ญี่ปุ่นยังคงนำสมัยในด้านนวัตกรรม แม้ทั่วโลกจะประสบปัญหาจากโรคระบาดโควิด-19 ทำให้หลายอย่าง หยุดชะงัก

แต่ไม่ใช่สำหรับการพัฒนานวัตกรรม สมัยใหม่ของประเทศญี่ปุ่น ที่ยังมุ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการผลิตคิดค้น หุ่นยนต์ปรุงอาหาร หุ่นยนต์ส่งอาหาร และหุ่นยนต์ชงกาแฟได้ด้วย รวมไปถึงรถบัสอัจฉริยะไร้คนขับ พาหนะไร้คนขับ

เมืองโยโกฮามา อีกเมืองท่าและเมืองอุตสาหกรรมสำคัญ

ทั้งหมดเป็นการพัฒนาในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ณ Haneda Innovation (HI) City เขตโอตะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

รวมถึงยังมีเมืองโยโกฮามา ซึ่งเป็นเมืองแห่งการพัฒนาระบบพลังงาน ภายใต้แผนพัฒนาเมืองโยโกฮามา สู่การเติบโตอย่างชาญฉลาด

โดยผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นายวีริศ อัมระปาล พร้อมคณะผู้บริหารและสื่อมวลชน เดินทางไปศึกษาดูงานด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรมสมัยใหม่ ระหว่างวันที่ 25-27 ส.ค.65

วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ภายใน Haneda Innovation (HI) City อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ คล้ายกับพื้นเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย ที่มีกว่า 10 จังหวัด

เป็นพื้นที่ถูกพัฒนาขึ้นมาภายใต้กฎหมายและการบริหารจัดการที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น การออกกฎหมายที่ค่อนข้างมีความเสรี และการให้สิทธิพิเศษต่างๆ ภายในพื้นที่ Haneda มีการใช้รถบัสไร้คนขับ ในการรับ-ส่งพนักงาน นั่งได้ 11 คน มูลค่ากว่า 40 ล้านเยน

คณะนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยศึกษาดูงาน

รถบัสคันนี้ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์จากกล้อง 11 ตัวรอบรถ ให้จอดตามป้ายที่กำหนดไว้ ให้จำกัดความเร็วตามที่กำหนดไว้ และยังมีระบบเบรกอัตโนมัติ เมื่อเจอสิ่งกีดขวาง

จากการทดลองนั่งรถบัสไร้คนขับ สัมผัสถึงความนิ่มนวลในการขับเคลื่อน แต่เมื่อเจอสิ่งกีดขวาง ระบบเบรกจะทำงานโดยฉับพลัน

รถบัสอัจฉริยะไร้คนขับที่ผลิตขึ้น

เมื่อสังเกตดูผู้คนที่อยู่ในเขตพื้นที่นั้นก็ใช้บริการกันอย่างคับคั่ง

จากนั้นทางคณะได้เยี่ยมชมโรงงานของเดนโซ (DENSO) ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี เดนโซเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับรถยนต์ อะไหล่รถยนต์

ทางบริษัท เดนโซ พัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยี และพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อให้รถยนต์มีความทันสมัย ที่สำคัญต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและก่อมลพิษน้อยที่สุด

เดนโซใช้พื้นที่นี้ในการทดลอง อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ หุ่นยนต์ผลิตอาหาร โดยจะถูกตั้งโปรแกรมให้ปรุงรส บรรจุใส่ภาชนะ นั้นแสดงว่ารสชาติจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน แล้วส่งต่อให้หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการหลบหลีกสิ่งกีดขวาง

ทดลองนั่งนวัตกรรมสุดล้ำรถบัสไร้คนขับ

เมื่อหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารไปถึงโต๊ะก็จะค่อยๆ บรรจงเสิร์ฟอาหารตรงหน้าเรา และยังมีหุ่นยนต์ที่สามารถชงกาแฟได้ด้วย

ทั้งหมดที่กล่าวมาถูกใช้จริง ปล่อยให้บริการจริงในเขตพื้นที่สมาร์ตซิตี้ ณ Haneda Innovation (HI) City

เยี่ยมชมโรงงานของเดนโซ ผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับรถยนต์และอะไหล่รถยนต์

ถัดมาคณะไปเยี่ยมชมโครงการพัฒนาเมืองของเมืองโยโกฮามา เป็นเมืองแห่งการพัฒนาระบบพลังงาน ภายใต้แผนพัฒนาเมืองโยโกฮามา สู่การเติบโตอย่างชาญฉลาด หรือ Yokohama Smart City Program (YSCP)

ซึ่งให้ความสำคัญต่อการใช้พลังงานใน 3 ส่วน ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม และการคมนาคมขนส่ง เพื่อเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ

สำหรับเมืองโยโกฮามา เป็นเมืองที่กำลังจะสร้างเมืองใหม่ เป็นเมืองคาร์บอน

สำหรับเมืองโยโกฮามาเป็นเมืองท่า ห่างจากเมืองหลวงของญี่ปุ่นอย่างโตเกียว 30 กิโลเมตร

ภายในเมืองโยโกฮามา พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรม เป็นโรงงานอุตสาหกรรม อู่ต่อเรือ แต่ปัจจุบันมีความทันสมัยมากขึ้น มีประชากรทั้วหมด 4 ล้านคน

ซึ่งมีพื้นที่บางส่วนที่ถมทะเล (พื้นที่สีฟ้า) พื้นทั้ง 186 เอเคอร์ โดยเป็นการถมทะเลโดยเทศบาลเมืองโยโกฮามา

พื้นที่ถูกถมทะเลสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างตึกอุตสาหกรรม มากกว่า 1,800 แห่ง อาทิ บริษัทนิสสัน ฮิตาชิ พื้นที่อยู่อาศัย

โดยการสร้างเมืองนี้คำนึงถึงการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อเป็นการคำนึงถึง สิ่งแวดล้อมและลดพลังงาน

การมาญี่ปุ่นครั้งนี้ นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ยังพบผู้บริหารอุตสาหกรรมหลายส่วน ก่อนสามารถปิดดีลใหญ่ ที่มีมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท ด้วยการชวนบริษัทเหล่านั้นมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย

สำหรับบริษัทที่จะมาลงทุน เป็นบริษัทผลิตปรินต์ เซอร์กิต บอร์ด เป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตพื้นฐานชิพยานยนต์อีวี ผลิตเกี่ยวกับรถอีวี และกลุ่มลูกค้าเป็นบริษัทรถยนต์ทั้งจีนและยุโรป

หุ่นยนต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่น

แม้ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ตลาดจะซบเซา เพราะสถานการณ์โควิด แต่ในอนาคตเมื่อส่งออกกันได้ปกติ ทางกลุ่มนักลงทุนของญี่ปุ่นมองเห็นโอกาส และมีออร์เดอร์มากมาย

ทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นมีความจำเป็นที่จะขยายโรงงาน แม้เคยมองเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซียไว้เป็นฐานการผลิต แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้าย เลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุด

หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารให้ถึงโต๊ะ

 

โดยจะใช้ชิพโรงงานผลิตที่ญี่ปุ่น ไปผลิตโรงงานที่ประเทศไทย เครื่องจักรโรงงานจะนำไปผลิตที่ประเทศไทยทั้งหมด โดยจะเริ่มการสร้างโรงงานต้นปีหน้า และใช้เวลาสร้างโรงงาน 2 ปี

ภาพจากกล้องบนรถบัสอัจฉริยะไร้คนขับ

แม้ค่าแรงขั้นต่ำของไทยกำลังจะขึ้น แต่นั่นไม่ใช่ปัจจัยหลัก แต่เรื่องความมั่นคงของแรงงาน ระบบสาธารณูปโภคของไทย การขนส่งของไทย เป็นจุดหลักในการตัดสินใจเลือกลงทุนในไทย

ชลัช วิรุฬหเดช

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน