สวรรค์

คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม

สวรรค์มิใช่สถานที่หรือพื้นที่ใดที่ปรากฏขึ้นในโลกนี้ แต่เป็นพื้นที่ในจินตนาการของผู้คนที่เชื่อในชีวิตหลังความตาย

บรรดาผู้คน ที่เชื่อในชีวิตหลัง ความตายในศาสนาต่างๆ ผู้ที่ขึ้นสู่สวรรค์คือผู้ที่จะได้รับบำเหน็จจากการกระทำที่เรียกว่า กระทำดี มีศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าในขณะที่มีชีวิตอยู่ บนโลก เมื่อตายลงชีวิตหลังความตายก็จะไปสู่สวรรค์ แต่ถ้า เป็นผู้ประพฤติชั่ว ชีวิตหลังความตายก็ไปสู่นรก

ศาสนาที่เก่าแก่ เช่น ศาสนาของชาวไอยคุปต์ที่มาจากผลงานการสืบค้นของ สืบ สิบสาม นิตยสารต่าย’ตูน กล่าวถึง ดินแดนแห่งสวรรค์ หรือดินแดนที่จะได้ไปใช้ชีวิตหลังความตายเรียกว่า “ทุ่งต้นกก” ซึ่งผู้ตายจะต้องเดินทางผ่านความยากลำบาก ฝ่าอันตรายที่จะถูกสัตว์ร้ายกัดกินไปมีชีวิตอันเป็นนิรันดร์ร่วมกับเทพรา ผู้เป็นใหญ่ทั้งในนรกและสวรรค์

สวรรค์ในคติของศาสนายิวหรือของศาสนาคริสต์นั้น รางวัลหรือบำเหน็จของผู้กระทำดีคือ การมีชีวิตที่ยืนยาวอยู่บนโลก ที่ยาวนาน ซึ่งตำนานทั้งหลายจะกล่าวถึงความยืนนานของ ศาสดาต่างๆ

ต่อมาภายหลังมีการพัฒนาไปว่า พระผู้เป็นเจ้านั้นประทับ อยู่บนสรวงสวรรค์ ผู้คนที่ประพฤติดีมีศีลธรรม มีศรัทธาใน พระผู้เป็นเจ้า จะได้ไปสถิตอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าในสรวงสวรรค์ อันเป็นนิรันดร์ ส่วนผู้ที่ประพฤติตนเป็นคนเลว กดขี่ ขูดรีด กระทำการอันเป็นการเบียดเบียนผู้อื่นเป็นคนเลว ต้องไปอยู่ในนรกอันมีไฟบาปมาเผา (คล้ายกับนรกของชาวมุสลิม)

บางครั้งก็กล่าวกันว่า สวรรค์นั้นอยู่ที่เส้นขอบฟ้า Horizon

ศาสนาอิสลาม ผู้ที่จะได้ขึ้นสู่สวรรค์จะต้องผ่านการพิจารณาในวันสิ้นโลก ต้องเป็นผู้มีศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า ต้องไม่มีศรัทธาในพระเจ้าองค์อื่นๆ อีก และต้องไม่ยกตนให้เหมือนพระผู้เป็นเจ้า ในวันพิพากษาโลก กายของผู้ตายและวิญญาณจะกลับมา รวมกัน เพื่อการพิพากษาว่าการใช้ชีวิตในโลกนั้น ได้กระทำ สิ่งที่ดีหรือทำชั่วอย่างไร

สวรรค์จึงเป็นที่อยู่ของชีวิตอันเป็นนิรันดร์ จะอุดมสมบูรณ์และงดงามด้วยธรรมชาติ แต่หากเป็นผู้ประพฤติชั่วตั้งแต่การเบียดเบียนผู้อื่น การฆ่าฟันทำลายชีวิต ลักทรัพย์ โกหกหลอกลวง และที่สำคัญคือ การไม่ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า การเปลี่ยนศรัทธาไปสู่ความเชื่อมั่นจะต้องตกไปสู่นรกที่มีไฟนรกที่ร้อนแรง เผาผลาญอยู่ชั่วนิรันดร์

สำหรับศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธจะกล่าวถึงตอนต่อไป

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน