ร่วมกัน‘สร้าง’โอกาสมองเห็น 400 ล้าน ‘สร้าง’ ร.พ. จักษุบ้านแพ้ว

ร่วมกัน‘สร้าง’โอกาสมองเห็น – โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จัดโครงการ “ทำดีให้คนมองเห็น” เพื่อระดมทุน 400 ล้านบาท สร้างโรงพยาบาลจักษุบ้านแพ้ว โดยมีงานแถลงข่าวไปเมื่อ 19 ต.ค. ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์สั้น “ช่วยคุณหมอ” ฝีมือการกำกับฯ โดย คุณต่อ ธนญชัย ศรศรีวิชัย ผู้กำกับโฆษณาชื่อดังระดับโลกที่ช่วยถ่ายทอดความมุ่งมั่นทุ่มเทของทีมแพทย์ ในการรักษาผู้ป่วย

ร่วมกัน‘สร้าง’โอกาสมองเห็น

หากโรงพยาบาลจักษุบ้านแพ้วเกิดขึ้นได้เมื่อ ใดจะเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตาแห่งแรกที่สร้างขึ้นจากพลังของภาคประชาชน และจัดหาเครื่องมือแพทย์สำหรับรักษาผู้ป่วยให้ เข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

โรงพยาบาลบ้านแพ้วในฐานะที่มีทีมผ่าตัดตา ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศได้ไปช่วยเหลือผู้ป่วยกว่า 100,000 คนในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน ให้พ้นจากภาวะตาบอด นายแพทย์พรเทพ พงศ์ทวิกร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) กล่าวว่า จากสถิติของกรมการแพทย์ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยที่ต้องเผชิญกับปัญหาโรคตาอยู่จำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 70 มีภาวะสายตาเลือนราง โดยสาเหตุหลักมาจากภาวะต้อกระจก ซึ่งเป็นโรคตาที่พบมากในผู้สูงอายุ หรือแม้แต่ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา

อาการทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย รวมถึงการใช้ชีวิตในปัจจุบันที่ช่วยเร่งให้คนไทยมีปัญหาสุขภาพตาได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตชนบท หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเสี่ยงต่อภาวะตาบอดได้

ร่วมกัน‘สร้าง’โอกาสมองเห็น 400ล้าน‘สร้าง’ร.พ.จักษุบ้านแพ้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

นอกเหนือจากการเป็นโรงพยาบาลที่มีความสามารถในการให้การรักษาโรคเฉพาะทางที่หลากหลาย เช่น โรคหัวใจ ระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ โรคตา ฯลฯ ในปี 2553 โรงพยาบาลจึงพัฒนาศักยภาพการบริการทางจักษุอย่างครบวงจร ผ่านการจัดตั้งศูนย์จักษุและต้อกระจก

และด้วยความไว้วางใจ รวมถึงเป็นความหวังของผู้ป่วยซับซ้อนทางตา ทำให้ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้านตาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 500 คนต่อวัน แม้จะมีจักษุแพทย์เฉพาะทาง 14 คน แต่ด้วยมีห้องตรวจเพียง 7 ห้อง และห้องผ่าตัดเพียง 2 ห้อง จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างเต็มศักยภาพ

ด้วยความมุ่งมั่นของทีมแพทย์ ประกอบกับความเชื่อว่าปัญหาโรคตาชะลอได้และรักษาได้ เมื่อปี 2548 โรงพยาบาลบ้านแพ้ว ในฐานะทีมผ่าตัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ จึงได้ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เริ่มโครงการออกหน่วยผ่าตัดต้อกระจกเคลื่อนที่ เดินทางไปให้การรักษาผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ และขยายความช่วยเหลือไปยังประเทศใกล้เคียง ได้แก่ กัมพูชา ภูฏาน และเมียนมา สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้กว่า 100,000 คน ในระยะเวลา 14 ปีมานี้

ร่วมกัน‘สร้าง’โอกาสมองเห็น 400ล้าน‘สร้าง’ร.พ.จักษุบ้านแพ้ว

จำลองการใช้ชีวิตในโลกที่มองไม่เห็น

ยิ่งเมื่อบางโรคหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจทำให้สูญเสียดวงตาได้

กรณีคนไข้ที่ได้รับโอกาสจากโรงพยาบาล บ้านแพ้วมาแล้ว ได้แก่ วันศิริ สีดา ผู้ป่วยโรคกระจกตาติดเชื้อ ประกอบอาชีพขายก๋วยเตี๋ยว อยู่ที่ตำบลนาดี จังหวัดสมุทรสาคร มีแพทย์ที่ให้การรักษาคือ พญ.พรรณสมร ชำนาญกิจ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระจกตา และแพทย์ประจำศูนย์จักษุและต้อกระจก โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)

ร่วมกัน‘สร้าง’โอกาสมองเห็น 400ล้าน‘สร้าง’ร.พ.จักษุบ้านแพ้ว

คุณวันศิริ สีดา

วันศิริมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดตา ตามัวข้างขวาหลังจากใส่คอนแท็กต์เลนส์ เป็นมา 2 สัปดาห์ ไปตรวจที่คลินิกไม่ดีขึ้น แพทย์ตรวจพบว่ามีหนองในตา กระจกตาขุ่นขาวจากการติดเชื้อทั้งกระจกตา ตามืดมัวมาก เห็นแค่มือโบก หลังจากตัดเนื้อกระจกตาไปตรวจพบว่า มีเชื้ออะมีบาอยู่เต็มกระจกตา ต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาโดยใช้กระจกตาจากสภากาชาดไทย

หลังเปลี่ยนกระจกตากลับพบว่า มีต้อกระจกแทรกซ้อน ทำให้ยังมีอาการตามัวมาก และมีอาการอักเสบต้องหยอดยาต่อ ต่อมาเข้าผ่าตัดต้อกระจก จนค่อยๆ มองเห็นได้ชัดขึ้น และกลับมาทำงานได้ตามปกติ

คนไข้อีกเคสคือ จิรารัตน์ ใจเพียน อายุ 15 ปี ผู้ป่วยโรคจอประสาทตา 2 ข้าง ชนิดจอประสาทหลุดลอก (Retinal Detachment) จากจังหวัดร้อยเอ็ด แพทย์ที่รักษาคือ นพ.พรเทพ พงศ์ทวิกร ผอ.ของโรงพยาบาลเอง และจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจอประสาทตา

ร่วมกัน‘สร้าง’โอกาสมองเห็น 400ล้าน‘สร้าง’ร.พ.จักษุบ้านแพ้ว

นางสาวจิรารัตน์ ใจเพียน

จิรารัตน์เข้ารับการรักษาที่ศูนย์จักษุและ ต้อกระจก โรงพยาบาลบ้านแพ้ว ครั้งแรกในปี 2553 ด้วยอาการตามัว 2 ข้าง มองเห็นได้แค่ระยะใกล้ๆ ผลการตรวจโดยกล้องจุลทรรศน์และเครื่องถ่ายรูปจอประสาทตาวินิจฉัยพบว่า ผู้ป่วยมีปัญหาที่จอประสาทตา ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาจอประสาทตาหลุดลอก อีกทั้งยังมีความผิดปกติเกี่ยวกับกระจกตา หลังจากนั้นจิรารัตน์ได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด และรักษาตัวต่อเนื่องตามสิทธิ์ที่นั่น

ปี 2559 จิรารัตน์กลับมาพบแพทย์ ณ ศูนย์จักษุและต้อกระจก โรงพยาบาลบ้านแพ้วอีกครั้ง หลังจากผ่าตัดจอประสาทตาไปแล้วทั้ง 2 ข้างที่จังหวัดร้อยเอ็ด แต่อาการไม่ดีขึ้น และตาข้างซ้ายไม่อาจรักษาให้ดีกว่านี้ได้อีกแล้ว เรียกได้ว่าแทบจะมองไม่เห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่เบื้องหน้าได้ เห็นเพียงแค่แสงเท่านั้น แพทย์ของโรงพยาบาลบ้านแพ้วจึงตัดสินใจผ่าตัดเพื่อรักษาจอประสาทตาข้างขวาอีก ครั้ง แต่ผลการผ่าตัดไม่เป็นไปดังที่คาด จักษุแพทย์กับผู้ป่วยยังไม่ยอมละทิ้งความหวัง จึงผ่าตัดซ้ำอีก

ร่วมกัน‘สร้าง’โอกาสมองเห็น 400ล้าน‘สร้าง’ร.พ.จักษุบ้านแพ้ว

บรรยากาศการพูดคุยบนเวที

ผลการผ่าตัดครั้งหลังนี้เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก จากเดิมที่มองเห็นแค่แสง จิรารัตน์มองเห็นหน้าคนที่ระยะ 6 เมตรได้ ส่วนข้างซ้ายหมดทางรักษาแล้ว เพียงเท่านี้จิรารัตน์ก็รู้ว่าสึกซาบซึ้งใจและไม่รู้จะมีคำพูดอะไรที่จะ บรรยายความรู้สึกอันนี้ได้ดีไปมากกว่าคำว่า เพราะจักษุแพทย์ท่านนี้ได้ให้ชีวิตใหม่กับเธอ

ร่วมกัน‘สร้าง’โอกาสมองเห็น 400ล้าน‘สร้าง’ร.พ.จักษุบ้านแพ้ว

ภาพหมู่ผู้ร่วมเสวนาบนเวที

ด้วยความมุ่งมั่นช่วยผู้ป่วยลักษณะนี้ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว โดยมูลนิธิโรงพยาบาลบ้านแพ้วและภาคประชาชน จึงร่วมกันจัดสร้าง “โรงพยาบาลจักษุบ้านแพ้ว” โรงพยาบาลเฉพาะทางตาแห่งแรกที่สร้างขึ้นจากพลังของภาคประชาชน ตั้งแต่ปี 2558 เพื่อรองรับผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการจำนวนมาก รวมถึงผู้ป่วยโรคตาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญทางจักษุโดยเฉพาะ ตลอดจนเครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัยและครบวงจร สำหรับห้องตรวจ ห้องผ่าตัด ศูนย์เลเซอร์ และศูนย์วิจัยเพื่อช่วยเหลือคนตาบอด

ร่วมกัน ‘สร้าง’ โอกาสมองเห็น 400 ล้าน ‘สร้าง’ ร.พ. จักษุบ้านแพ้ว

ดำเนินการก่อสร้าง

สถานที่แห่งใหม่นี้จะเป็นอาคารสูง 9 ชั้น มีห้องตรวจ 23 ห้อง ห้องผ่าตัด 9 ห้อง ศูนย์เลเซอร์ และศูนย์เครื่องมือพิเศษทางตาที่ทันสมัย ห้องจัดประชุมวิชาการ และศูนย์วิจัยเพื่อช่วยเหลือคนตาบอด ซึ่งเป็นความร่วมมือกับมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรม ราชินูปถัมภ์

ร่วมกัน‘สร้าง’โอกาสมองเห็น 400ล้าน‘สร้าง’ร.พ.จักษุบ้านแพ้ว

การก่อสร้างเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2558 ประเมินแล้วว่าต้องใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งหมด 400 ล้านบาท

โรงพยาบาลบ้านแพ้วให้บริการผู้ป่วยได้ไม่ ต่ำกว่าวันละ 600 ราย เพิ่มโอกาสให้กับผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ช่วยแก้ไขและชะลอไม่ให้เกิดภาวะตาบอดได้ทันท่วงที พื้นที่การให้บริการออกแบบไว้ ดังนี้

ชั้นที่ 1 โถงต้อนรับ แผนกสปา ร้านค้า ส่วนชั้นที่ 2 ร้านค้า

ชั้นที่ 3 ถึง ชั้นที่ 6 เป็นแผนกผู้ป่วยนอก และชั้นที่ 7 เป็นห้องพักผู้ป่วยสามัญชาย-หญิง ห้องพักผู้ป่วยพิเศษ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระราชินูปถัมภ์

ชั้นที่ 8 เป็นห้องผ่าตัด 9 ห้อง และชั้นที่ 9 ห้องประชุมวิชาการและสำนักงาน

โรงพยาบาลจักษุบ้านแพ้วเป็นหนึ่งโรงพยาบาล รัฐบาลที่เปลี่ยนการบริหารจัดการเป็นรูปแบบองค์การมหาชน เพื่อความคล่องตัวในการให้บริการประชาชนได้เข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพตาม มาตรฐานอย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยมิได้พึ่งพางบประมาณจากภาครัฐ ขณะนี้ได้รับเงินสนับสนุนการก่อสร้างอาคารจากประชาชนแล้วจำนวน 280 ล้านบาทซึ่งยังไม่เพียงพอ

ร่วมกัน‘สร้าง’โอกาสมองเห็น 400ล้าน‘สร้าง’ร.พ.จักษุบ้านแพ้ว

โรงพยาบาลจึงจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนจาก ประชาชนคนไทยทั่วประเทศ รวมถึงองค์กรต่างๆ อีกประมาณ 120 ล้านบาท เพื่อให้โรงพยาบาลจักษุบ้านแพ้วเปิดให้บริการได้ภายในปี 2562 จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมสมทบทุนได้ภายใต้โครงการ “ทำดีให้คนมองเห็น” ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 31 ธันวาคม 2562

ผู้ที่สนใจสมทบทุนเพื่อสร้างโรงพยาบาลจักษุบ้านแพ้ว ผ่านโครงการ “ทำดีให้คนมองเห็น” ผ่านช่องทางต่อไปนี้

บริจาคครั้งละ 100 บาท ผ่านมือถือทุกเครือข่าย พิมพ์ *948*888*100# กดโทร.ออก วิธีนี้ไม่สามารถออกใบเสร็จได้

บริจาคผ่านบัญชี ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาบ้านแพ้ว ชื่อบัญชีโรงพยาบาลบ้านแพ้ว กองทุนเพื่อสร้างโรงพยาบาลจักษุบ้านแพ้ว เลขที่บัญชี 745-0-33317-1 ใบเสร็จสามารถลดหย่อนภาษี 2 เท่า

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อศูนย์จักษุและต้อกระจก โทรศัพท์ 0-3441-9536

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน