กระทรวงสาธารณสุขวางแผนปลดโรคระบาดเชื้อโควิด-19 เตรียมประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่นตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้
สำหรับเกณฑ์พิจารณานั้น จะต้องมีผู้ป่วยรายใหม่ไม่เกิน 10,000 คนต่อวัน อัตราป่วยตายน้อยกว่า ร้อยละ 0.1 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล น้อยกว่าร้อยละ 10 และกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรงได้รับวัคซีนอย่างน้อย 2 โดส มากกว่าร้อยละ 80

เมื่อหลายวันก่อน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.สาธารณสุข เดินทางลงพื้นที่ จ.สุรินทร์ กล่าวระหว่างเปิดงานว่า ผู้ว่าฯ สุรินทร์ ตั้งเป้าจะเป็นจังหวัดแรกที่เปลี่ยนโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งกระทรวงพร้อมสนับสนุน
ขณะที่นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าฯ สุรินทร์ เปิดเผยว่าจังหวัดมีฐานความพร้อมนำร่องในวันที่ 1 เมษายนนี้ ซึ่งต้องดำเนินการ 3 เรื่อง คือ
ปัจจัยเชื้อโรค อัตราผู้ป่วยครองเตียง หรือผู้ป่วยหนักต้องไม่เกินร้อยละ 3 ของผู้ป่วยติดเชื้อทั้งหมด และอัตราการเสียชีวิตไม่เกินร้อยละ 0.5 ซึ่งข้อมูลของ ผู้ป่วยหนักของจังหวัดแทบไม่มีเลย
ปัจจัยเรื่องคน ประชาชนต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนประชากร ขณะนี้เข็ม 1 ร้อยละ 67.35 เข็มที่ 2 ร้อยละ 61.11
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ทุกหมู่บ้านต้องมีชุดตรวจเอทีเคไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของประชากร เพื่อคัดกรองผู้ป่วยออกไป และจัดสถานที่พักพิงให้ เตียงสำหรับ ผู้ป่วยมีเพียงพอ

ล่าสุด คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสุรินทร์ มีมติเลื่อนประกาศโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นออกไปก่อน
ระบุมาตรการ 13 ข้อนั้น มีอีกหลายข้อที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ จึงขอให้เลื่อนออกไปหลังสงกรานต์
เพราะช่วงสงกรานต์ อาจจะมีคลัสเตอร์อีกรอบ ซึ่งยังประเมินสถานการณ์ยากอยู่
ทั้งนี้ อัตราการครองเตียงผู้ป่วยของจังหวัดสุรินทร์ยังสูงอยู่ คร่าวๆ ค่าเฉลี่ยกว่า 8% ซึ่งเกณฑ์อยู่เพียง 3% อาจมาจากวัคซีน เข็ม 3 ที่ยังมีตัวเลขไม่ถึง 20% ทำให้มีผู้ป่วยหนักยังสูงอยู่ จำนวนเตียงทั้งหมดในโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลสนามอยู่ที่ 671 เตียง มีผู้ป่วยหนัก 71 เตียง ใส่ท่อช่วยหายใจ 8 เตียง
ตอนแรกออกตัวเร็วไปหน่อย แต่ก็ยังดีที่รู้ว่ายังไม่พร้อม!!

เภรี กุลาธรรม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน