บรรยากาศความน่าลงทุน เป็นสิ่งที่ประเทศต่าง ๆ พยายามสร้างเพื่อให้ประเทศนั้น ๆ สามารถดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ เข้ามาทำธุรกิจได้ กฎระเบียบต่าง ๆ จึงถูกลด ละ เลิก เพื่อหวังว่าการลงทุนจะย้ายจากประเทศหนึ่งมายังอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งทุกประเทศเห็นกำลังของภาคเอกชน ในการนำความสามารถมาช่วยภาครัฐทำโครงการสำคัญ ๆ ของประเทศ แต่ดูเหมือนประเทศไทยจะอยู่ในอาการเกร็ง เพราะไม่มีใครกล้าใช้อำนาจในการผลักดันโครงการขนาดใหญ่ให้ทะลุท่อ ต่างจาก PPP ในประเทศอื่น ๆ ล่าสุด นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ออกมาประกาศชัดรื้อการเจรจาทั้งหมด กลับไปเริ่มต้นนับ 1ใหม่ อ้าง RFP พร้อมขู่แบล็คลิสต์เอกชน และยึดเงินประกัน สร้างเอกลักษณ์ให้ PPP ไทย ต่างจากต่างประเทศอย่างไร ลองไปดูกัน

สิงคโปร์ เน้นการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในรูปแบบ PPP มานานแล้ว โดยมี Public Private Partnership Handbook Version 2 (2012) ที่ให้ความสำคัญกับการยืดหยุ่นทางกฎหมายและข้อเสนอ ทำให้เอกชนได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อดึงดูดการลงทุน แข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ที่แย่งเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศ รวมถึงข้อเสนอพิเศษที่เปิดโอกาสให้เอกชนในการเข้ามาลงทุน และการนำความรู้และความสามารถในการแข่งขันของเอกชนในประเทศสิงคโปร์ รวมทั้งการบริหารจัดการการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ มาใช้กับโครงการภาครัฐ โดยกระทรวงการคลัง (MOF) ได้ตั้ง PPP Advisory ให้เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ PPP กำหนดกรอบนโยบายในการดำเนินโครงการต่าง ๆ และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการนั้น ๆ

ทั้งนี้ GPE6 ของหน่วยงานเจ้าของโครงการจะทำงานร่วมกับ PPP Advisory ในการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนด และ GPE จะสามารถดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ได้ อนุมัติเงื่อนไขต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ โดยไม่จำเป็นต้องขออนุมัติจากรัฐบาลสิงคโปร์ก่อน ตัวอย่างโครงการ PPP ได้แก่ โครงการ Singapore Sports Hub สนามกีฬาแห่งชาติของสิงคโปร์และพื้นที่โดยรอบ รวม 350,000 ตารางเมตร งบประมาณการก่อสร้างประมาณ 1.3 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 1.03 พันล้านเหรียญสหรัฐ) สัญญาระยะเวลา 25 ปี

อินโดนีเซีย เน้นการดึงดูดการลงทุนในระดับภูมิภาคเช่นเดียวกัน โดยมีกฎระเบียบ PPP โดยเฉพาะ สำหรับให้สิทธิประโยชน์ ผ่อนปรนระเบียบ คือ Presidential Regulations No.13 (2010), No. 56 (2011) และ No.66 (2013) เป็นระเบียบที่ออกมาปรับปรุง Presidential Regulations No.67 (2005) มีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคือ กระทรวงการวางแผนพัฒนาแห่งชาติ โครงการที่ผ่านการพิจารณาและเริ่มกระบวนการจัดจ้างแล้ว 42 โครงการ โดยอินโดนีเซียมีโครงการ PPP ที่อยู่ระหว่างการพิจารณา 27 โครงการ มูลค่าประมาณ 47,337.98 ล้านเหรียญสหรัฐ

มาเลเซีย ประกาศมุ่งเน้น PPP เช่นเดียวกัน แนวทางการดำเนินโครงการ คือ PPP Guideline (2009) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประโยชน์สูงสุดกับเอกชนที่มาลงทุนในมาเลเซีย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐาน ตัวอย่างโครงการ PPP เช่น โครงการ West Coast Expressway (WCE) เป็นทางด่วนที่เชื่อมต่อเมือง Banting รัฐ Selangor กับเมือง Taiping รัฐ Perak ระยะทางรวม 273 ก.ม. มูลค่าประมาณ 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี โดยมี Kumpulan Europlus Bhd เป็นผู้ได้รับสัญญาระยะเวลารวม 60 ปี (สัญญา 50 ปีและขยายได้ 10 ปี) ซึ่งดึงเอกชนจากต่างประเทศมาลงทุน

ลาว ยังไม่มีกฎระเบียบ PPP โดยเฉพาะ แต่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ Investment Promotion Law (2009) ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาว่าทำอย่างไรให้รัฐได้ประโยชน์สูงสุด

เมียนมา ยังไม่มีกฎระเบียบ PPP โดยเฉพาะ แต่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ Foreign Investment Law (2012) ตัวอย่างโครงการ PPP ได้แก่ โครงการสร้างท่าอากาศยานนานาชาติหงสาวดี ซึ่งเป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 3

ฟิลิปปินส์ มีกฎระเบียบ PPP โดยเฉพาะ คือ Republic Act No.7718 (1994) และ Implementing Rules & Regulations (IRR) (2012) มีหลักการที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และกำลังปรับปรุงเพื่อให้ประโยชน์ต่อภาคเอกชนเพียงพอที่จะดึงการลงทุนจากต่างประเทศ

ประเทศไทยเองก็กำลังลุ้นกับการประมูลรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ในรูปแบบ PPP ที่กำลังรอลุ้นการเจรจาโค้งสุดท้าย แต่หากไทยยังติดกับคำว่า รัฐต้องได้ประโยชน์สูงสุด แทนที่จะเป็นการเสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุดในภูมิภาค เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เห็นทีจะยากที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ล่าสุด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน