พระอาทิตย์ พระจันทร์

คติ – สัญญลักษณ์ สถาปัตยกรรม

ศาสนา ศรัทธา ความเชื่อต่างๆ ที่มีขึ้นและมีอยู่ในสังคมของมนุษย์นั้นจะมีการนำเอาธรรมชาติสภาพแวดล้อม สัตว์ สิ่งของ หรือสร้างสรรค์รูปทรงต่างๆ มาแสดงความหมายเป็นคุณสมบัติทางจริยธรรม ศีลธรรม เป็นคติ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่อาจจะคล้ายคลึงกัน

เช่น พระอาทิตย์ พระจันทร์ ที่ปรากฏอยู่ในศาสนาหรือศรัทธาอื่น สมัยยุคบาลิโลน สี่พันปีล่วงมาแล้ว ชาวบาบิโลนนำเอาดวงอาทิตย์มาเป็นเทพนามชาบาล เอาดวงจันทร์มาเป็นเทพนาม ชินและเอาดวงดาวมาเป็นเทพนาม อิชตา

ส่งต่อมาจนถึงชาวอาหรับ ซึ่งเมื่อรับอิสลามเข้าเป็นศาสนาประจำชาติของตน ก็รับเอาดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มาเป็นสัญลักษณ์ของชนชาติ แต่มิใช่เทพหรือเทวดา แต่ใช้เป็นเครื่องหมายของเวลา จนมีผู้เปรียบเทียบว่า ดวงจันทร์เสี้ยวเป็นอัลเลาะห์ และดวงดาวคือ นบีมูฮัมหมัด คือเป็นหลักของศาสนาที่แยกออกมิได้ และใช้สัญลักษณ์ของจันทร์เสี้ยวกับดวงดาวไปประดับไว้ที่ยอดมัสยิด

ชมพูทวีป ดวงอาทิตย์เป็นเทพเริ่มต้นที่เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดหรือให้กำเนิดแก่สิ่งมีชีวิตทั้งมวล ต่อมาภายหลังจึงเกิดเป็นเทพสำคัญองค์อื่นตามมา เช่น พระศิวะ ผู้มีปุ่มมวยผมประดับด้วยจันทร์เสี้ยว ในประเทศไทยปรากฏรูปเคารพที่เมืองศรีเทพ เรียกว่า รูปสุริยเทพ

ประเทศไทย พระอาทิตย์และพระจันทร์มีบทบาทและความสำคัญลดลง เป็นสัญลักษณ์ของกาลเวลา พระอาทิตย์และพระจันทร์มีรูปเป็นเทวดา ทรงรถขับข้ามจักรวาลทุกวัน

พระอาทิตย์และพระจันทร์ในภาพเทวดาที่สวยมากปรากฏอยู่ที่ฉากเวลาของศูนย์วัฒนธรรมกรุงเทพฯ

ในพุทธศาสนามีการเปรียบเทียบความร้อนของดวง อาทิตย์กับกิเลสของมนุษย์ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ชื่อ อาทิตยลักขณสูตร

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน