คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม : การเข้าบัว – โดย…ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

คนภาคอีสานมีขนบธรรมเนียมที่จะเก็บอัฐิของผู้คน โดยเฉพาะผู้มีฐานะทางสังคมหรือมีฐานะเป็นญาติ เป็นผู้ใหญ่อันเป็นที่เคารพนับถือไว้ที่วัด

โดยนำซุงไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 6 นิ้ว ถึง 8 นิ้ว มาแกะสลักให้มียอดแหลมสัณฐานเหมือนดอกบัว และแกะสลักท่อนกลางของซุงไม้เป็นลวดลายบัว บริเวณส่วนที่ใต้รูปบัวจะเจาะช่องเอาไว้สำหรับเก็บอัฐิผู้วายชนม์อาจจะใส่ไว้ในโถแก้วหรือโถกระเบื้องก็มี

การเข้าบัว

แต่ถ้ามีฐานะดีขึ้นก็จะทำธาตุนั้นด้วยการก่ออิฐ ปูนปั้น มีรูปแบบคล้ายสถูป หรือเจดีย์มีปลายยอดแหลม เหมือนดอกบัว แต่มีขนาดทั้งองค์ไม่ใหญ่นัก เรียกว่า บัว และการเก็บอัฐิเรียกกันว่า การเข้าบัว เพื่อให้ลูกหลานได้มาทำบุญอุทิศส่วนกุศลในวันสงกรานต์

การเข้าบัวก็คือ สัญลักษณ์ของการคืนสู่สวรรค์หรือการกลับไปสู่ป่าหิมพานต์อันเป็นดินแดนที่ไม่มีการเบียดเบียนกันของสัตว์โลก

ที่ไม่ทำใหญ่โตก็ด้วยเหตุของการยอมรับฐานะของปุถุชนคนธรรมดาที่มิได้จุติมาจากสวรรค์ แต่ต้องการความสงบสุข จึงหวังแต่พื้นที่แห่งความสงบ ก็คือ แดนหิมพานต์ อันเป็นพื้นที่รอบเขาพระสุเมรุหรือสวรรค์ ที่ที่ซึ่งสรรพสัตว์ทั้งหลายมิได้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน