คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม

ม็อบ‘แผ่ว’จริงเหรอ – เป็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง สำหรับการประเมินสถานการณ์การชุมนุมของเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ที่ระบุว่าม็อบราษฎรเริ่มแผ่ว

โดยหยิบยกจำนวนตัวเลขของผู้ชุมนุมที่ลดลง โดยในกทม.มีผู้ชุมนุมยอดสูงสุด 1.5 หมื่นคน และในต่างจังหวัดทั่วประเทศ มีผู้ชุมนุมไม่เกิน 2 หมื่นคน

ซึ่งคงเป็นสถานการณ์ที่สร้างความสบายใจให้กับพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหมได้ในระดับหนึ่ง

ซึ่งแน่นอนว่าในการชุมนุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 14 .. ในการชุมนุมที่ใช้ชื่อว่าม็อบเฟสต์ก็มีลักษณะไม่ต่างจากที่สมช.ประเมิน

แต่กลายเป็นคำถามว่า ม็อบของราษฎรนี้แผ่วลงจริงหรือไม่!??

และเมื่อม็อบแผ่ว จะเกิดอะไรขึ้น ทุกคนจะเลิกข้อเรียกร้อง 3 ข้อ แล้วหันไปเชียร์ให้พล..ประยุทธ์ เป็นนายกฯต่อ และไม่จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นนั้นเหรอ

ทุกอย่างที่ขับเคลื่อน สร้างแนวคิดความเท่าเทียมกัน การยุติคุกคามผู้เห็นต่าง หรือการใช้กฎหมายอย่างไม่ถูกต้อง








Advertisement

สิ่งเหล่านี้จะหายวับไปในพริบตา แล้วกลับไปเป็นแบบเดิมๆ อย่างนั้นเหรอ

หากใช้เหตุและผลพิจารณา ก็ควรจะรู้แล้วว่า อาการแผ่วที่ประเมินเอาไว้นั้นมีข้อเท็จจริงอยู่มากน้อยเพียงใด

เพราะทุกอย่างกลายเป็นแนวคิด เป็นข้อเรียกร้อง ที่ปลูกฝังในใจของประชาชนไปเรียบร้อย

ทลายเพดานทางความคิดที่ตีกรอบเอาไว้เรียบร้อยหมดสิ้น

เปรียบเสมือนสายน้ำที่ไม่ไหลย้อนกลับไปแล้วไปเลย

จึงอยู่ที่ว่าทุกภาคส่วนจะปรับตัวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น กับโลกที่หมุนเปลี่ยนไปเช่นนี้อย่างไร

ซึ่งตามทฤษฎีวิวัฒนาการ อะไรที่ปรับตัวไม่ได้ ย่อมถูกทอดทิ้ง และล่มสลายในที่สุด

ทั้งนี้ การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่สภาจะพิจารณาในวันที่ 17-18 .. ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะแสดงออกให้เห็นว่า พร้อมจะปรับตัว จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้หรือไม่

หรือจะยังหลงอยู่กับความแผ่วของม็อบ ที่เปรียบเสมือนภาพมายา

อยู่ที่ว่าจะเลือกเอาทางไหน

แต่หากไม่เลือกเส้นทางตามเจตจำนงของประชาชน

ประชาชนก็คงจะต้องเลือกให้เอง และเมื่อถึงวันนั้นก็ต้องรับผลที่เกิดขึ้น โดยไม่มีสิทธิโอดครวญ!??

 

รุก กลางกระดาน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน