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวในประเทศชื่นชอบ ซี่งการจัดโครงการในลักษณะนี้จะเกิดประโยชน์มากในเรื่องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันและจะเกิดผลในการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวระหว่างกันในแต่ละปีเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

“ส่วนพฤติกรรมการท่องเที่ยวของชาวน่านนั้น พบว่า ชาวน่านจะออกไปท่องเที่ยว นิยมไปท่องเที่ยวทางภาคเหนือมากกว่าภาคใดคือ ร้อยละ 61. 13 ไปภาค และภาคตะวันออก ร้อยละ 11.07 และภาคกลางร้อยละ 10.56 โดยช่วงอายุ 45-54 ปี เดินทางมากที่สุดร้อยละ 29.2 ช่วงอายุ 35-44 ปี จะเดินทางรองลงมา ร้อยละ 29.00 ขณะที่นักท่องเที่ยวจากภาคเหนือ เดินทางมาจังหวัดน่านมากที่สุดร้อยละ 59.01 และภาคกลาง ร้อยละ 13.71 และภาคตะวันออกร้อยละ 9.92 โดยในแต่ละปีทีทผ่านมามีนักท่องเที่ยวเดินทางมากกว่า 1.3 ล้านคน และส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย”

ด้าน นายพรชัย เขมะพรรคพงษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.ตราด ที่เดินทางไปร่วมไปด้วยกล่าวว่า จังหวัดน่านเต็มไปด้วยวัฒนธรรม และมีประเพณีที่เก่าแก่ และมีวิถีชีวิตที่น่าสนใจ รวมทั้งมีธรรมชาติที่เป็นภูเขาอากาศหนาว เป็นจุดขายให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาจังหวัดน่าน และหาประสบการณ์จากการเข้ามาสัมผัสกิจกรรมในแห่งท่องเที่ยว เช่น โรงงานโกโก้ แฟคตอรี่ที่ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาร่วมกิจกรรมทำช็อคโกแลตอย่างใกล้ชิด

ซึ่งที่เกาะช้าง ผู้ประกอบการก็ทำเช่นนี้มาก่อน แต่หลังจากโรงแรม รีสอร์ทประสบความสำเร็จจึงหลงลืม และไม่ทำต่อ ซึ่งเรื่องนี้จะต้องรื้อฟื้นขึ้นมาเพื่อทำต่อและสร้างจุดขายของการท่องเที่ยวของจังหวัดตราดขึ้นมาอีกครั้ง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน