นครวัด

คติ- สัญญลักษณ์สถาปัตยกรรม

ความสัมพันธ์และความสอดคล้องในความเชื่อเรื่องของโลก ของสวรรค์ นรก หรือที่เรียกว่า จักรวาลทัศน์ ระหว่างศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู กับพุทธเถรวาท ดูจะเป็นเรื่องเดียวกัน

นครวัด สถาปัตยกรรมปราสาทหินที่ยิ่งใหญ่ของวัฒนธรรมขอม ที่มีศรัทธาในนิกายไวษณพนิกาย อันปรากฏในคติของเขาพระสุเมรุหรือเขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางของสิ่งที่เรียกว่า จักรวาลทัศน์ ที่คล้องกับเรื่องของเขาพระสุเมรุในไตรภูมิกถา จะมีข้อ แตกต่างกันในองค์ประกอบบางส่วน (ที่จะยกขึ้นมาบรรยายความหมายหรือสัญลักษณ์ขององค์ประกอบนั้นต่อไป

ตามภาพที่ปรากฏ นครวัดเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาลทัศน์ในวัฒนธรรมขอมที่หมายถึงเขาไกรลาส อันเป็นที่สถิตของพระเจ้าสูงสุดของศาสนาฮินดู นิกายไวษณพนิกาย เนื่องจากพระนามของพระเจ้า สุริยวรมันที่ 2 เมื่อสวรรคตไปแล้ว มีพระนามใหม่ว่า บรมวิษณุโลก

ปราสาทนครวัด มี 5 ยอด เช่นเดียวกับความเชื่อในจักรวาลทัศน์ในไตรภูมิกถา ปราสาทองค์กลางสูงที่สุด คือ เขาไกรลาส, ปราสาทองค์รอง 4 องค์รอบ คือ อนุทวีป ที่ตั้งอยู่ในทิศทั้ง 4

กำแพงของปราสาทคือ กำแพงจักรวาล, คูน้ำรอบปราสาททั้งหมดคือ มหาสมุทรหรือทะเลสีทันดร ที่ล้อมรอบแผ่นดิน, สะพานสายรุ้ง หรือทางเข้า ด้านหน้าที่มีสิงห์เฝ้าอยู่ปลายสะพาน คือ สะพานที่ เชื่อมต่อระหว่างโลกกับสวรรค์








Advertisement

ความแตกต่างเล็กน้อยขององค์ประกอบหรือ รายละเอียด รูปแบบ อาจจะมีความหมายที่แตกต่างกันกับคติความเชื่อของพุทธเถรวาทไทยบ้างเล็กน้อย ซึ่งจะนำมาบรรยายข้อสังเกตตอนต่อไป

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน