ทานบารมี‘หลวงพ่อคูณ’ เมตตาอุปถัมภ์การศึกษา

ทานบารมี‘หลวงพ่อคูณ’ เมตตาอุปถัมภ์การศึกษา : สดหน้าพระข่าวสด – การศึกษา คือ การสร้างคน การสร้างคน คือ การสร้างสังคม การสร้างสังคม คือ การสร้างชาติ”

การอุปถัมภ์ ความเมตตา บุญบารมีและภูมิปัญญา ที่ “พระเทพวิทยาคม” หรือ “หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ” วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา นำมาใช้ในการแก้ปัญหาช่วยลูกหลาน ช่วยคนยากคนจน เพราะหลวงพ่อถือว่าเป็นการสร้างคนให้มีคุณภาพ เป็น การพัฒนาทรัพยากรที่มีค่าทางสังคม การแก้ปัญหาการส่งเสริมการศึกษา เป็นการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า หลวงพ่อจึงสนับสนุนการศึกษาหลายรูปแบบโดยวิธีการต่างๆ มากมาย ตามสภาพและโอกาส

ทานบารมี‘หลวงพ่อคูณ’ เมตตาอุปถัมภ์การศึกษา

ทานบารมี‘หลวงพ่อคูณ’ เมตตาอุปถัมภ์การศึกษาทานบารมี‘หลวงพ่อคูณ’ เมตตาอุปถัมภ์การศึกษา

ทานบารมี‘หลวงพ่อคูณ’ เมตตาอุปถัมภ์การศึกษา

การให้ทุนการศึกษาบุตรหลานเป็นรายบุคคลทั่วไป








Advertisement

การส่งเสียให้เล่าเรียนเป็นรายบุคคลจนจบการศึกษา

การตั้งกองทุนมูลนิธิเพื่อการศึกษาทุกระดับทุกประเภท

การตั้งกองทุนอาหารกลางวันในระดับต่างๆ

การมอบเงินก่อสร้างอาคารสถานศึกษาทุกประเภท

การมอบเงินจัดซื้ออุปกรณ์การศึกษาทุกระดับ

การสนับสนุนงบดำเนินการพัฒนาบุคลากรทุกด้าน

การบริจาครายย่อยที่ขอความเมตตาเฉพาะราย

ทานบารมี‘หลวงพ่อคูณ’ เมตตาอุปถัมภ์การศึกษา

ทานบารมี‘หลวงพ่อคูณ’ เมตตาอุปถัมภ์การศึกษา

.ด่านขุนทด ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 126,000 คน มีนักเรียนในวัยเรียนจำนวนมากกว่า 30,000 คน นักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจะศึกษาในสายสามัญเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสถานศึกษาสายอาชีพมีจำกัด แต่เมื่อจบสายสามัญแล้วไม่สามารถสอบเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้ ทั้งนี้สืบเนื่องจากปัญหาการเลี้ยงดู ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาความยากจน ปัญหาการด้อยโอกาส หรือความเสียเปรียบทางการศึกษา จึงเป็นอุปสรรคนานาประการ

จากสภาพปัญหาดังกล่าว หลวงพ่อคูณเข้าใจสังคมชนบทที่ยากไร้อย่างแท้จริง จึงทุ่มเทชีวิตจิตใจในการสนับสนุนการศึกษา ทั้งการสร้างโรงเรียน มอบทุนการศึกษา วัสดุอุปกรณ์การเรียนให้กับโรงเรียนในชนบทแทบจะทั่วประเทศ ฯลฯ เป็นงบประมาณปีละหลายร้อยล้านบาท

ทานบารมี‘หลวงพ่อคูณ’ เมตตาอุปถัมภ์การศึกษา

ที่สำคัญ หลวงพ่อคูณก่อตั้งวิทยาลัยสายอาชีพใน อ.ด่านขุนทด เพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของชุมชนผู้ยากไร้ โดยให้ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ”

ตั้งเมื่อวันที่ 12 ..2537 เนื้อที่ 154 ไร่ งบประมาณในการก่อสร้างโดยหลวงพ่อบริจาคทั้งสิ้น 400 ล้านบาท เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาต่างๆ ดังนี้

ทานบารมี‘หลวงพ่อคูณ’ เมตตาอุปถัมภ์การศึกษา

สาขาช่างยนต์ สาขาช่างก่อสร้าง สาขาช่างเชื่อมโลหะ สาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์ สาขาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม สาขาวิชาพณิชยการ

ทานบารมี‘หลวงพ่อคูณ’ เมตตาอุปถัมภ์การศึกษา

เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาต่างๆ ดังนี้

สาขาวิชางานเทคนิคยานยนต์ สาขาวิชางานเทคนิคเครื่องกลอุตสาหกรรม สาขาวิชางานติดตั้งไฟฟ้า สาขาวิชาเครื่องกลไฟฟ้า สาขาวิชางานอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป สาขาวิชางานเทคนิคการก่อสร้าง สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด

นอกจากนี้ ความเมตตาของหลวงพ่อคูณยังพัฒนา การศึกษาสู่มหาวิทยาลัยสงฆ์ ด้วยสถาบันศาสนาเป็นสถาบันที่สรรค์สร้างทรัพยากรมนุษย์สถาบันหนึ่ง เป็นหลักของสังคมและอยู่คู่สังคมไทยมาแต่ครั้งบรรพกาล ผู้ที่เข้ามาอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุหรือสามเณร จะต้องศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี ควบคู่ไปกับการศึกษาแผนกสามัญ ซึ่งเป็นการให้ความรู้แก่พระภิกษุสามเณรเช่นเดียวกับระบบโรงเรียน

แต่เท่าที่ผ่านมาจะเห็นว่าการศึกษาที่จัดสำหรับคนจนต้องการศึกษาเล่าเรียนแต่ขาดทุนทรัพย์ ไม่สามารถเข้าสู่ระบบโรงเรียนได้ จึงบวชเพื่อที่จะได้เรียน การศึกษาของสงฆ์ที่จัดขึ้นในวัดจึงไม่ราบรื่น ไม่สามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าได้มาตรฐาน ครูและบุคลากรไม่ได้รับการพัฒนาในวิชาชีพ วิธีสอน การวัดผลประเมินผล ขาดแคลนทั้งอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่รอรับการแก้ไข

นับเป็นความโชคดี จ.นครราชสีมา มีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อบริการเกื้อหนุนและให้โอกาสทางการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรให้มีคุณค่า มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้จึงเป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิตของคนยากจน

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนจึงได้ร่วมบริจาคเงินเพื่อก่อสร้างอาคารเรียน 5 ชั้น เป็นเงิน 15 ล้านบาท โดยใช้ที่ธรณีสงฆ์วัดพระนารายณ์มหาราช จ.นครราชสีมา เป็นสถานที่ก่อสร้าง เมื่อความทราบถึงหลวงพ่อคูณ พิจารณาเห็นว่า เงินจำนวนดังกล่าวคงไม่สามารถที่จะสร้างอาคารเรียนให้เสร็จสมบูรณ์ได้ หลวงพ่อคูณจึงบริจาคเงินเพิ่มอีก 30 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 45 ล้านบาท จึงเสร็จสิ้นสมบูรณ์

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดสอน 3 สาขาวิชา ได้แก่ คณะศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะครุศาสตร์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน