วินมิตร โยสาละวิน อดีตผู้สื่อข่าว บีบีซี ประจำพม่า เขียนบทความวิเคราะห์ ถึงสาเหตุที่มหาอำนาจสหรัฐอเมริกา ไม่ใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงเมียนมา ทั้งที่เกิดสถานการณ์ความรุนแรงจากฝีมือรัฐอย่างชัดเจน เผยแพร่ในเพจเฟซบุ๊ก และอยากแบ่งปันข้อมูลความคิดเห็นนี้สู่ผู้อ่านข่าวสด

…………

สหรัฐอเมริกาตัดสินใจที่จะไม่แทรกแซงกองกำลังทางทหารกับประเทศพม่า เนื่องจากเหตุผล 4 ประการ ซึ่ง 2 แรกประการเกี่ยวกับความมั่นคงโดยตรงต่อสหรัฐอเมริกาและอีก 2 ประการเกี่ยวกับความอ่อนแอในระบอบประชาธิปไตยของประเทศพม่า

“เหยื่อกระสุน” เผยต้องซ่อนตัว

FILE PHOTO: FILE PHOTO: Protesters run during a crackdown on anti-coup protests at Hlaing Township in Yangon, Myanmar March 17, 2021. REUTERS/Stringer/File Photo/File Photo

ประการแรก

นโยบายหยุดยั้งการสร้างอาวุธนิวเคลียร์มีความสำคัญยิ่งต่อสหรัฐอเมริกา

ประเทศพม่ามีโอกาสที่จะสร้างอาวุธนิวเคลียร์ได้ง่ายกว่า เพราะมีเหมืองแร่ยูเรเนียมอย่างน้อย

สองที่นั่นก็คือรัฐกะฉิ่นและเขตมัณฑะเลย์ เป็นแร่ที่สำคัญต่อการผลิตนิวเคลียร์เพราะฉะนั้นประเทศพม่ามีโอกาสในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้ง่ายกว่าประเทศที่ไม่มีแร่ยูเรเนียม

แนวคิดการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ได้มีมาตั้งแต่สมัยของนายพลเนวินซึ่งเป็นผู้ยึดอำนาจครั้งแรกในปี 1962 และในสมัย นายพลตานฉ่วย ซึ่งเป็นผู้ยึดอำนาจในปี 1988 ได้มีการส่งทหารพม่าหลายร้อยคนไปฝึกอบรมเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในประเทศรัสเซีย ซึ่งกองทัพทหารพม่ามีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับจีน รัสเซีย และเกาหลีเหนือด้วย

สหรัฐอเมริกาจึงมีความกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับเรื่องนิวเคลียร์

 

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกานางฮิลลารี คลินตันได้เดินทางไปเยือน ประเทศพม่าก่อนการเลือกตั้งปี 2010 เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์กับผู้นำทหารพม่า สมัยนั้นตัวแทนการเจรจากองทัพทหารพม่าคือ นายจ่อซาน รัฐมนตรีว่าการประชาสัมพันธ์ ได้ตอบกับนางฮิลลารี คลินตัน ว่ามีการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับนิวเคลียร์จริงแต่เป็นการศึกษานิวเคลียร์เพื่อสันติ เช่นการผลิตกระแสไฟฟ้าและรังสีเอ็กซเรย์ ไม่ใช่เพื่อการผลิตอาวุธนิวเคลียร์

นางฮิลลารี คลินตันหลังจากได้พูดคุยกับผู้นำทหารพม่าเสร็จสิ้นแล้ว ก็ได้แถลงข่าวว่าได้พูดคุยกับตัวแทนกองทัพทหารพม่าสองประเด็นคือ เรื่องการผลิตอาวุธนิวเคลียร์และเกี่ยวกับการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยในประเทศพม่า

นางฮิลลารี คลินตันกล่าวว่า ถึงแม้ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์มีความสำคัญต่อสหรัฐอเมริกาก็จริงแต่ประชาธิปไตยนั้นมีความสำคัญต่อประชาชนในพม่ายิ่งกว่า ซึ่งนางฮิลลารี คลินตันได้เน้นย้ำในประเด็นนี้มากยิ่งกว่าปัญหาอาวุธนิวเคลียร์เสียอีก เพราะชาวพม่าให้ความสนใจต่อการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยมากว่าเรื่องนิวเคลียร์นั้นเอง

Asia Society

ก่อนที่นางฮิลลารี คลินตันจะไปเยือนประเทศพม่านั้นผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้นำหน้าไปพบปะหารือกับผู้นำทางทหารประเทศพม่าเกี่ยวกับปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ก่อนแล้วแต่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลใดๆเกี่ยวกับการหารือให้สาธารณชนรับทราบ

ในเวลาเดียวกันนายเคิร์ต แคมป์เบลล์ สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกองทัพทหารพม่าเป็นพิเศษ มีแผนที่จะไปเยือนประเทศพม่า ในตอนที่เดินทางมาถึงกรุงเทพฯนั้นได้มีการแถลงข่าวว่าจะไม่ไปประเทศพม่าแล้ว โดยอ้างว่าสื่อ Al Jazeera TV ได้มีการรายงานข่าวว่าทหารพม่ากำลังเตรียมผลิตอาวุธนิวเคลียร์

นายเคิร์ต แคมป์เบลล์ กล่าวว่า ตนยังไม่พร้อมที่จะไปพบปะพูดคุยกับผู้นำกองทัพทหารพม่าจึงตัดสินใจเดินทางกลับไปและได้เขียนจดหมายทันทีถึงกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของประเทศพม่าซึ่งในจดหมายได้ระบุด้วยว่าตัวเขานั้นมีหัวข้อที่จะพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องอาวุธนิวเคลียร์อยู่แล้วด้วย

สรุปแล้วเห็นได้ชัดว่าสหรัฐฯมีความกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการที่พม่าจะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งสหรัฐฯรับรู้ด้วยว่าผู้นำกองทัพทหารพม่ามีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับจีน รัสเซียและเกาหลีเหนือด้วย หากประเทศพม่าได้รับเทคโนโลยีนิวเคลียร์จากประเทศเหล่านั้นก็จะส่งผลให้พม่ามีความสามารถและประสบความสำเร็จในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ได้เป็นอย่างดี

ซึ่งแน่นอนว่าถ้าหากสหรัฐอเมริกาได้แสดงความแข็งกร้าวต่อกองทัพทหารพม่าเมื่อไหร่ก็จะกลายเป็นการเปิดโอกาสให้กับทหารพม่าในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นความกังวลต่อสหรัฐอเมริกาอย่างมากก็ว่าได้

ประการที่สอง
สหรัฐอเมริกามีเป้าหมายที่จะทำให้ประเทศจีนแตกแยกสลายออกไปเป็นประเทศต่างๆ เหมือนรัสเซียในอดีต

เพื่อจะทำให้อำนาจจีนอ่อนลงในเวทีโลก หนึ่งในแนวทางนั้นก็คือการใช้ระบอบประชาธิปไตยในพม่าเพื่อเป็นแรงผลักดันในการโค่นล้มประเทศจีน

ย้อนกลับไปในปี 1988 ได้มีการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศจีนซึ่งเป็นผลมาจากการประท้วงครั้งใหญ่ในพม่าในปี 1988 ปัจจุบันสหรัฐฯได้แสดงออกถึงการปกป้องไต้หวัน และรับรองผู้นำทิเบต ที่มีเป้าหมายในการแบ่งแยกตัวเองออกจากประเทศจีน

ประเทศเพื่อนบ้านรอบชายแดนจีนซึ่งเป็นประเทศที่ยังไม่มีหนทางแห่งประชาธิปไตยคือลาวและเวียดนาม ส่วนประเทศพม่านั้นกำลังอยู่บนเส้นทางสู่ประชาธิปไตยแล้วจึงมีโอกาสที่จะผลักดันพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ หากสหรัฐฯอเมริกามีการปฏิบัติอย่างแข็งกร้าวต่อกองทัพทหารพม่าก็อาจส่งผลให้ประเทศพม่าเบี่ยงเบนออกจากวิถีแห่งประชาธิปไตยก็เป็นไปได้

ประการที่สาม
ระบอบประชาธิปไตยในประเทศพม่าถือได้ว่ายังอ่อนแออย่างมาก จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาต่อไป

ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองหรือนักการเมืองของประเทศพม่าที่ความรู้ความสามารถยังอ่อนแออยู่ถ้าเทียบกับนานาชาติก็ว่าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักประชาธิปไตยที่เข้มแข็งที่สุดในประเทศพม่าซึ่งเป็นสมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ที่ไม่ค่อยมีคุณลักษณะในการกล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ และรอคำสั่งจากหัวหน้าพรรคอย่างนางอ่องซานซูจีผู้เดียว

TOPSHOT – Protesters take part in a demonstration against the military coup in Yangon on March 2, 2021. (Photo by STR / AFP)

ส่วนประชาชนทั่วไปเองก็เป็นประชาธิปไตยที่ยังเยาว์วัยและอ่อนประสบการณ์เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย ที่ผ่านมาประชาชนไม่มีทางเลือกที่มากนัก จะมีก็แค่สองพรรคการเมืองใหญ่ๆ คือพรรคที่ก่อตั้งโดยอดีตผู้นำทหารพม่า พรรค USDP (พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา) และ พรรค NLD

ถึงแม้ว่าจะมีพรรคของชนกลุ่มน้อยอยู่มากมายก็ตาม แต่ไม่มีพรรคใหญ่ๆที่จะลงสมัครเลือกตั้งทั่วประเทศเนื่องจากพรรคชนกลุ่มน้อยส่วนใหญ่จะมีฐานที่ตั้งอยู่ที่รัฐของชนกลุ่มน้อยแต่ละเผ่า

ประการที่สี่

การสู้รบกันระหว่างชนกลุ่มน้อยและกองทัพทหารพม่ามากว่า70ปี

สาเหตุที่กองทัพพม่ามีแนวคิดเผด็จการนั้นเพราะสืบเนื่องมาจากสถานการณ์บ้านเมืองในอดีตซึ่งมีการสู้รบกันระหว่างชนกลุ่มน้อยและกองทัพทหารพม่ามากว่า70ปี

กองทัพทหารพม่าอ้างว่าชนกลุ่มน้อยต้องการแบ่งแยกประเทศและกองทัพทหารพม่าเป็นผู้ปกป้องประเทศชาติแต่เพียงผู้เดียว

ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงส่งผลให้กองทัพพม่าเข้มแข็งยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และเป็นผู้นำทางการเมืองอยู่เสมอ ซึ่งส่งผลให้กองทัพทหารพม่ากลายเป็นเผด็จการนับตั้งแต่นั้นมา เพราะฉะนั้นเพื่อที่จะทำให้ประเทศพม่ายั่งยืนในระบอบประชาธิปไตยนั้นจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแนวคิดเผด็จการของทหารให้ได้เสียก่อน ซึ่งเป็นไปได้ยากสำหรับผู้นำทางทหารในปัจจุบันที่มีแนวคิดเผด็จการมาโดยตลอด เพราะฉะนั้นหนทางที่พอเป็นไปได้ก็คือ การเปลี่ยนแปลงแนวคิดทหารรุ่นใหม่นั่นเอง

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้ไปอบรบเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและหัวข้ออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองให้กับกองทัพทหารพม่า ถ้าไม่มีการแก้ไขที่ระบบก็จะเกิดการยึดอำนาจซ้ำไปมาเรื่อยๆและแนวคิดเผด็จการจะยังคงอยู่ต่อไป เพราะฉะนั้นสหรัฐอเมริการู้ดีในประเด็นนี้เพราะการแทรกแซงทางการทหารไม่ใช่ทางออกที่ดีซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้จากการแทรกแซงทางการทหารในประเทศอิรักและอัฟกานิสถานที่ยังไม่จบสิ้นถึงทุกวันนี้

Protesters carry flags as they drive their motorcycles during an anti-coup protest in Mandalay, Myanmar on Thursday March 25, 2021. (AP Photo)

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงได้ยากเพราะประเทศจีนและรัสเซียคอยหนุนหลังผู้นำทางทหารพม่ามาโดยตลอดนั่นเอง

คำถามคือสหรัฐฯกำลังใช้ไม้แข็งมาตรการคว่ำบาตรต่อผู้นำทางทหารพม่าอยู่ไม่ใช่หรือ ตอบได้เลยว่าใช่ แต่ในฐานะตำรวจโลกมากว่าและกดดันเพื่อผู้นำทหารพม่าเบี่ยงเบนออกจากวิถีแห่งประชาธิปไตยมากกว่า

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน