‘ดีเอสไอ’ โชว์ผลงาน16ปี ป้องผลประโยชน์รัฐ 6 แสนล้าน ลั่นปีที่ 17 ลุยปราบทุจริต

‘ดีเอสไอ’ / เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พร้อมคณะผู้บริหารและข้าราชการดีเอสไอ ร่วมกันปฏิญาณตน “ข้าราชการ ดีเอสไอไร้ทุจริต”

พร้อมแสดงสัญลักษณ์ต่อต้านการทุจริต เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมสอบสวนคดีพิเศษ ปีที่ 17

พ.ต.อ.ไพสิฐ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 16 ปี ที่ผ่านมา ดีเอสไอเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ทั้งด้านการบริหารราชการ การปฏิรูปและปรับปรุงกฎหมาย การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ และระบบวิธีการปฏิบัติงาน ภายใต้บริบทแวดล้อมทางด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

 

สะท้อนให้เห็นว่า ดีเอสไอเป็นองค์การที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทุกด้าน ในภารกิจด้านสอบสวน ดีเอสไอดำเนินคดีพิเศษไปแล้วถึง 2,654 คดี สอบสวนเสร็จแล้ว 2,497 คดี อยู่ระหว่างการสอบสวน 157 คดี

นอกจากนั้นยังมีเรื่องที่รับไว้สืบสวนก่อนรับเป็นคดีพิเศษ ถึง 3,053 เรื่อง ดำเนินการเสร็จแล้ว 2,918 เรื่อง และอยู่ระหว่างดำเนินการ 135 เรื่อง และยังคงเดินหน้า ทำคดีสำคัญต่างๆในทุกกลุ่มคดี เพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ เฉพาะในปีนี้ สามารถรักษาผลประโยชน์ให้รัฐกว่า 50,000 ล้านบาท

‘ดีเอสไอ’ 

คดีล่าสุด ศาลมีคำสั่งให้ เพิกถอนพื้นที่ที่นายทุนบุกรุกในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ จ.ภูเก็ต จำนวน 93 ไร่ ได้เงินคืนรัฐประมาณ 800 ล้านบาท

 

พ.ต.อ.ไพสิฐ กล่าวอีกว่า ดีเอสไอแบ่งประเภทของอาชญากรรมที่รับไว้ดำเนินการเป็น 4 กลุ่มคดี ดังนี้ 1.ด้านอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ได้แก่ อาชญากรรมด้านการเงิน การธนาคาร การภาษีอากร การฟอกเงิน การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ การคลัง กลุ่มนี้มีการดำเนินคดีไปแล้วทั้งสิ้น 803 คดี

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่เพิ่มเพื่อน

2.ด้านอาชญากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ อาชญากรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กลุ่มนี้มีการดำเนินคดีไปแล้วทั้งสิ้น 528 คดี
3.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ อาชญากรรมที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภค สิ่งแวดล้อม และเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กลุ่มนี้มีการดำเนินคดีไปแล้วทั้งสิ้น 373 คดี และ 4.ด้านอาชญากรรมระหว่างประเทศและอาชญากรรมพิเศษ ได้แก่ อาชญากรรมที่เป็นความผิดข้ามชาติ องค์กรอาชญากรรม การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

‘ดีเอสไอ’ 

การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ การค้ามนุษย์ อาชญากรรมที่กระทบต่อความมั่นคงประเทศ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และอาชญากรรมพิเศษอื่นๆ กลุ่มนี้มีการดำเนินคดีไปแล้วทั้งสิ้น 950 คดี

สำหรับคดีพิเศษที่ดำเนินการแล้วเสร็จนั้น เมื่อนำมาคำนวณมูลค่าความเสียหาย ผลประโยชน์ที่ปกป้อง รักษา เรียกคืนให้แก่รัฐ เอกชน และประชาชนแล้ว มีมูลค่าถึง 599,425,112,300.49 ล้านบาท ในขณะที่ แต่ละปี กรมสอบสวนคดีพิเศษใช้งบประมาณเฉลี่ยปีละ 1,000 ล้านบาทเศษ เท่านั้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน