5G สู่‘นิวนอร์มอล’วงการแพทย์

‘เอไอเอส’ผนึก‘ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์’

5G สู่‘นิวนอร์มอล’วงการแพทย์ ‘เอไอเอส’ผนึก‘ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์’ – ความพยายามสู้วิกฤต
โควิด-19 เป็นส่วนหนึ่งที่เร่งผลักดันให้เทคโนโลยี 5G เข้ามาพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพวงการแพทย์และสาธารณสุขจนเห็นภาพชัดเจนแล้ว

ผลงานที่ปรากฏอย่างทันใจและทันการณ์ เป็นความร่วมมือระหว่าง เอไอเอส และราชวิทยาลัย
จุฬาภรณ์ นำเครือข่าย 5G อัจฉริยะเต็มรูปแบบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ หรือ Total Telemedicine Solutions สนับสนุนบริการทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ขึ้นแท่นเป็นโรงพยาบาลต้นแบบแห่งการรักษาพยาบาลผ่านเทคโนโลยี 5G รายแรกของไทย

พร้อมยกระดับการศึกษาด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์และการวิจัยพัฒนาในอนาคต เพื่อให้เทคโนโลยีช่วยลดเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสให้คนไทย เข้าถึงบริการทางการแพทย์แบบเท่าเทียม รวมถึงพลิกโฉมสร้าง New Normal วงการแพทย์ ยกระดับสาธารณสุขไทยอย่างยั่งยืน ตามสโลแกน “5G ที่จับต้องได้ เพื่อทุกชีวิต”

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้เรามีโอกาสนำเทคโนโลยี 5G มาร่วมยกระดับศักยภาพการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 อย่างเต็มรูปแบบ ในหลากหลายมิติให้กับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ครอบคลุมตั้งแต่การนำ 5G เข้ามาผสมผสานเพิ่มขีดความสามารถให้กับเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์โดยตรง เพื่อทำให้อุปกรณ์ทางแพทย์สามารถทำงานและแสดงผลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น

5G สู่‘นิวนอร์มอล’วงการแพทย์ ‘เอไอเอส’ผนึก‘ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์’

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์

“วันนี้ ถือเป็น Big Move อีกก้าวสำคัญที่ยิ่งใหญ่ของการนำ 5G ช่วยเหลือและสนับสนุนการแพทย์อย่างเต็มรูปแบบไปอีกขั้น” ซีอีโอของเอไอเอสกล่าว

ก่อนหน้านี้ เอไอเอสประกาศวิสัยทัศน์ในฐานะผู้นำดิจิตอลไลฟ์เพื่อคนไทย ด้วยการเดินหน้าภารกิจเร่งด่วนนำเครือข่าย 5G ที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการนำมาประยุกต์ใช้เป็นโครงข่ายดิจิตอลพื้นฐานสำคัญสำหรับการปฏิบัติงานทางการแพทย์ เพื่อช่วยเหลือคนไทย และประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤตโรคระบาดโควิด-19

บริษัททยอยส่งมอบความช่วยเหลือถึงมือทีมแพทย์และพยาบาลผู้เป็นด่านหน้าในการรับมือวิกฤตนี้มาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปติดตั้งเครือข่าย 5G ในโรงพยาบาลที่รับตรวจและรักษาผู้ป่วยโควิด-19, การส่งมอบหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ 5G ROBOT FOR CARE เพื่อช่วยดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งส่งมอบไปแล้ว จำนวน 18 ตัว ให้กับโรงพยาบาล 17 แห่ง

“ขณะนี้เรากำลังเร่งพัฒนาและส่งมอบให้ครบทั้งหมดจำนวน 23 ตัว ให้กับโรงพยาบาล 22 แห่ง ภายในเดือนพฤษภาคม 2563 นอกเหนือจากประโยชน์ในแง่การแบ่งเบาภาระ ลดเสี่ยงลดสัมผัส ลดโอกาสติดเชื้อให้กับบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังทำให้คนไทยได้เห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี 5G ที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากช่วยลดข้อจำกัด และสร้างความเท่าเทียมในการรับบริการด้านสาธารณสุขของคนไทยในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน” นายสมชัยกล่าว

สําหรับเทคโนโลยี 5G ที่เอไอเอสนำมาร่วมยกระดับศักยภาพการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 อย่างเต็มรูปแบบ หรือ 5G Total Telemedicine Solutions เพื่อสนับสนุนบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ประกอบด้วย

1. ระบบประมวลผล AI อัจฉริยะสำหรับเครื่อง CT Scan ปอด บนเครือข่าย 5G เครื่องแรกของไทย

การวินิจฉัยโรคแม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น นำไปสู่การรักษาพยาบาลที่รวดเร็วและทันท่วงที ดังนั้นเทคโนโลยี 5G

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง CT Scan ให้ส่งภาพปอดที่มีไฟล์ขนาดกว่า 300 MB ขึ้นไปประมวลผลผ่านระบบ AI-assisted Medical Imaging Solutions for COVID-19 ได้อย่างรวดเร็ว

ระบบ AI นี้จะเปรียบเทียบภาพปอดของผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศจีนและไทยที่มีอยู่จำนวนหลายเคส บน Cloud Computing และประมวลผลว่าปอดของผู้ป่วยคนนี้ มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ และอยู่ในระยะใด ซึ่งให้ผลแม่นยำถึง 96% และช่วยลดเวลาทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างมาก จากเดิม 1 ชั่วโมง เหลือเพียง 30 วินาที

5G สู่‘นิวนอร์มอล’วงการแพทย์ ‘เอไอเอส’ผนึก‘ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์’

ระบบอัจฉริยะสำหรับเครื่อง ซีที สแกน ปอด

ทั้งนี้ เครือข่าย 5G ยังมีประโยชน์ที่เด่นชัดอย่างมากในด้าน Mobility ซึ่งหากนำเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ไปใช้งานในพื้นที่ห่างไกล ที่ไม่สามารถลากสายไฟเบอร์ออฟติกเข้าไปปล่อยสัญญาณได้ก็ใช้เครือข่าย 5G ได้แทน

2. ส่งมอบหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ 5G ROBOT FOR CARE

หุ่นยนต์นี้จะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยแพทย์ในการดูแลพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 อยู่หอผู้ป่วยในของผู้ป่วยโควิด-19 โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ประกอบด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่หลากหลาย อาทิ เทคโนโลยีอินฟราเรด ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายได้อย่างแม่นยำ, เทคโนโลยี 3 มิติ 3D Mapping กำหนดแผนที่เส้นทางเดินของหุ่นยนต์ ให้เคลื่อนที่เข้าหาผู้ป่วยได้โดยอัตโนมัติ

นอกจากนี้ยังมี Telemedicine ระบบปรึกษาทางไกลระหว่างแพทย์และผู้ป่วยผ่านวิดีโอคอลเพื่อให้แพทย์ที่อยู่ด้านนอกห้องใช้สมาร์ตดีไวซ์ เชื่อมต่อมาที่ตัวหุ่นยนต์ เพื่อพูดคุยและดูอาการคนไข้ภายในห้องพักได้ ทำงานบนเครือข่าย 5G ภายใต้ระบบประมวลผล AIS Robot Platform ซึ่งเอไอเอสพัฒนาขึ้นเอง ช่วยหลีกเลี่ยงการเข้ามาสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยตรง และทำตามความต้องการของผู้ใช้ให้ตอบโจทย์การใช้งานของแต่ละโรงพยาบาล

5G สู่‘นิวนอร์มอล’วงการแพทย์ ‘เอไอเอส’ผนึก‘ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์’

Telemedicine

3. สนับสนุนสมาร์ตดีไวซ์ เน็ตเวิร์ก และแอพพลิเคชั่น แบบครบวงจร

เพื่อเสริมประสิทธิภาพบริการปรึกษาแพทย์ทางไกล ด้วยระบบวิดีโอคอล ที่ศูนย์บริการ COVID-19 Call Center ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยร่วมกับแอพพลิเคชั่น “ME-MORE” (มีหมอ) แอพฯ พบแพทย์ออนไลน์ ที่ให้คนไข้หรือผู้สงสัยว่ามีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ปรึกษาแพทย์ทางไกลจากที่บ้านได้โดยไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล

เพียงลงทะเบียนผ่านแอพฯ ME-MORE จากนั้นระบบจะจัดสรรคิวในการพบและพูดคุยกับแพทย์ พร้อมรับคำแนะนำในการดูแลรักษาได้ทันที ในกรณีที่มีแนวโน้มว่าจะติดเชื้อและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ก็จะนัดเข้ามาตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งในอนาคตยังขยายผลไปสู่การดูแลรักษาโรคอื่นๆ อย่างเต็มรูปแบบได้อีกด้วย

4. นำ 5G มาสนับสนุนการเรียนการสอนแบบ Smart Class Room

นวัตกรรมนี้จะช่วยสร้างห้องเรียนอัจฉริยะเพื่อเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาคณะต่างๆ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทั้งการเรียนในห้องเรียนที่มีการเว้นระยะห่าง Social Distancing และการเรียนออนไลน์สำหรับนักศึกษา

รวมทั้งการฝึกปฏิบัติแบบเรียลไทม์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ที่จะช่วยประเมินการเรียนการสอนระหว่างอาจารย์และนักศึกษา

5G สู่‘นิวนอร์มอล’วงการแพทย์ ‘เอไอเอส’ผนึก‘ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์’

ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล

ด้าน ศาสตราจารย์นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นสถาบันการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ชั้นนำของภูมิภาค มีวัตถุประสงค์ในการผลิตและพัฒนาบุคลากรชั้นสูง วิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ รวมถึงเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ การสาธารณสุข และให้บริการทางการแพทย์ ช่วยเหลือผู้ป่วยทุกระดับชั้นให้ มีโอกาสเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

เป้าหมายสูงสุดคือการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 นี้ ทางโรงพยาบาลจุฬาภรณ์เองนำแพลตฟอร์มดิจิตอลรูปแบบต่างๆ มาช่วยในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 รวมถึงผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสงสัยติดเชื้อ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่ยังจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ก็ยังพบแพทย์อยู่ที่บ้านไม่จำเป็นต้องเดินทางมาโรงพยาบาลในช่วงนี้ ตามมาตรการให้การ “รักษาแบบมีระยะห่าง” ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย ตลอดจนลดความเสี่ยงการติดเชื้อจากการเผชิญหน้าของทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ทุกส่วนงาน

5G สู่‘นิวนอร์มอล’วงการแพทย์ ‘เอไอเอส’ผนึก‘ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์’

สาธิตวิดีโอคอลล์ผ่าน 5G ROBOT FOR CARE

“เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับเอไอเอส ในการยกระดับบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อเป็นโมเดลต้นแบบของนำเทคโนโลยีชั้นนำแห่งยุคอย่างนวัตกรรมเครือข่าย 5G มาสนับสนุนการทำงาน เสริมประสิทธิภาพการดูแลและตรวจรักษาผู้ป่วยในช่วงโควิด-19 ให้ดียิ่งขึ้น” ศ.นพ.นิธิกล่าว

เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เผยด้วยว่า ปัจจุบันเทคโนโลยี 5G ทำให้หมอให้คำปรึกษาทางไกลกับผู้ป่วย หรือผู้ป่วยหาหมอจากที่บ้านผ่านระบบ Telemedicine ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ที่ให้ภาพและเสียงที่คมชัด ช่วยให้แพทย์ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้นและวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

นอกจากนี้ระบบ AI บนเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดความเร็วสูง หรือ CT Scan ปอด ทำงานได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นเมื่ออยู่บนเครือข่าย 5G เพื่อให้การรักษาได้ทันท่วงที ยิ่งเมื่อมีหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ 5G ROBOT FOR CARE ที่ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย และวิดีโอคอลได้ ช่วยให้การติดตามและเฝ้าดูอาการผู้ป่วยโควิด-19 เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และช่วยลดการติดต่อระหว่างคนไข้ติดเชื้อกับบุคลากรทางการแพทย์

เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้เร็วที่สุด พร้อมผ่านสถานการณ์นี้ไปด้วยกัน!!

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน