ทนายเทวดา ชำแหละพยานคดี “บอส อยู่วิทยา” กลับคำให้การความเร็ว ตามกระแสสังคมแค่ “พยานบอกเล่า” แนะควรดูข้อเท็จจริงในคดีให้รอบด้าน

วันนี้ (15 ส.ค.) ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม ทนายความชื่อดัง ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับคดีของนายวรยุทธหรือ”บอส”อยู่วิทยา ในประเด็นที่สังคมถกเถียงกันอยู่ว่า พยานผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความเห็นต่อสื่อนั้นเกี่ยวข้องกับคดีอย่างไร พยานที่เกี่ยวกับคดีนั้นหมายถึงพยานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน ชึ่งศาลฎีกาได้ให้แนวทางไว้ตามหลักฏหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 95 บัญญติว่า

ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่พยานประเภทแรก คือ เป็นผู้ที่ได้เห็นได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงหรือที่เรียกกันว่า ประจักษ์ พยาน ศาลฎีกาที่ 12498/2558

หากพยานผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ให้การจากองค์ความรู้ของตนเอง หรือไม่ใช่องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับ..ต้องถือว่า พยานผู้เชี่ยวชาญนั้น ไม่น่าเชื่อถือ.. เป็นพยานบอกเล่าที่ไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่า สิ่งที่เขาพูดนั้น เป็นความรู้จริง

ผมขอยกคดีตัวอย่างให้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้ได้ปรากฏไว้เป็นบรรทัดฐาน ในคดี”ผู้พันตึ๊ง” ที่สถาบันนิติเวชโรงพยาบาลตำรวจ กับสถานบันนิติวิทยาศาลสตร์กระทาวงยุติธรรมชึ่งมีคุณหญิงพรทิพย์ฯ เป็นผู้อำนวยการ ต่างวินิจฉัยผลเลือดและความเห็นต่างกัน แต่ศาลไม่เชื่อคุณหมอพรทิพย์ฯ เนื่องจากเป็นแพทย์ทาง “พยาธิ” ความเห็นของคุณหมอพรทิพย์จึงไม่ความน่าเชื่อถือในคดีนั้น

คดีนาย”บอส” ก็เช่นกัน พนักงานสอบสวนก็ดี พยานผู้เชียวชาญตรวจสอบความเร็วก็ดี ไม่ได้เป็นอยู่ในเหตุการณ์ ขณะเกิดเหตุ พยานผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นเพียงพยานที่ให้ความเห็นไปตามหลักวิชาการของตน ซึ่งปกติศาลก็รับฟัง “แต่มิใช่ว่าจะต้องเชื่อพยานผู้เชี่ยวชาญเสมอไป” ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2534 ปัญหาที่ถกเถียงกันอย่างไม่รู้จบคือ การตรวจสอบความเร็วของรถยนต์นายวรยุทธหรือบอส อยู่วิทยา

ตามข่าว มี พ.ต.อ.ธนสิทธิ แตงจั่น ลงพื้นที่เกิดเหตุพร้อมกับ ดร. สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มาเป็นที่ปรึกษาให้ “กองพิสูจน์หลักฐาน” และกำลังเตรียมมาเป็นพยานหลักฐานใหม่ในคดีบอส อยู่วิทยา นั้น

การที่ ดร.สธน เคยให้ความเห็นว่า “นายบอส” ขับรถด้วยความเร็สูง177กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยไม่ได้ตรวจสอบความเสียหายของรถทั้งสองคันในคดี และไม่เคยคำนวณความเร็วรถจักรยานยนต์มาก่อน จนเป็นที่มาของรายงานการคำนวณความเร็วของ พตอ.ธนสิทธิ ในสำนวนที่อัยการเคยหยิบนำมาเป็นเหตุในการสั่งฟ้อง บอส อยู่วิทยา

ขัดแย้งกับ ความเห็นของ ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม หัวหน้าศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ชึ่งถือเป็นผู้เชี่ยวชาญทางนิติวิทยาศาสตร์ ท่านหนึ่งที่เคยร่วมพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดี “เสี่ยชูวงค์” แย้งความเห็นของกองพิสูจน์หลักฐาน

ว่าเป็นการจัดฉากฆาตกรรม ไม่ใช่อุบัติเหตุตามที่กองพิสูจน์หลักฐาน ให้ความเห็นไว้แต่แรก ซึ่งครั้งนั้นสังคมให้การยอมรับอย่างมาก ส่วนกรณีที่ ดร.สายประสิทธิ์ให้การคำนวณความเร็วได้76 กิโลเมตร/ชั่วโมง เขามีการทำรายงานอย่างละเอียด

ทั้งหน้ากล้องและหลังกล้องมันน่าเชื่อถือที่ควรให้น้ำหนักในการรับฟังมากกว่า ต่างกับ “พยานบอกเล่า” ที่ใช้แค่ความเข้าใจของตัวเอง” ว่าน่าจะเกิดจากความเร็วของ” กับกระแสสังคมมาชี้นำ ดังนั้นพอเราย้อนมาดูนักวิชาการท่านอื่นเขาไม่ได้จบมาทางนี้โดยตรงการแค่คำนวณหน้ากล้องวงจรปิดจะเชื่อถือได้หรือไม่ เราต้องมาดูที่เกิดเหตุต้องดูรอยชนเอามาประกอบอาชญาวิทยา

ส่วนประจักษ์พยานอื่น ที่ได้ทำการตรวจสภาพความเสียหายของรถ ทําให้ทราบลักษณะทิศทางการชนของรถ ความแรงของการชน สีของรถคันที่ชนติดอยู่ ระดับความสูงต่ำหรือตําแหน่งที่ชนกัน ร่องรอยความเสียหายของรถแต่ละคันที่ชนกัน ซึ่งสามารถบอกทิศ

ทางการชนกันของรถที่เกิดเหตุหลังกล้องวงจรปิด ที่สามารถนำมาเป็นหลักฐานประกอบในการคำนวณหาความเร็วรถเฟอร์รารี่ของนายวรยุทธ หรือ”บอส” ว่ามีความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชมเป็นพยานหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้จากวัตุพยาน ในสำนวนที่ควรหยิบขึ้นมาประกอบการพิจารณาเช่นกัน

การที่พนักงานอัยการมีคำสั่งให้สอบ พตอ.ธนสิทธิ เป็นพยาน เพราะสำนวนมีข้อสงสัยที่ยังไม่สิ้นกระแสความเกี่ยวกับความเร็ว โดยให้คำนวณความเร็วโดยคำนึงถึงความเสียหายของรถทั้งสองคัน หลังการชน ซึ่ง พ.ต.อ.ธนสิทธิ ให้การหลังการคำนวณด้วยวิธีใหม่ ได้ความเร็ว 79 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ล่าสุด พตอ. ธนสิทธิ แตงจั่น

ชี้แจงต่อคณะกรรมการธิการฝ่ายกฏหมายมีนายสิระ เจนจาคะ เป็นประธานกรรมธิการ ว่า ความเร็วของรถที่นายวรยุทธหรือ”บอส “อยู่วิทยาขับขี่นั้นแท้จริงความเร็ว 177กิโลเมตรต่อชั่วโมง สาเหตุที่ให้การครั้งที่สอง ว่าใช้ความเร็ว 79 กิโลเมตร ต่อชั่วโมงนั้น

อ้างว่าเพิ่งคิดได้ว่าวิธีการที่ใช้คำนวณแบบเดียวกับ ดร.สายประสิทธิฯนั้น เป็นวิธีการคำนวณที่ผิด “ถ้าผมเป็นทนายนะ เสร็จผม พยานกลับไปกลับมาพิสูจน์หลักฐานแค่นี้ถ้าขึ้นศาลผมซักแค่สองประโยค ก็จับโกหกได้แล้ว ” ดร.สุกิจฯ กล่าว

การที่พยานยังอ้างต่อไปอีกว่าจะขอให้การใหม่ ว่าความเร็วนั้น แท้จริง177กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่พนักงานสอบสวนได้ส่งสำนวนไปยังอัยการนั้น “ยิ่งไม่น่าเชื่อถือ หากข้องอ้างของ พตอ.ธนสิทธิ์ เป็นความจริง ก็น่าจะทำหนังสือถึงพนักงานอัยการเป็นหนังสือขอถอนคำให้การได้ ทำให้พยานปากนี้ไม่น่าเชื่อถือ

เป็นแค่พยานบอกเล่าให้การปรักปร่ำผู้ต้องหาไปตามกระแสสังคมเท่านั้น ส่วนพยานปาก ดร.สธนฯได้ร่วมกันตรวจที่เกิดเหตุพร้อมกับพตอธนะสิทธิเกี่ยวกับเรื่องความเร็วของรถนั้น จึงไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่ที่อัยการสูงสุด จะสั่งให้พนักงานสอบดำเนินคดีได้

ในส่วนของคดีบอส อยู่วิทยา นอกจากพยานผู้เชี่ยวชาญที่ยังมีความเห็นขัดแย้งกันในประเด็นการคำนวณความเร็ว ยังมีประจักษ์พยานหลักฐานอื่นที่ควรหยิบขึ้นมาพิจารณาประกอบ เช่น การขี่รถจักรยานยนต์เปลี่ยนเลนจากซ้ายสุดไปชนกับรถยนต์ที่ขับมาในช่องทางขวาสุด ความเสียหายของรถทั้งสองคัน เป็นต้น

“หากคุณขับรถมาดีๆอย่างวิญญูชนทั่วไป แล้วมีคนอื่นขับรถมาตัดหน้าคุณ ผมขอถามว่า คุณผิดเหรอ มันต้องดูรายละเอียดทุกอย่างมาประกอบไม่ใช่เอาความเข้าใจของตัวเองมาตัดสิน” ดร.สุกิจ ได้กล่าวทิ้งท้าย


 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน