เปิดตลับพระใหม่ : พระมเหศวร มหาราช

พระมเหศวร มหาราชพระมเหศวร ถือเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชินอันประกอบไปด้วย พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย พระหูยาน จ.ลพบุรี พระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี พระชินราชใบเสมา จ.พิษณุโลก พระมเหศวร จ.สุพรรณบุรี รวมเป็น ๕ ขุนพลจาก ๕ เมือง ที่เป็นแหล่งพระเครื่องและอารยธรรมสำคัญของประเทศ

พระมเหศวรแตกกรุจากพระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองสุพรรณบุรี เมื่อปี ๒๔๕๖ ร่วมกรุเดียวกับ ผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาแต่สมัยโบราณ เดิมชาวบ้านเรียก วัดพระธาตุ ตั้งอยู่ที่ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ (ท่าจีน)

ห่างจากเชิงสะพานข้ามแม่น้ำสุพรรณประมาณ 200 เมตร มีองค์พระปรางค์เป็นประธาน และมีเจดีย์รายรอบ นับเป็นแหล่งที่ค้นพบพระพิมพ์ที่สำคัญ และได้รับความนิยมสูงหลายต่อหลายพิมพ์ รวมถึงพระพิมพ์ พระกำแพงศอก พระท่ามะปราง พระลีลาระเวง พระลีลาหลังซุ้มอรัญญิก พระซุ้มจิก พระซุ้มระฆัง พระปทุมมาศ พระกำแพงนิ้ว พระสุพรรณยอดโถ พระสุพรรณหลังพระ ฯลฯ

“พระมเหศวร” นับเป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระยอดขุนพลของเมืองไทย พิมพ์ทรงองค์พระดูแล้วออกจะแปลกตากว่าพระเครื่องประเภทอื่นๆ แต่ก็ต้องยอมรับในฝีมือเชิงช่างของคนสมัยก่อนกับการรังสรรค์งานประติมากรรมด้วยความชาญฉลาด

โดยออกแบบให้มี ลักษณะโดดเด่นคือพิมพ์พระด้านหน้าและด้านหลังจะมีลักษณะกลับหัวและสวนทางกัน พราะพระเนื้อชินพิมพ์นี้ส่วน “พระศอ” ขององค์พระมักจะบอบบาง ทำให้เปราะและแตกหักง่าย ผู้สร้างจึงแก้ไขปัญหาโดยเอาส่วนที่เป็นพระศอของพระอีกองค์หนึ่งนั่งสวนทางกัน ดังนั้น ส่วนที่เปราะบางซึ่งก็คือพระศอ จึงไปอยู่ในส่วนที่เป็นพระเพลาของพระอีกด้านหนึ่ง สามารถลบล้างในส่วนที่เปราะบางได้อย่างเยี่ยมยอด

พระมเหศวร มหาราช พุทธคุณดีครบทุกด้าน ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย เด่นสุดคือคงกระพันชาตรี เมื่อพระมเหศวรของแท้มีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการ บางองค์สภาพสวยๆระดับแชมป์ราคาเล่นหาต้องมีเงินล้าน

ด้วยเหตุนี้ จึงได้ดำริจัดสร้างพระมเหศวร มหาราช ขึ้นมาเพื่อเป็นที่ระฤกแด่ศิษยานุศิษย์ เพื่อให้นำไปคุ้มครองป้องกันตัว








Advertisement

ในการนี้ได้รับความเมตตาจาก พระเกจิอาจารย์ดังร่วมปลุกเสก แผ่นชนวนโลหะ อาทิ. หลวงพ่อเจ้าคุณรักษ์ วัดสุทธาวาส วิปัสสนา จ.อยุธยา หลวงพ่อหลักชัย วัดหลักชัย จ.อยุธยา หลวงปู่ยวง วัดหน้าต่างใน จ.อยุธยา และ หลวงปู่ธูป วัดลาดน้ำขาว จ.สุพรรณบุรี และในการนี้ทางหลวงปู่ชัช ได้นิมนต์ พระครูปลัดสุรินทร์ ภทฺทมุนี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทธาวาส วิปัสสนา เป็นเจ้าพิธีในการผสมมวลสารและพุทธาภิเษก ตามตำราโบราณ

กำหนดการพิธีพุทธาภิเษก “พระมเหศวร มหาราช” วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 15.00 น. ณ วัดบ้านปูน อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 095-6929659 / 088-9923554


ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน