แม้เราจะผ่านระยะระบาดหนักของโรคนี้ไปแล้วและได้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 5 นับจากการตรวจพบ โรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ครั้งแรก จนหลายคนเริ่มนิ่งนอนใจ โดยภาพรวมการรายงานทั่วโลก ณ ปัจจุบัน มีผู้ติดเชื้อแล้วทั้งสิ้น 774 ล้านคน และมีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคนี้กว่า 7 ล้านคน อย่างไรก็ตามโควิด 19 ยังไม่หมดไป

จากข้อมูลพบว่า ประเทศไทยยังคงมีผู้ติดเชื้อโควิด 19 และยังมีผู้ป่วยจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรง ผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมถึงผู้เสียชีวิตเพิ่มจำนวนขึ้น ทั้งนี้ยังไม่มีข้อมูลบ่งชี้ว่า ไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์ที่ระบาดในปัจจุบันก่อให้เกิดความเจ็บป่วยรุนแรงเพิ่มขึ้น แต่เชื้อมีความสามารถ ในการ แพร่ระบาดได้รวดเร็วขึ้น ประกอบกับประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองลดลง เป็นเหตุ ให้จำนวนผู้ป่วย เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ประชาชนบางส่วนในประเทศไทยไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือได้รับวัคซีนไม่ครบ

ฉะนั้นนอกจากการสวมหน้ากากอนามัยเว้นระยะห่างและล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรทำในการป้องกันเชื้อโควิดตัวใหม่คือการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนที่พัฒนาให้ตามทันเชื้อไวรัส เพื่อพร้อมสู้เชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 ที่จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นตามที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ

DDC COVID-19 Interactive Dashboard | 1-dash-week (moph.go.th)

สถานการณ์ของโควิด 19 สายพันธุ์ใหม่ในปัจจุบันเป็นอย่างไร

ปัจจุบัน สายพันธุ์โควิด 19 ที่ระบาดในประเทศไทยและต่างประเทศ คือสายพันธุ์ JN.1. จากหลักฐานนี้ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาพยาบาล และวัคซีนจึงต้องมีการพัฒนาต่อเนื่อง

วัคซีนโควิด 19 มีประสิทธิภาพหรือไม่

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคโดยการฉีดวัคซีนโควิด 19 ช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้ นับจากปีพ.ศ.2564 จนถึงปัจจุบัน ทั่วโลกมีผู้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด19 แล้วกว่า13,000ล้านโดส ซึ่งมีการติดตาม และเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์อย่างเป็นระบบในแต่ละประเทศ ในปี พ.ศ.2564 วัคซีนโควิด 19 ช่วยป้องกันการเสียชีวิตของประชาชนกว่า 14.4 ล้านคนทั่วโลก (https://www.who.int/thailand/news/detail/07-02-2024-update-on-covid-19-in-thailand–7-february-2024-THA)

วัคซีนรุ่นล่าสุดที่ WHO แนะใช้ป้องกันโควิด-19 ปีนี้

เป็นเวลากว่า 4 ปีที่โรคโควิด-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลก แม้ผู้คนจะรับมือด้วยความเข้าใจ พร้อมปรับตัวให้ อยู่ร่วมกับโรคได้ ขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญยังคงคิดค้นสูตรวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสอย่างต่อเนื่อง โดยองค์การอาหาร และยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration: FDA) เผยว่า วัคซีนโมโนวาเลนต์เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า วัคซีนไบวาเลนต์

ผลการศึกษาพบว่า วัคซีนโมโนวาเลนต์ (Monovalent) หรือวัคซีนประเภทสายพันธุ์เดียว มีแนวโน้ม ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าวัคซีนไบวาเลนต์ (Bivalent) ซึ่งเป็นวัคซีน 2 สายพันธุ์ โดยวัคซีนไบวาเลนต์จะมี ประสิทธิภาพการป้องกันลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อต้องเผชิญกับโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB สอดรับกับข้อมูลที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ระบุ ทีมที่ปรึกษาด้านเทคนิค (WHO Technical Advisory Group on COVID-19 Vaccine Composition หรือ TAG-CO-VAC) ได้เสนอว่า องค์ประกอบของ วัคซีนที่ใช้ป้องกันโควิด-19 ระหว่างปี 2566-2567 ควรใช้ต้นแบบหรือหัวเชื้อเป็นโอมิครอน XBB.1.5 เพียง สายพันธุ์เดียว (โมโนวาเลนต์) เพราะสามารถสร้างแอนติบอดีที่เข้าจับและทำลายอนุภาคไวรัสทั้งกลุ่มสายพันธุ์ XBB ซึ่งรวมถึง EG.5, HK.3, HV.1 และกลุ่มสายพันธุ์ BA.2.86 เช่น JN.1 และ XDD (broad spectrum antibodies)

ที่สำคัญ วัคซีนชนิดนี้ได้รับการแนะนำจากองค์การอนามัยโลกและองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ มาก่อนหน้าตั้งแต่ 11 กันยายน 2566 โดยกำหนดให้บริษัทผู้ผลิตวัคซีนโควิด-19 เปลี่ยนไปผลิตวัคซีนสายพันธุ์ XBB แบบโมโนวาเลนต์สำหรับใช้ในปี 2566-2567 เนื่องจากโอมิครอนกลุ่ม XBB เป็นโควิดสายพันธุ์หลัก ที่ แพร่ระบาดทั่วโลกในขณะนี้ โดยสามารถแพร่เชื้อได้มากกว่า และหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า โอมิครอน สายพันธุ์ดั้งเดิมที่ระบาดมาก่อนหน้า

ทำไมจึงควรฉีดวัคซีนโควิด-19 XBB หรือ Omicron XBB.1.5

  • ป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ที่ระบาดในปัจจุบันได้ดีกว่า
  • กระตุ้นภูมิคุ้มกันที่มีต่อ สายพันธุ์ JN.1 (สายพันธุ์ปัจจุบัน) ได้ 13 เท่า
  • ลดการป่วยหนักที่ต้องนอนโรงพยาบาล 63%
  • ลดการป่วยรุนแรงจนต้องมาห้องฉุกเฉิน 58%
  • ลดการป่วยรุนแรงที่ต้องเข้าไอซียู ในผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) 73%

ทั้งนี้ WHO มีคำแนะนำให้ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หรือผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ยังมีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนโควิด-19 ในระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงของการป่วยหนักและเสียชีวิต

วัคซีน XBB.1.5 โมโนวาเลนต์ รุ่นล่าสุดที่ WHO แนะนำมีแล้วในประเทศไทย

ถึงแม้ในประเทศไทยยังไม่มีวัคซีน XBB.1.5 โมโนวาเลนต์ ให้บริการฟรี แต่ในปัจจุบันสถานพยาบาล หลายแห่งทั้งของรัฐและเอกชนทั้งใน กทม. และในต่างจังหวัดก็เริ่มนำเข้ามาเพื่อบริการแก่ประชาชน อาทิ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย รพ.บำรุงราษฏร์ รพ.กรุงเทพ รพ.กรุงเทพพัทยา รพ.สมิติเวชชลบุรี รพ.พญาไทศรีราชา รพ.รวมแพทย์ฉะเชิงเทรา รพ.อุบลรักษ์-ธนบุรี จ.อุบลราชธานี คลินิกเด็กหมอธนาพร จ.ยโสธร คลินิกโรคสมองและระบบประสาทหมอเจษฎา จ.พิษณุโลก และ หมอวรากรคลินิกเฉพาะทางโรคภูมิแพ้ จ.ระยอง เป็นต้น

อ้างอิงข้อมูล

https://doctorathome.com/covid-19/569
https://www.thaipbs.or.th/news/content/334926
https://www.prachachat.net/general/news-1485275

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน