พระราชกรณียกิจ ในวันที่ 1 แห่งการทรงผนวช

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม 2499

scan0013

เวลา 14.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เสด็จฯ มายังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จฯ สู่ที่เปลื้องเครื่องหลังพระอุโบสถ สมเด็จพระราชชนนีทรงจรดพระกรรบิด ถวายเจริญพระเกศา แล้วภูษามาลาถวายต่อจนเสร็จ

scan0018

scan0023

 

scan0022








Advertisement

scan0017

เวลา 15.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องตามแบบผู้แสวงอุปสมบท เสด็จขึ้นสู่พระอุโบสถทางพระทวารหลัง เสด็จออกหน้าพระฉาก ทรงนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี และพระพุทธรูปสนองพระองค์ทั้งสองพระองค์เป็นการส่วนพระองค์ตามราชประเพณี แล้วสมเด็จพระราชชนนีถวายไตรและบาตรสำหรับทรงอุปสมบทในพระอุโบสถมีพระสงฆ์ ผู้จะนั่งหัตถบาส รวม 30 รูป อยู่ด้านเหนือ คือ

scan0015

scan0014

 

1.สมเด็จพระสังฆราช (หม่อมราชวงศ์ชื่น สุจิตโต) วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และถวายศีล 2.สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ 3.สมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศ 4.พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (โสม ฉันโน) วัดสุทัศนเทพวราราม 5.พระศาสนโศภณ (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ 6.พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ 7.พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร 8.พระธรรมโกศาจารย์ (ปลอด อัตถการี) วัดราชาธิวาสวิหาร 9.พระธรรมดิลก (ปุ่น ปุณณสิริ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 10.พระธรรมปาโมกข์ (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

11.พระธรรมไตรโลกาจารย์ (วน ฐิติญาโณ) วัดอรุณราชวราราม 12.พระธรรมธีราชมหามุนี (ธีร์ ปุณณโก) วัดจักรวรรดิราชาวาส 13.พระธรรมปิฎก (พิมพ์ ธัมมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ 14.พระมงคลเทพมุนี (สาลี อินทโชโต) วัดอนงคาราม 15.พระมงคลทิพยมุนี (เซ็ก พรหมสโร) วัดทองธรรมชาติ 16.พระรัชชมงคลมุนี (เทศ นิทเทสโก) วัดสัมพันธวงศ์ 17.พระเทพเวที (ฟื้น ชุตินธโร) วัดสามพระยา 18.พระเทพเมธี (ชอบ อนุจารี) วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี 19.พระเทพมุนี (ทรัพย์ โฆสโก) วัดสังเวชวิศยาราม 20.พระเทพโมลี (วิน ธัมมสาโร) วัดราชาธิวาสวิหาร

21.พระอมราภิรักขิต (ทองคำ จันทูปโม) วัดบรมนิวาส 22.พระอมรมุนี (จับ ฐิตธัมโม) วัดโสมนัสวิหาร 23.พระโศภนคณาภรณ์ (เจริญ สุวัฑฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร 24.พระกิตติวงศ์เทวี (สุวรรณ สุวัณณโชโต) วัดเบญจมบพิตร 25.พระมหานายก (เติม โกสโล) วัดบวรนิเวศวิหาร 26.พระจุลนายก (แก้ว อัตตคุตโต) วัดบวรนิเวศวิหาร 27.พระไตรสรณธัช (แสน โกลิโต) วัดปรมัยยิกาวาส จ.นนทบุรี 28.พระปัญญาภิมณฑ์มุนี (วิชมัย ปุญญาราโม) วัดบวรนิเวศวิหาร 29.พระสาธุศีลสังวร (สนธิ์ กิจจกาโร) วัดบวรนิเวศวิหาร 30.พระอุดมญาณมุนี (ยศ โกสิโต) วัดชินวราราม จ.ปทุมธานี

scan0016

scan0025

ทางด้านใต้มีพระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และข้าราชการผู้ใหญ่ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการ นอกนั้นเฝ้าฯ ที่ชานพระอุโบสถทั้งหน้าหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ เข้าไปขอบรรพชา ในท่ามกลางสงฆ์ต่อสมเด็จพระสังฆราช

15

สมเด็จพระสังฆราชถวายโอวาทสำหรับบรรพชาว่า ….

“บัดนี้ สมเด็จพระบรมบพิตรทรงมีพระราชศรัทธา ความเชื่อพระราชปสาทะความเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา ได้ทรงขอบรรพชาอุปสมบทรวมความว่าบวชในพระพุทธศาสนา ตามพระราชประเพณีของพระเจ้าแผ่นดินที่เป็นบรมราชจักรีวงศ์ และ ตามแบบของกษัตริย์ก่อนๆ เพราะฉะนั้น จึงควรน้อมพระราชหฤทัยระลึกถึงพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระบรมศาสดา ประกาศพระศาสนา และทรงระลึกถึง พระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งประกาศสัจจะ ความจริงอันไม่แปรปรวน และระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วได้ความเชื่อความเลื่อมใส ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วได้บรรลุถึงคุณพิเศษ ในพระพุทธศาสนา คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์”

“เพราะฉะนั้นในบัดนี้จงตั้งพระราชหฤทัยระลึกถึงพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระบรมศาสดา ผู้ประกาศศาสนธรรม อันประกาศสัจธรรม ธรรมะที่เป็นจริง และระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เช่นนี้จึงควรบวชในพระพุทธศาสนา การบวชในพระพุทธศาสนา ท่านสอนให้เรียน ตจปัญจกกัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานที่มีหนังเป็นที่ 5 เพราะฉะนั้นจงตั้งพระราชหฤทัย ทรงว่าตามไปโดยบทพระบาลีก่อน เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา จงศึกษาให้รู้เนื้อความ เกสา ได้แก่ผมที่งอกอยู่บนศีรษะ โลมา ได้แก่ขนที่งอกอยู่ทั่วตัว เว้นฝ่ามือฝ่าเท้า นขา ได้แก่เล็บที่งอกอยู่ตามปลายมือ ปลายเท้า ทันตา ได้แก่ฟันที่งอกอยู่ในกระดูกคางเบื้องล่าง เบื้องบนสำหรับบดเคี้ยวอาหาร ตโจ ได้แก่หนังที่หุ้มอยู่ทั่ว ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เหล่านี้ ถ้าทิ้งอยู่ตามที่ของมันก็จะปฏิกูลโสโครก เพราะธุลีละอองที่มาจับบ้าง ออกมาจากร่างกายเดิมบ้าง เพราะฉะนั้นบุคคลจึงต้องชำระล้างขัดสีตกแต่งเอาของหอมเข้า อบกลิ่นเพื่อแก้กันปฏิกูลโสโครก”

“ถึงเช่นนั้นก็ไม่สามารถจะแก้กันให้เด็ดขาดไปได้ เพียงแต่ปะทะปะทังไว้เพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ที่เป็นของปฏิกูลโสโครกอย่างไร ก็คงแสดงปฏิกูลโสโครกน่าเกลียดออกมาอย่างนั้น ให้เห็นอยู่เป็นธรรมดา แต่คน ไม่พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง จึงหลงรักหลงเกลียด แล้วก็ประทุษร้ายกัน เมื่อ ใช้พระปัญญาพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ทั้ง 5 เห็นเป็นของปฏิกูลโสโครก น่าเกลียดก็พึงยึดรักษาอารมณ์อันนั้นไว้ เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งสมาธิและเป็นที่ตั้งแห่งปัญญาต่อไป ในบัดนี้จะถวายผ้ากาสายะเพื่อได้ทรงครองอุปสมบท”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน