…●“จงทำตนให้เป็นคนมักน้อย สันโดษ กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ทำให้มันหมดโลกีย์” สารธรรมมงคล หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี…●

“หลวงปู่เริ่ม ปรโม” หรือ “พระครูศรีฉฬังคสังวร” เจ้าอาวาสวัดจุกกะเฌอ จ.ชลบุรี พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองชลบุรี ได้สร้าง พระปิดตา เนื้อทองลำอู่ ก้นอุดด้วยคตมะพร้าวหรือกะลามหาอุตม์ เป็นกะลาไม่มีตา เรียกว่า คตกะลา รู้จักกันดีในแวดวงนักนิยมเครื่องรางของขลังว่า เป็นยอดของกะลา เอามาทำเครื่องรางได้เข้มขลังยิ่ง และหายากยิ่งกว่ากะลาตาเดียว…●

รอบด้านวงการพระ

พระปิดตา หลวงปู่เริ่ม

 

ลักษณะของพระปิดตาทองลำอู่ เป็นพระปิดตาทรงชะลูด พุงป่องนั่งขัดสมาธิราบบนฐาน คือ ฐานบัว 2 ชั้น ด้านหลังปลายจีวรเป็นปากตะขาบ ตอกโค้ด ร กำกับทุกองค์ ไม่มีการฝังตะกรุดไว้ใต้ฐาน พระปิดตาทองลำอู่สร้างเพียงเนื้อเดียว มีจำนวนทั้งสิ้น 2,528 องค์ เมื่อบรรจุผงเสร็จได้นำไปให้หลวงปู่เริ่มปลุกเสก ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2528 ก่อนเปิดให้เช่าบูชา เมื่อวันที่ 19 ก.พ.2528 เป็นวัตถุมงคลที่มีอนาคต …●

“หลวงปู่ชู ฉันทสโร” อดีตเจ้าอาวาสวัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง สิ่งที่ยังคงเหลือเป็นที่รู้จักกันอย่างดี คือ วัตถุมงคลต่างๆ ที่ได้สร้างไว้ ล้วนได้รับความนิยม โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรก จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2471 ที่ระลึกในงานทำบุญอายุครบ 70 ปี จัดสร้างจำนวนเพียง 70 เหรียญ และมีการจัดสร้างเฉพาะเนื้อเงินกะไหล่ทองเท่านั้น…●

รอบด้านวงการพระ

เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ชู

 

ลักษณะเป็นรูปทรงเสมา มีหูห่วง ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ชูนั่งสมาธิราบในรูปวงรี ด้านบนมีอักขรยันต์โดยรอบมีข้อความจารึก “ที่ระฦกในการ ทำบุญอายุครบ ๗๐ ปี” ด้านหลังเป็นรอยปั๊มบุ๋มแบบหลังแบบ ไม่มีอักษรใด มีรอยจาร ปัจจุบันเป็นอีกเหรียญที่พบเห็นได้ยาก…●

“พระธัมมวิตักโกภิกขุ” หรือ “พระยานรรัตนราชมานิต” วงการพระเครื่องเรียกขนานท่านด้วยความเคารพว่า “เจ้าคุณนรฯ” วัตถุมงคลของท่านล้วนเป็นที่นิยมสะสม โดยเฉพาะ “เหรียญโภคทรัพย์ เจ้าคุณนรฯ พ.ศ.2513” จัดสร้างโดย พระมหาสงัด สุวิเวโก วัดเทพศิรินทราวาส และเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิต เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.2513…● อ

รอบด้านวงการพระ

เหรียญโภคทรัพย์ เจ้าคุณนรฯ

 

อกแบบและปั๊ม โดยกองกษาปณ์ มีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ เนื้อทองคำ เงิน นวโลหะผิวไฟ และนวโลหะ ลักษณะเป็นทรงกลม ไม่มีหูห่วง ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนเจ้าคุณนรฯ หันข้าง ด้านล่างใต้รูปเหมือนมีอักษรฉายาว่า ธมฺมวิตกฺโก ด้านหลังเป็นยันต์น้ำเต้าหรือยันต์ภควัม ภายในบรรจุอักขระขอม 6 ตัว และตัวปีพ.ศ.ที่สร้าง คือ ๒๕๑๓ ด้านข้างเป็นขอบสตางค์ ด้วยเหตุที่มีความคล้ายกับเหรียญเงินบาทที่ใช้ในปัจจุบัน จึงอุปมาได้ว่า ใครมีเหรียญดังกล่าวไว้บูชา จะเป็นโภคทรัพย์มงคลกับชีวิต…●

อริยะ เผดียงธรรม

[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน