ทับหลัง ปราสาทเขาโล้น-หนองหงส์

3 ทับหลังมีประวัติศาสตร์ร่วมกันดังนี้

1. ถูกขโมยไปสหรัฐ ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันระหว่างสงครามเวียดนาม (สมัยสงครามเย็น) และ 2. อยู่บนเส้นทางคมนาคมเดียวกันเกือบพันปีมาแล้ว ระหว่างที่ราบสูงอีสานในไทยกับที่ราบลุ่มโตนเลสาบในกัมพูชา หรือระหว่างลุ่มน้ำมูลกับโตนเลสาบ

สำหรับทับหลัง 2 ชิ้น ที่ได้รับคืนมาล่าสุด หนึ่งคือแผ่นลายสลักรูปพระยมทรงกระบือ จากปราสาททางทิศใต้ของปราสาทหนองหงส์ อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ หนึ่งคือแผ่นลายสลักรูปพระอินทร์ประทับเหนือหน้ากาล (เกียรติมุข) จากปราสาทเขาโล้น อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว

หนังสือ ศิลปะสมัยลพบุรี โดย ศาสตราจารย์หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ถูกตีพิมพ์ ปรากฏภาพทับหลังปราสาทเขาโล้น อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว ประดับบนปราสาท (ขณะนั้นยังอยู่ ในเขต จ.ปราจีนบุรี) มีคำอธิบายโดย ศาสตราจารย์หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ว่า

“ปราสาทเขาโล้นเป็นปราสาทหลังเดียว ก่อด้วยอิฐ ทับหลังสลักเป็นรูปเกียรติมุขอยู่ตรงกลาง มีริมฝีปากล่างและแลบลิ้นออกมาเป็นแผ่นสามเหลี่ยม มีเทวดาประทับนั่งชันเข่าอยู่ข้างบนอย่างไรก็ดี ท่อนพวงมาลัยนั้นมิได้ออกมาจากปาก แต่อยู่ใต้ลิ้นและท่อนปลายของพวงมาลัยก็ขมวดเป็นวงโค้งสลับกันเพียง ข้างละ 2 วงเท่านั้น เหตุนั้นจึงอาจอยู่ในระหว่าง พ.ศ.1700-1750 แทนที่จะอยู่ระหว่าง พ.ศ.1600-1650 เสาอิงกรอบประตูและกรอบประตูหินทรายก็ดูอาจจะเก่าแก่กว่าระยะนี้”

“อายุของปราสาทอิฐแห่งนี้ยังไม่สู้แน่นอนนัก มีจารึกสลักอยู่บนกรอบประตูด้านใต้และด้านเหนือบ่งถึง พ.ศ.1559 แต่เสาอิงประตูและกรอบประตูหินทรายเหล่านี้ อาจจะนำมาจากปราสาทหลังอื่นที่เก่าแก่กว่านี้ก็ได้”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน