โรคหัวใจในเด็ก โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  1. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด สามารถเกิดอาการได้ทุกอายุ แต่ที่พบมากมักอยู่ใน 2 ช่วง คือ ช่วงแรกตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 2 ปี และช่วงหลังคือ หลังจากอายุ 5 ปีขึ้นไป

อาการของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

ชนิดที่เขียว จะมีลักษณะเขียวคล้ำและสามารถเห็นได้ง่าย และชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อเด็กร้องไห้มักมีอาการหอบเหนื่อยร่วมด้วย เมื่อเด็กโตขึ้นจะพบลักษณะของนิ้วปุ่ม โป่งพองบริเวณปลายนิ้วมือและเท้า คล้ายกระบอง

ชนิดที่ไม่เขียว มักจะมีอาการหอบเหนื่อยง่ายกว่าเด็กปกติ โดยเฉพาะเวลาดูดนมหรือวิ่งเล่นต้องหยุดหายใจแรงเป็นพักๆ หัวใจเต้นเร็ว การดื่มนมก็จะดื่มได้น้อย น้ำหนักขึ้นช้า ส่งผลให้เด็กตัวเล็ก เป็นหวัดบ่อยและเมื่อเป็นหวัดแล้วมักไม่ค่อยหาย มีโรคแทรกซ้อนทาวปอดบ่อยๆ

  1. โรคหัวใจที่เกิดภายหลังการคลอด ชนิดที่ทำให้เกิดอาการตั้งแต่วัยเด็กและพบบ่อย คือ โรคหัวใจรูห์มาติคเป็นโรคลิ้นหัวใจพิการที่เกิดจากการอักเสบ มักเกิดในคนที่ฐานะความเป็นอยู่ไม่ค่อยดี มีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบขึ้นที่หัวใจ โดยเฉพาะตำแหน่งของลิ้นหัวใจ โรคนี้มักพบภายหลังการอักเสบของคอ และต่อมทอนซิล ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียพวกสเตร็ปโตคอคคัส เมื่อเชื้อโรคนี้ทำอันตรายต่อร่างกายแล้วกลับทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานที่เป็นอันตรายต่อร่างกายกายของตนเอง ทำให้เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ และหากได้รับการรักษาในระยะแรกไม่ดีพอ ต่อมาอาจกลายเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบได้ เหล่านี้เป็นสาเหตุใหญ่ของการเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจภายหลังเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

วิธีการตรวจโรคหัวใจในเด็ก

การตรวจ และให้การวินิจฉัยโรคหัวใจในเด็กนั้น จะอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ตั้งแต่ประวัติ อาการของเด็ก การตรวจร่างกายด้านหัวใจโดยละเอียด การ X-ray ดูเงาหัวใจ และเส้นเลือดในปอดการตรวจคลื่นหัวใจ การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ซึ่งจะสามารถเห็นภาพในช่องหัวใจแต่ละช่องเส้นเลือดของหัวใจ และลิ้นหัวใจ ทั้งยังสามารถวัดขนาด ของรูรั่วภายในหัวใจได้แน่นอน รวมทั้งทำให้ทราบถึงการไหลเวียน ของเลือดภายในหัวใจ การรั่วของลิ้น หัวใจว่ามากหรือน้อยเพียงใดสามารถตรวจและ วินิจฉัยได้ในทุกอายุ แม้กระทั่งทารก ที่อยู่ในครรภ์มารดา ตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์ได้เพียง 18 20 สัปดาห์ โดยวิธีการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ทางหน้าท้องมารดา

การรักษาโรคหัวใจในเด็ก

การรักษาโรคหัวใจในเด็กขึ้นอยู่กับชนิดของความผิดปกติ การเกิดอาการก็มีความมากน้อยในด้านของความรุนแรงของโรคแต่ละชนิด บางชนิดอาจไม่ต้องรักษาอะไรเลย เช่น รูรั่วของผนังหัวใจ ช่วงล่างเล็ก ๆ จะไม่มีอาการ และสามารถปิดไปได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น ถ้ามีอาการก็จะให้การรักษาทางยาเพื่อควบคุมอาการ และ ดูและการเจริญเติบโตของเด็กอย่างใกล้ชิด แต่ถ้ามีอาการมากขึ้น จำเป็นต้องรักษาโดยการแก้ที่สาเหตุ เช่น ถ้ามีอาการตีบตัน ของลิ้นหัวใจ ในสมัยก่อนคงต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แต่ในระยะหลังสามารถรักษาโดยใช้ลูกโป่งสอดเข้าไปตามเส้นเลือด ซึ่งจะได้ผลดี และหากจำเป็นต้องมีการผ่าตัดก็สามารถทำได้ เพราะในปัจจุบันในประเทศไทย มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการผ่าตัดหัวใจเด็ก มีทีมงานที่ดูแล และเครื่องมือที่พร้อมในการช่วยเหลือเด็กอย่างครบถ้วน

image01

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน