สถานการณ์ “น้ำท่วม” กรุงเทพมหานคร ก่อให้เกิดการ “ระลึก” ในทางการเมืองโดยอัตโนมัติ

นั่นก็คือ ระลึกถึงสถานการณ์ “มหาอุทกภัย” ที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องเผชิญอย่าง หนักหนาสาหัสตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554

นึกขึ้นมาก็น่าเห็นอกเห็นใจอย่างยิ่ง

เพราะสถานการณ์ในเดือนตุลาคม 2554 ไม่เพียงแต่เป็นการ “ต้อนรับน้องใหม่” หากแต่ยังเป็นการ ปูพื้นก่อนเกิดการเคลื่อนไหวใหญ่ตามมาในอีก 1 และ 2 ปี

มีความจำเป็นต้องย้อนหวนทวน “เหตุการณ์”

มีความแตกต่างเป็นอย่างมากจากสถานการณ์ ปี 2554 กับสถานการณ์ปี 2565

สถานการณ์เดือนตุลาคม 2554 เป้าหมายคือรัฐบาล คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่สถานการณ์เดือนกันยายน 2565 เป้าหมายคือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์

เห็นว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ลองพิจารณา “ตัวละคร” ไม่ว่าจะเปิดหน้ามาเล่น ไม่ว่าที่แอบซ่อนในลักษณะ “อวตาร” ก็จะสัมผัสได้ว่ายังเป็นตัวละครหน้าเดิมๆ ไม่เปลี่ยนแปลง

เพ้อฝันว่าจะบดขยี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงได้

กรณีนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อาจปล่อยผ่านเลย แต่พรรคเพื่อไทยจำเป็นต้องขบคิด

ขบคิดว่าเหตุปัจจัยอะไรจึงทำให้สถานการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2554 จึงถูกแปรและขยายให้เห็นกระบวนการทางการเมืองอันเข้มข้น

เพราะความพ่ายแพ้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 กระนั้นหรือ

ภายในความพ่ายแพ้จากการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 นั่นเองที่นำไปสู่กระบวนการ “สมคบคิด” ในทางการเมืองอันซ้ำซ้อน

กระทั่งนำไปสู่รัฐประหารในเดือนพฤษภาคม 2557

จ ากพื้นฐานเมื่อเดือนตุลาคม 2554 จึงนำสู่พื้นฐานในเดือนกันยายน 2565

เพียงแต่สถานะของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความแข็งแกร่งและมั่นคงเป็น อย่างสูงบนรากฐานกว่า 1.3 ล้านคะแนนเสียง

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความพยายาม จึงยังอยู่ที่นั่น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน