เวทีรับฟังความคิดเห็น สมาชิกองค์กรของผู้บริโภค เพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบาย “บำนาญประชาชน” จี้ยกเลิกระเบียบมท.ใช้เกณฑ์รายได้จ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ

สภาองค์กรของผู้บริโภคจัด เวทีรับฟังความเห็นสมาชิก หลังจากกระทรวงมหาดไทยปรับ หลักเกณฑ์จ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฉบับใหม่ของกระทรวงมหาดไทย ที่เผยแพร่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ส.ค. ปรับเกณฑ์การจ่ายเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2566 ให้คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพว่า “เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ” ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามที่กฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด

นายนิมิตร์ เทียนอุดม รองประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค คัดค้านการเปลี่ยนแปลงผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุดังกล่าว และถือว่าเป็นการถอยหลังเข้าคลองหลังจากที่พัฒนาการของเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุถือเป็นสิทธิที่ได้รับกันถ้วนหน้า ตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี 2552 โดยไม่มีเงื่อนไขหรือคุณสมบัติด้านรายได้มา

นายนิมิตร์ กล่าวว่า เบี้ยผู้สูงอายุควรจะเป็นสิทธิพื้นฐานถ้วนหน้า เท่ากับสิทธิของผู้บริโภค แต่การปรับเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทยที่จะนำรายได้มาเป็นเกณฑ์จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุถือเป็นการถอยหลังลงคลอง เนื่องจากจ่ายแบบถ้วนหน้ามาแล้วในปี 2552 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ไม่มีเกณฑ์เรื่องรายได้

“คิดว่าการปรับเกณฑ์จ่ายเบี้ยยังชีพให้เป็นเรื่องรายได้หรือความยากจน เป็นการถอยหลังลงคลอง จากเดิมที่เบี้ยยังชีพเปนสิทธิถ้วนหน้า เพราะฉะนั้นไม่เห็นด้วยกับเกณฑ์รายได้และเห็นว่าควระจ่ายเบี้ยยังชีพแบบถ้วนหน้า นอกจากนี้ ยังเห็นว่าควรจะต้องมีการผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นกฎหมายบำนาญถ้วนหน้า เพื่อเป็นสวัสดิการของประชาชน และควรจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน เพื่อให้รองรับสิทธิพื้นฐานประชาชนอย่างถ้วนหน้า” นายนิมิตร์ กล่าว








Advertisement

ขณะที่ ผศ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า หลักประกันรายได้ของประชาชนที่เป็นผู้สูงอายุ ที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติเห็นว่ามีความสำคัญคือ เรื่องของการมีงานทำ เพราะคนอายุ 60 ปี สามารถทำงานได้ รวมไปถึงเงินอุดหนุนที่เพียงพอในการดำรงชีพของผู้สูงอายุ และการเข้าถึงบริการสังคมที่จำเป็นจากรัฐสำหรับทุกคน

นอกจากนี้การสนับสนุนรายได้ของผู้สูงอายุ ควรจะเป็นสิทธิถ้วนหน้า ไม่มีเกณฑ์เรื่องรายได้ และต้องผลักดันคือการทำให้การจ่ายเบี้ยยังชีพถ้วนหน้าเป็นกฎหมายบำนาญพื้นฐาน เพื่อสร้างหลักประกันสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุ

“ผมคิดว่าเราต้องผลักดันระบบบำนาญประชาชน เป็นหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุเป็นวาระแห่งชาติ โดยในเรื่องนี้อยากเห็นนโยบายรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารผลักดันในเรื่องนี้ให้เป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนคนไทย” ผศ.วีระศักดิ์ กล่าว

ด้าน ดร.กติกา ทิพยาลัย นักวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นมากเกือบร้อยละ 10 การจัดสวัสดิการในรูปแบบบำนาญประชาชนถ้วนจะสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ เนื่องจากพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่มีเงินออม และพบว่ามีผุ้สูงอายุจำนวนไม่มากนักที่มีเงินออมที่ใช้ได้เพียง 1 ปี

ดังนั้นการจ่ายสวัสดิการผู้สูงอายุควรจะเป็นการจ่ายถ้วนหน้า หรือการตั้งกองทุนบำนาญประชาชนในอนาคตจะช่วยสร้างคุรภาพชีวิตที่ดีได้ โดยอัตราที่จะสามารถให้ดำรงชีพอยู่ได้ ต้องมีเงินจำนวนดังกล่าวต่ำกว่าเส้นความยากจน 2,800 บาท หรือระดับ 3,000 บาท ในกลุ่มที่ไม่มีระบบบำนาญ หรือมีสิทธิจากสวัสดิการอื่น

ดร.กติกา กล่าวอีกว่า รูปแบบการจัดสวัสดิการบำนาญควรจะเป็นแบบถ้วนหน้า เพราะเห็นว่าระบบบำนาญช่วยสร้างหลักประกันรายได้ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ในอนาคต

นอกจากนี้ ยังเกิดผลกระทบด้านบวกในมุมมองเศรษฐกิจ เพราะเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุส่วนใหญ่นำไปใช้ในการบริโภค จึงถือว่ากระตุ้นการผลิตทางอ้อม และผู้สูงอายุพึ่งพิงตัวเองได้ไม่ต้องพึ่งพิงลูกหลาน ส่งผลดีต่อประชากรวัยแรงงาน

“เงินจากผู้สูงอายุที่จ่ายไปในระบบบำนาญจะหมุนเวียนการคลังการจ้างงานและผลิตสินค้า และการขยายตัวทางเศรษฐกิจและภาครัฐได้กลับมาในรูปแบบภาษีเพิ่มขึ้น 1.5 เท่าและหรือประมาณ 6 แสนล้านบาทในแต่ละปีถือเป้นผลกระทบด้านบวกในเรื่องเศรษฐกิจ” ดร.กติกา กล่าว

ดร.กติกา กล่าวด้วยว่า ส่วนการจ่ายบำนาญประชาชนจะกระทบภารการคลัง หรือไม่ ดร.กติกา กล่าวว่า ขณะนี้เบี้ยบังชีพผู้สูงอายุ 11 ล้านคน รัฐจ่ายงบประมาณ8 หมื่นล้านบาท ขณะที่บำนาญราชการ 8 แสนคน รัฐต้องจ่าย 3 แสนล้านบาท แต่หากมีกองทุนบำนาญประชาชน 3,000 บาท รัฐต้องใช้งบประมาณ 4 แสนล้านบาท ถือว่าไม่มากเกินไปในการสร้างหลักประกันให้กับผู้สูงอายุ และไม่เป็นภาระทางการคลังด้วย

ดร.กติกา เห็นว่า รายได้ที่จะเข้ามาที่กองทุนบำนาญ เพื่อจ่ายสวัสดิการให้กับผุ้สูงอายุมาจากหลายรูปแบบ ตัวอย่างในประเทศญี่ปุ่นเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกับสินค้าที่ฟุ่มเฟือยไม่ใช่สินค้าจำเป็น หากรัฐเก็บภาษีเพิ่มร้อยละ 1 จะมีรายได้เพิ่ม 7 หมื่น-หนึ่งแสนล้านบาท

ขณะที่กรมสรรพษามิตร สามารถนำเงินสมทบเข้ากองทุนฯได้เช่นกัน โดยสามารถขยายฐานภาษีในรูปแบบอื่นๆ เช่น ความหวาน ความเค็ม ภาษีสุขภาพ เราขยายฐานภาษีสมทบเข้ากองทุนบำนาญ นอกจากนี้มีตัวอย่างในประเทศชิลี ที่เก็บภาษีจากผู้มีรายได้สูง ตามหลักการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข มาสมทบกองทุนบำนาญเพื่อลดความเหลื่อมล้ำลงไปได้ ดังนั้นจึงเห็นว่า การตั้งกองทุนบำนาญประชาชนจะไม่กระทบภาระการคลังหากมีการจัดระบบภาษีและการจัดเก็บรายได้ใหม่

อย่างไรก็ตาม หลังระดมความคิดเห็น สมาชิกสภาองค์กรของผู้บริโภคเห็นว่าควรจะต้องมีระบบบำนาญแบบถ้วนหน้า โดย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวว่า สมาชิกสภาองค์กรของผู้โภคส่วนใหญ่ เห็นว่าควรจะจัดทำนโยบายสวัสดิการบำนาญประชาชนแบบถ้วนหน้า 3,000 บาท เพื่อคุณภาพชีวิตของผุ้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังเห็นว่า กระทรวงมหาดไทยควรจะยกเลิกเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ใช้รายได้เป็นเกณฑ์พิจารณา แต่ควรจ่ายผู้สูงอายุทุกคนแบบถ้วนหน้า

“หลังจากรับฟังความคิดขอสมาชิกสภาองค์กรของผู้บริโภคจะนำเรื่องเสนอคณะกรรมการนโยบายของสภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อจัดทำข้อเสนอทางนโยบายเสนอไปยังคระรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป” น.ส.สารี กล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน