(พื่นที่โฆษณา)

ประเด็นร้อนทางสังคมในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้นการจับตามองเรื่องการพัฒนาโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาดกระบี่ ซึ่งมีทั้งผู้ที่ออกมาต่อต้านและสนับสนุน รวมทั้งวิเคราะห์และแสดงทรรศนะกันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐบาล กลุ่มนักวิชาการ หรือแม้แต่องค์กรอิสระก็ตาม พอมาถึงจุดที่เรื่องราวดำเนินมาอย่างเข้มข้น ลองมองย้อนกลับไป ว่าเราลืมใครหรือเปล่า เสียงของชาวบ้านเสียงชุมชนเสียงคนในพื้นที่ เราฟังพวกเขาแล้วหรือยัง ?

โรงไฟฟ้ากระบี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ของชาวบ้านในพื้นที่ โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ในตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ เริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2507 โดยใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง มีกำลังการผลิตรวม 60 เมกะวัตต์ ปัจจุบันได้หมดอายุและปลดออกจากระบบไป เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2538 แต่ความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ตอนล่าง มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คณะรัฐมนตรี จึงมีอนุมัติ ให้ กฟผ. สร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ขนาด 315 เมกะวัตต์ ทดแทนโรงไฟฟ้าเดิม เดินเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2547 โดยใช้น้ำมันเตาและน้ำมันปาล์มดิบเป็นเชื้อเพลิง

แต่ปัจจุบันภาคใต้ของไทยมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 2,713 เมกะวัตต์ แต่มีกำลังการผลิตในพื้นที่ 3,089.5 เมกะวัตต์ และจากจำนวนนี้เป็นโรงไฟฟ้าหลักที่เดินเคลื่อนได้ตลอด 24 ชั่วโมงเพียง 2,406 เมกะวัตต์ ทำให้จำเป็นต้องส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปเสริมประมาณวันละ 200 600 เมกะวัตต์ การมีโรงไฟฟ้าหลักในภาคใต้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อมจะช่วยสร้างความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้าในพื้นที่

ในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กล่าวถึงสิทธิชุมชนมีใจความสำคัญว่า “…ชุมชนย่อมมีสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนประกอบก่อนมีการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดๆ…” วันนี้ เราลองมาฟังเสียงชาวบ้านในพื้นที่กันบ้าง ว่าเขาคิดอย่างไรต่อการพัฒนาโรงไฟฟ้ากระบี่ในปัจจุบัน

การมีโรงไฟฟ้าไม่เชื่อเรื่องน่ากลัว สิ่งที่น่ากลัวคือการไม่มีไฟฟ้าใช้ แล้วส่งผลให้ประเทศไทยไม่ได้รับการพัฒนาทางด้านการศึกษาและเศรษฐกิจ

เสียงสะท้อนจากคณะครูโรงเรียนบ้านเกาะไทร จังหวัดกระบี่

เราอยู่กับโรงไฟฟ้ามาหลายปีแล้ว อยู่มาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายไม่เคยพบปัญหาใดเกิดขึ้น ในทางกลับกันพลังงานไฟฟ้าถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การป้องกันที่ดีจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผมสนับสนุนให้มีการสร้างโรงไฟฟ้า เพราะความต้องการใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันมีเพิ่มมากขึ้น

นายนิพัทธ์ บุญลอย ชาวบ้านหมู่ที่ 8 บ้านคลองเสียด ตำบลปกาสัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

บ้านอยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้าห่างไปประมาณ 2 กิโลเมตรอยากสนับสนุนให้สร้างโรงไฟฟ้าให้มีไฟฟ้าใช้ต่อไปในอนาคตเพื่อนบ้านบริเวณใกล้เคียงก็มาร่วมสนับสนุนกันหลายคน

นายสมพร เฉิดโฉม ชาวบ้านหมู่ที่ 2 ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน