คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาประเมิน 13 ปี “นโยบายเรียนฟรี 15 ปี” ต้องเร่งปรับปรุง ชี้ ยังมีช่องว่าง เด็ก 2.4 ล้านคนเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษา

เมื่อวันที่ 29 พ.ค.2565 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดเสวนาหัวข้อ “ถึงเวลาแล้วหรือยัง ปฏิรูปนโยบายเรียนฟรี” โดย รศ.ดร.ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอผลการศึกษานโยบายเรียนฟรี 15 ปี ระบุว่า ตลอดเวลาการดำเนินนโยบายประมาณ 13-14 ปีที่ผ่านมาพบว่า การสนับสนุนงบประมาณให้โรงเรียนอาจจะยังไม่เพียงพอ เนื่องจากนโยบายเรียนฟรี 15 ปีเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงโรงเรียน เพราะโรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนค่ารายหัว เพื่อดำเนินการทั้งในเรื่องค่าอุปกรณ์การเรียนการสอน ค่าจัดการเรียนการสอน และค่ากิจกรรม

“เมื่องบประมาณจัดสรรตามรายหัวนักเรียน ทำให้โรงเรียนต้องหานักเรียนเข้ามาเรียนเพื่อให้ได้เงินอุดหนุนหล่อเลี้ยงโรงเรียนจึงเป็นเรื่องน่าเศร้าเมื่อเห็นข่าวคุณครูโดดตึก เพราะไม่สามารถดึงนักเรียนเข้ามาเรียนได้ตามเป้าหมายได้” รศ.ดร.ชัยยุทธ กล่าว

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาประเมิน 13 ปี "นโยบายเรียนฟรี 15 ปี" ต้องเร่งปรับปรุง

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาประเมิน 13 ปี “นโยบายเรียนฟรี 15 ปี” ต้องเร่งปรับปรุง

รศ.ดร.ชัยยุทธ กล่าวต่อว่า เสนอให้ปรับแก้นโยบายเรียนฟรี ใน 2 แนวทางคือ 1 เป็นการขยายกลุ่มเป้าหมายในโครงการเรียนฟรี 15 ปี ให้จัดสรรเป็นรายบุคคล โดยเพิ่มระดับอนุบาล ในอัตรา 1,000 บาท ต่อคน รวม 240,553 คน ใช้งบประมาณ 240 ล้านบาท และระดับม.ปลาย เฉพาะนักเรียนยากจนพิเศษ ม.4 หัวละ 9,000 บาท รวม 28,382 คน ใช้งบประมาณ 255 ล้านบาท ซึ่งเดิมจัดสรรเฉพาะระดับประถมศึกษาถึงม.ต้นเท่านั้น

ส่วนแบบที่ 2 เป็นการปรับอัตราอุดหนุนระดับ ม.ต้น เป็น 4,000 บาทต่อคน รวม 584,620 คน ใช้งบประมาณ 2,338 ล้านบาท จากเดิมอุดหนุนรายละ 3,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ การปรับเพิ่มอัตราอุดหนุนให้เพียงพอสำหรับโรงเรียนเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งแน่นอนว่าหากปรับเพิ่มทุกส่วนอาจต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก อยากให้พิจารณาโรงเรียนขนาดกลาง ขนาดเล็กที่มีปัญหาในการจัดสรรงบระมาณเพิ่ม เนื่องจากปัจจุบันมีเด็กที่ตกหล่นหรือหลุดออกจากระบบการศึกษานับแสนคนและภาวะเรียนรู้ถดถอยลงเรื่อย ๆ

เงินอุดหนุนไม่สอดคล้องภาวะค่าครองชีพจริง

ด้าน รองศาสตราจารย์ วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา กล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาได้พยายามแก้ไขปัญหาวามเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพราะถือเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนประเทศ แต่ก็พบว่า นโยบายเรียนฟรี 15 ปี เงินอุดหนุนยังไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายจริงของผู้ปกครอง

อัตราเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนที่ ช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนต้น ยังคงเป็นอัตราเดิมที่ไม่มีการปรับมาเป็นเวลากว่า 13 ปี นักเรียนประถมศึกษา ได้รับ 1,000 บาทต่อคนต่อปีสำหรับ หรือวันละ 5 บาท นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 3,000 บาทต่อคนต่อปี หรือวันละ 15 บาท ไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น

และในปี 2565 นี้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างๆ คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะสูงถึง 4-5% จากสภาพปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อ เด็กกลุ่มเสี่ยงกว่า 2.4 ล้านคนซึ่งอยู่กับครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเส้นความยากจน ของสภาพัฒน์ฯ ที่ 2,700 บาทต่อคน/เดือน ที่มีความเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ ดร.ปฏิมา จงเจริญธนาวัฒน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชำนาญการพิเศษ กองศึกษาและวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า พบโอกาสที่คนยากจนในรุ่นพ่อแม่จะส่งต่อความยากจนให้กับรุ่นลูกมีสูงมาก จากการศึกษา โดยการสำรวจรายได้ เงินออมและหนี้สินของคนเดิมซ้ำทุกปีพบว่าคนยากจนในปี 2548 ผ่านไป7 ปีคือ ปี2555 ยังเป็นคนยากที่จนที่สุดเหมือนเดิม

ดร.ปฏิมา กล่าวต่อว่า เราศึกษาพบว่า คนยากจนในรุ่นพ่อแม่ ส่งต่อความจนในรุ่นลูก โดยประมาณ 20% หรือประมาณครึ่งหนึ่งของการศึกษายังยากจจน ขณะที่คนที่เคยรวยที่สุด ยังคงเป็นคนรวยเหมือนเกือบ 53% จะเห็นว่าประเทศไทยโอกาสที่คนจนในปัจจุบันจะมีโอกาสเป็นคนรวยยากมากขึ้น

“สิ่งที่น่ากังวล คือ เด็ก อายุ 6-14 ปี หรือเด็กที่ควรจะได้รับการเรียนภาคบังคับยังหลุดออกจากระบบการศึกษามากถึง 17 % เพราะปัญหาความยากจน ซึ่งในแผนฯ 13 เราจจะโฟกัสกลุ่มนี้เป็นลำดับแรกๆ เพื่อตัดวงจรความยากจนข้ามรุ่นให้ได้”

นอกจากนี้ จากการสำรวจค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของเด็กนักเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ในพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่า เด็กกรุงเทพฯมีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาเฉลี่ย 37,257 บาทต่อคนต่อปี ในจำนวนนี้เป็นค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาสูงถึง 26,247 บาท ที่เหลือเป็นค่าเสื้อผ้าและเครื่องแบบ 2,072 บาท ค่าหนังสือ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ 2,175 บาท และค่าเดินทาง 6,763 บาท ตัวเลขเฉลี่ยเหล่านี้สูงกว่าทุกพื้นที่ในประเทศไทย สูงกว่าเฉลี่ยของทั้งประเทศซึ่งมีค่าใช้จ่าย 17,832 บาทต่อคนต่อปี ถึง 2 เท่า

ดร.ภูมิศรัณย์ เห็นว่า สิ่งที่ต้องปรับปรุงในส่วนนโยบายเรียนฟรี 15 ปี คือการ เงินอุดหนุนนักเรียนพื้นฐานยากจน แม้ว่าปัจจุบัน กสศ จะมีทุนเสมอภาคนักเรียนยากจนพิเศษ และสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานจะมีเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานแต่ยังไม่เพียงพอ ทำให้มีเด็กประมาณ 60 % หรือประมาณ 4 แสนคนที่ยากจนแต่ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับเงินอุดหนุน ซึ่งหากต้องการขยายนโยบายให้ครอบคลุมเด็กกลุ่มนี้จะใช้งบประมาณ ปีละ 800 ล้านบาท

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน