ดีเอสไอ ปลดล็อกระหว่างหน่วยงาน สร้าง นักสืบไซเบอร์ ในนาม “ทีมไทยเเลนด์” ปรามปรามค้ามนุษย์ออนไลน์ในเด็กหญิง

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ร่วมกับ มูลนิธิพิทักษ์สตรี AAT เเละองค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศ OUR จัดให้มีหลักสูตร ‘ปกป้องเด็กหญิงจากการถูกแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศในรูปแบบออนไลน์’ ที่โรงเเรมเเคนทารี่ ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 29-31 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้เเก่ เเม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน เเพร่ น่าน และพะเยา

ซึ่งผู้เข้าอบรมเป็นตำรวจสายงานสืบสวน เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมเเละความมั่นคงของมนุษย์ เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กเเละครอบครัว เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากองค์กรเอกชน เนื้อหาของหลักสูตรมีความเป็นสากล ทั้งภาคทฤษฎี เเละภาคปฏิบัติจากสถานการณ์จริง ซึ่งประกอบไปด้วย กฎหมายค้ามนุษย์ ประเภทสื่อลามกอนาจาร เทคนิคการเเฝงตัว การสืบสวน การสอบสวน การเก็บรวมรวมพยานหลักฐานในโลกไซเบอร์ รวมไปถึงการคุ้มครองเด็กที่ตกเป็นเหยื่อทางร่างกาย เเละการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางด้านจิตใจ โดยวิทยากรจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมสุขภาพจิต เเละวิทยากรจากต่างประเทศ อย่าง OUR

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

นายยัวเกนท์ โทมัส ผู้อำนวยการมูลนิธิพิทักษ์สตรี กล่าวว่า ปัจจุบันการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กและผู้หญิงเกิดขึ้นในโลกไซเบอร์ โดยช่องทางโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก ทำให้ยากต่อการช่วยเหลือเด็กเเละสตรีที่ตกเป็นเหยื่อ ในภาคเอกชนยินดีที่จะให้การช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐทั้งด้านงบแระมาณ เเละอุปกรณ์ที่จะช่วยให้การสืบสวนสอบสวน เพื่อให้สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ

นายยัวเกนท์ กล่าวต่อว่า เเละที่สำคัญคือการช่วยเหลือเยียวยาเหยื่อ ลบบาดเเผลทางจิตใจ ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนปกติได้ ส่วนของการบูรณาการร่วมกันทุกหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อเป็น ‘ทีมไทยเเลนด์’ นั้น ร.ต.อ.เขมชาติ ประกายหงษ์มณี รองผู้อำนวยการกองกิจการต่างประเทศ และคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ ดีเอสไอ

นายยัวเกนท์ กล่าวอีกว่า การทำงานด้านป้องกันปราบปราม เรื่อง การแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก โดยใช้สื่อออนไลน์ มีความจำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญของบุคลากรหลายองค์กร มาร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ตั้งแต่ชั้นเริ่มคดี จนสิ้นสุดกระบวนการ การจับกุมผู้ต้องหา และดำเนินคดีจนต้องโทษจำคุก อาจไม่ใช่การตอบโจทย์ในการทำงานด้านนี้ แต่ความต่อเนื่อง ส่งต่อกันโดยไม่ขาดช่วง ตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละองค์กร

“ตั้งแต่เริ่มในชั้นการสืบสวน พนักงานสอบสวน จนสามารถบำบัดเยียวยาเหยื่อที่ถูกกระทำ ให้เหยื่อกลับสู่สังคมได้ ไม่ถูกละเมิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า รักษาแผลในใจของเหยื่อ น่าจะเป็นคำตอบจากการทำงานของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมากกว่า ผู้เข้าอบรมจากหลายหน่วยงาน จะปลดล็อกเป็น ‘ทีมไทยเเลนด์’ ได้รับความรู้ในทุกแขนง เเลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของกันเเละกัน สามารถนำไปปฏิบัติงานเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านออนไลน์ได้จริง ถือเป็นโครงการที่พัฒนาศักยภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ได้ครบทุกรูปแบบ” นายยัวเกนท์ กล่าว

ส่วนหลักสูตรสืบสวนสอบสวนออนไลน์ หรือ หลักสูตรปกป้องเด็กหญิงจากการถูกแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศในรูปแบบออนไลน์ จัดขึ้นมาเเล้ว 3 ครั้ง ครอบคลุมเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ 76 จังหวัด จะจัดขึ้นอีกครั้งให้กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ภาคใต้ ที่จ.สุราษฎร์ธานี ในวันที่ 9-11 ก.ค.นี้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน