รู้ไปโม้ด : ตรุษจีน (ตอนแรก)

ตรุษจีน (ตอนแรก) : ประวัติตรุษจีน มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่

หนูแป๋ว

ตอบ หนูแป๋ว

มีคำตอบอยู่ในบทความความเป็นมาของตรุษจีน เทศกาลอายุกว่า 2,000 ปี เคยถูกปีใหม่สากลยึดเวทีอ้างอิงข้อมูลจากหนังสือ เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้ โดย ถาวร สิกขโกศล เผยแพร่ในเว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม www.silpa-mag.com ดังนี้

ภาพคนจีนนับแสนนับล้านเดินทางกลับประเทศในเทศกาลตรุษจีนก็ดี ภาพคนจับจ่ายซื้อของเซ่นไหว้มากมายสำหรับวันตรุษจีนก็ดี ฯลฯ เป็นใครก็อดคิดไม่ได้ว่า ตรุษจีนเป็นเทศกาลยิ่งใหญ่ แต่ในความจริงตรุษจีนเป็นเทศกาลหน้าใหม่ และมีชะตาที่ผกผันไม่น้อย โดยก่อนที่จะมีการกำหนดให้ตรุษจีนเป็นเทศกาลปีใหม่ จีนมีวันปีใหม่มาก่อนหน้าถึง 2 วันด้วยกัน

 

1.ตงจื้อ (ตั้งโจ๊ยะสารทขนมบัวลอย) เป็นวันสารทปีใหม่ตามปรากฏการณ์สำคัญของธรรมชาติที่กลางวันจะเริ่มยาวขึ้น หรือปีใหม่ทางดาราศาสตร์แบบจีนโบราณ ช่วงนี้เก็บเกี่ยวเสร็จแล้วมีอาหารสมบูรณ์ที่สุด เป็นวันปีใหม่ของจีนมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว (503 ปีก่อนพุทธศักราช..322) นับเป็นเทศกาลปีใหม่เก่าแก่ที่สุดของจีน และ เป็นวันปีใหม่ตามฤดูกาล และการเกษตร ตรงกับวันที่ 4 หรือ 5 กุมภาพันธ์ (ยกเว้นปี อธิกมาส) เพราะหิมะเริ่มละลาย เตรียมตัวทำนา ทำมาหากิน เดิมลี่ชุนเป็นเทศกาลปีใหม่ที่คึกคักกว่าวัน 1 ค่ำ เดือนอ้าย เพราะมี ความสำคัญกับวิถีชีวิต ตั้งแต่ทาง การใช้ปฏิทินไท่ชู (ประกาศใช้เมื่อพ..439) เป็นต้นมา

ส่วนวันสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ ตามปฏิทินจันทรคติของจีนโบราณ หรือวันตรุษจีนนั้นไม่คึกคัก เพราะสัมพันธ์กับธรรมชาติและวิถีชีวิตน้อยกว่าวันปีใหม่วันอื่น อีกทั้งเปลี่ยนไปตามปฏิทินของทางราชการด้วย ในสมัยโบราณวันขึ้นปีใหม่และสิ้นปีเก่าที่เรียกว่า ตรุษจีน จึงมีความสำคัญน้อย และเพิ่งเปลี่ยนมาเป็นวันปีใหม่ของจีนในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (..340-551) หรือประมาณ 2,000 กว่าปีนี้เอง

ตัวเทศกาลหลักของตรุษจีนคือวันสิ้นปีเก่าและวันขึ้นปีใหม่ ปัจจุบันจีนยังแยกตรุษจีนออกเป็น 2 เทศกาล วันสิ้นปีเรียกว่าฉูซี่ตัดปี คืนสุดท้ายวันขึ้นปีใหม่เรียกว่าชุนเจี้ยเทศกาลวสันต์หรือหยวนตันปฐมวาร

ความจริงตัววันตรุษจีนคือวันสิ้นปี (วันไหว้ใหญ่ของตรุษจีนเมืองไทย) เพราะตรุษแปลว่า ตัด คือ ตัดปี หรือสิ้นปี เช่น ตรุษไทย คือวันแรม 15 ค่ำ สิ้นเดือนสี่ ขึ้น 1 ค่ำเดือนห้า เป็นปีใหม่ เปลี่ยนนักษัตร (แต่ปัจจุบันนิยมไปฉลองใหญ่ในวันสงกรานต์ซึ่งเป็นวันปีใหม่ เปลี่ยนจุลศักราช) ที่ปฏิทินเมืองไทยพิมพ์ว่าวัน 1 ค่ำเดือนอ้ายจีนเป็นวันตรุษจีนนั้นไม่ถูก แต่ก็ใช้กันมาจนชิน จนผิดกลายเป็นถูก ยากที่จะแก้ไขได้

ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ตรุษจีนเป็นเทศกาลอันเนื่องด้วยการบวงสรวงเพื่อการเกษตรเป็นสําคัญ ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ (..963-1132) จึงมีกิจกรรมอันเนื่องด้วยผีสางและไสยศาสตร์เพิ่มเข้ามา เช่น จุดประทัด เปลี่ยนยันต์ไม้ท้อ ดื่มสุราถูซู เฝ้าปี ช่วงเวลาของเทศกาลก็ขยายยาวออกไปจนเชื่อมตั้งแต่เทศกาลล่าปาไปจนถึงเทศกาลหยวนเซียว และสําคัญที่สุดของจีนตั้งแต่นั้นมา

สมัยราชวงศ์ถัง (..1161-1450) กิจกรรมในเทศกาลตรุษจีนวิวัฒน์จากการบวงสรวงทางการเกษตรและความเชื่อทางไสยศาสตร์มาเป็นกิจกรรมบันเทิงและวัฒนธรรมตามประเพณีเป็นสําคัญ การจุดประทัดมุ่งความสนุกสนานเฉลิมฉลองมากกว่าไล่ผี ตั้งแต่ราชวงศ์ถังเป็นต้นมา ตรุษจีนเป็นเทศกาลมงคลเฉลิมฉลองใหญ่ร่วมกันของคนทั่วประเทศ

ถึงราชวงศ์หมิงและชิง เทศกาลตรุษจีนมีพัฒนาการไป 2 ด้าน คือ 1.มีกิจกรรมทางสังคมชัดขึ้น เช่น การคารวะอวยพรปีใหม่ ส่งบัตรอวยพรปีใหม่ 2.มีกิจกรรมด้านศิลปะและความบันเทิงมากขึ้น เช่น เชิดสิงโต เชิดมังกร มหรสพและการละเล่นรื่นเริงอีกมากมาย เป็นเทศกาลใหญ่คึกคักสนุกสนานที่สุดตลอดมาจนสิ้นราชวงศ์

ฉบับพรุ่งนี้ (28 ..) ติดตามชะตาตรุษจีนกันต่อ

[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน