‘พระกริ่งไตรมาส-หลวงพ่อทบ’จัดสร้างตามตำราโบราณที่ระลึกสร้างพระธาตุโพนสวรรค์‘เหรียญหลวงปู่ประไพ’ – “สมาธิที่มีศีลเป็นหลักประกันความปลอดภัย มิจฉาสมาธิเข้ามาแทรกไม่ได้ แม้แต่จิตสงบสว่างลงไปแล้วมองเห็นภาพนิมิตต่างๆ ผู้ภาวนาเพราะอาศัยศีลเป็นหลักประกันความปลอดภัยจะไม่เข้าใจผิดในนิมิตนั้นๆ” สารธรรมมงคล พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

“พระครูวิชิตพัชราจารย์” หรือ “หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ” อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทชนแดน พระเกจิชื่อดังที่ชาวเมืองเพชรบูรณ์เคารพศรัทธา วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง หนึ่งในนั้น “พระกริ่งไตรมาส หลวงพ่อทบ วัดชนแดน” จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2515 ที่ระลึกสร้างกุฏิวัดโบสถ์โพธิ์ทอง หลังออกพรรษา วันที่ 29 ต.ค.2515

ด้วยการสร้างตามตำราสร้างพระกริ่งแต่โบราณ ประกอบด้วยโลหะมงคล 9 ชนิด ได้แก่ ทองคำ ทองแดง เงินบริสุทธิ์ ตะกั่ว ชิน สังกะสี ดีบุก เหล็กละลายตัวเข้าน้ำเงิน และแผ่นโลหะที่หลวงพ่อทบปลุกเสก โดยมีพระมั่นกับเฒ่าคงเป็นผู้จุดเทียนชัย พระชื่อมหานิยม เป็นผู้เทโลหะลงเบ้า สร้างตามกรรมวิธีสร้างพระกริ่งแบบโบราณ โดยเทโลหะที่หลอมแล้วลงเบ้าดิน ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ และโลหะทั้ง 9 ชนิด ก่อนนำมาแต่งด้วยมืออีกครั้ง ซึ่งสร้างทั้งหมดเพียง 300 องค์ จากนั้นทำลายแม่พิมพ์ มอบให้กับผู้ที่ร่วมทำบุญ 300 บาท จำนวน 1 องค์ จัดเป็นยอดของพระกริ่งเมืองเพชรบูรณ์.

ในปี พ.ศ.2559 วัดประชาสามัคคีธรรม ขออนุญาต “หลวงปู่ประไพ อัคคธัมโม” อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าศรีประไพวนาราม ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม จัดสร้าง เหรียญหลวงปู่ประไพ รุ่นเจริญพร นำรายได้สมทบทุนสร้างพระธาตุโพนสวรรค์ วัดประชาสามัคคีธรรม อ.โพนสวรรค์ จัดสร้างเป็นหลายเนื้อด้วยกัน ลักษณะเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญ รอบขอบเหรียญมีเส้นสันนูน ใต้หูเชื่อมรอบขอบครึ่งวงกลม มีตัวหนังสือเขียนว่า หลวงปู่ประไพ อคฺคธมฺโม อายุ ๙๑ ปี ตรงกลางเหรียญมีรูปหลวงปู่ครึ่งองค์ ข้างใบหูซ้ายของเหรียญในวงกลมตอกโค้ดตัวย่อ พุทธัง อุตตะ นะเมตตา ด้านล่างสลักชื่อรุ่นว่า เจริญพร

ด้านหลังเหรียญ มีขอบเส้นสันนูนหนา ตรงกลางเหรียญมีรูปพระธาตุโพนสวรรค์ประดิษฐานในเปลวรัศมี มีรูปเหมือนเทวดา 2 องค์ประกบกลางองค์พระธาตุ รอบขอบเหรียญจากส่วนฐานพระธาตุจากซ้ายไปขวาสลักตัวหนังสือคำว่า ที่ระลึกสร้างพระธาตุโพนสวรรค์ วัดประชาสามัคคีธรรม อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม๒๕๕๙ ประกบด้วยดอกจันปิดหัวท้าย ใต้ฐานตอกตัวเลขเหรียญ ๑๓๑ ใต้ตัวเลขบรรทัดล่างสุด สลักอักขระยันต์ประจำตัว

ย้อนกลับไปในปีพ.ศ.2557 “หลวงพ่อเมียน กัลยาโณ” พระเกจิอาจารย์และเจ้าอาวาสวัด จะเนียงวนาราม ต.สูงเนิน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ จัดสร้างวัตถุมงคล “พระกริ่งชินบัญชร ชนะมาร” เพื่อหารายได้ทำนุบำรุงถาวรวัตถุในวัดจะเนียงวนาราม โดยจัดสร้างหลายเนื้อด้วย อาทิ เนื้อ ทองคำ เนื้อเงิน ก้นทองคำ เนื้อนวะ ก้นฝาบาตร

ลักษณะองค์พระเหมือนพระกริ่งทั่วไป ทุกเนื้อมีโค้ดและหมายเลขกำกับองค์พระ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อ วันที่ 28 ต.ค.2557 โดยพระเกจิคณาจารย์ชื่อดัง กล่าวได้ว่าพระกริ่งชินบัญชร ชนะมาร หลวงพ่อเมียน เป็นที่นิยมและมีความต้อง การสูง

“พระครูโชติวัตรวิมล” หรือ “หลวงปู่ แฮม ธัมมโชโต” วัดศรีวาบริบูรณ์พิสัย (วัดบ้านจารพัต) ต.จารพัต อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ท่านจัดสร้างวัตถุมงคลไว้หลายประเภทที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ “เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่แฮม” คณะศิษยานุศิษย์สร้างขึ้น เมื่อปี 2530 จำนวน 5,000 เหรียญ เพื่อแจกจ่ายแก่ศิษยานุศิษย์ และทหาร ตำรวจ ตามแนวชายแดน

ลักษณะเป็นเหรียญพิมพ์เสมา เนื้ออัลปาก้า ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่แฮมนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “พระครูโชติวัตรวิมล (แฮม)” ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์ใบพัด 3 แฉก ด้านล่างใต้ยันต์เขียนคำว่า “วัดศรีวา บริบูรณ์พิสัย ต.จารพัต อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์” วัตถุมงคลของหลวงปู่แฮมได้รับความนิยมจากศิษยานุศิษย์ ด้วยมีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้าน ราคาเช่าในปัจจุบันค่อนข้างสูงมาก

พระครูอดุลสารธรรม หรือ หลวงพ่อเฟื่อง ธัมมปาโล แห่งวัดอมรญาติสมาคม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมคือ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี พ.ศ.2473 ลักษณะเป็นเหรียญรูปคล้ายดอกไม้ บ้างก็ว่าเป็นรูปกงจักร บ้างก็ว่าเป็นรูปคล้ายดอกบัว มีหูเชื่อม เป็นเหรียญเนื้ออัลปาก้า ด้านหน้าเหรียญ ขอบเหรียญรอบนอกเป็นจุดไข่ปลา ขอบเหรียญด้านในเป็นอักขระโบราณล้อมรอบ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฟื่องครึ่งองค์หันหน้าตรง ด้านหลังเป็นรูปยันต์

“พระโพธิญาณมุนี” หรือ “หลวงปู่เหลา จุนโท” อดีตเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม (ธ) วัตถุมงคลเท่าที่สืบค้นพบมีเพียงรุ่นเดียว แต่ได้รับความนิยมในพื้นที่เป็นอย่างมาก คือ เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่เหลา จัดสร้างในปีพ.ศ.2500 คณะศิษย์จัดสร้างถวายในวาระสิริอายุครบ 55 ปี

ลักษณะเป็นเหรียญรูปคล้ายใบเสมา เนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่เกิน 3,000 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญยกขอบสองชั้น บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่เหลาครึ่งองค์หันหน้าตรง ด้านบนรูปเหมือนมีอักษรเขียนคำว่า “วัดประชาบำรุง” ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “พระโพธิญาณมุนี จนฺทเถร” ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบเหรียญ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์หุ่นมนุษย์ หัวใจธาตุทั้ง 4 และหัวใจพระเจ้า 5 พระองค์ ล่างสุดมีอักษรเขียนคำว่า “ศิษย์สร้าง” และ (พ)

โดย อริยะ เผดียงธรรม [email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน