‘อธิการมจร.-ชยสาโร’
ท่านอนิลมานชั้นธรรม

พระบรมราชโองการประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ชั้น‘รองสมเด็จ’เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองอีก 5 รูป จากชั้นธรรม 4 ชั้นเทพ 1 เผยพระธรรมกวี วัดราชาธิวาส เป็น พระพรหมวชิรมงคล ขณะที่พระธรรมรัตนดิลก วัดอรุณราชวราราม เป็นพระพรหมวัชรเมธี ด้านพระเทพปริยัติมงคล วัดจองคำ จ.ลำปาง เป็นพระพรหมมงคลวัชโรดม ขณะเดียวกันก็โปรดกรุณาทรงเลื่อน พระเทพพัชรญาณมุนีหรือท่านฌอน ชยสาโร เป็น พระธรรมพัชรญาณมุนี รวมถึงพระเทพศากยวงศ์บัณฑิตหรือท่านอนิลมาน เป็น พระธรรมศากยวงศ์ และพระเทพวัชรบัณฑิต อธิการบดีมหาจุฬาฯ เป็น พระธรรมวัชรบัณฑิต

เมื่อวันที่ 8 ก.ค. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดสถาปนา พระเถระจำนวน 5 รูป ดังนี้ 1.พระธรรมกวี ขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวชิรมงคล สถิต ณ วัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 8 รูป 2.พระธรรมไตรโลกาจารย์ ขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวัชราจารย์ สถิต ณ วัดราช ประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 8 รูป 3.พระธรรมปาโมกข์ ขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวชิรากร สถิต ณ วัดราชผาติการาม กรุงเทพมหานคร มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 8 รูป 4.พระธรรมรัตนดิลก ขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวัชรเมธี สถิต ณ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 8 รูป 5.พระเทพปริยัติมงคล ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมมงคลวัชโรดม สถิต ณ วัดจองคำ จ.ลำปาง มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 8 รูป

พร้อมกันนี้ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ยังเผยแพร่ พระบรมราชโองการโปรดพระราช ทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระเถระจำนวน 15 รูป ดังนี้ 1.พระเทพพัชรญาณมุนี เป็น พระธรรมพัชรญาณมุนี สถิต ณ สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี จ.นครราชสีมา 2.พระเทพศากยวงศ์บัณฑิต เป็น พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร 3.พระเทพวัชรบัณฑิต เป็น พระธรรมวัชรบัณฑิต สถิต ณ วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร 4.พระราชปริยัติมุนี เป็น พระเทพวัชราจารย์ สถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร 5.พระราชวชิรญาณ เป็น พระเทพพัชรญาณมุนี สถิต ณ วัดป่ารัตนวัน จ.นครราชสีมา

6.พระเมธีวชิรโสภณ เป็น พระราชวัชรบัณฑิต สถิต ณ วัดจากแดง จ.สมุทรปราการ 7.พระครูภาวนาพิลาศ เป็น พระราชภาวนาพัชรญาณ สถิต ณ วัดเขาวง จ.สระบุรี 8.พระครูกันตสีลสัมบัน เป็น พระราชวัชรญาณเวที สถิต ณ วัดป่าสมบูรณ์ธรรม จ.พิษณุโลก 9.พระครูปลัด อนันต์ อกิญจโน เป็น พระราชวชิรญาณ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ สถิต ณ วัดมาบจันทร์ จ.ระยอง 10.พระครูปลัดมงคลวัฒน์ (สุพล ขันติพโล) เป็น พระราชปัญญาวชิ โรดม สถิต ณ วัดเทพเจติยาจารย์ จ.เชียงใหม่

11.พระอธิการอินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก เป็น พระราชภาวนาวชิรากร ฝ่ายวิปัสสนาธุระ สถิต ณ วัดอุดมมงคลวนาราม จ.อุดรธานี 12.พระอธิการสุธรรม สุธมฺโม เป็น พระราชวชิรธรรมาจารย์ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ สถิต ณ วัดเกษรศีลคุณ จ.อุดรธานี 13.พระมหาตอง ธัมมวุฑโฒ (เปรียญธรรม 6 ประโยค) เป็น พระราชวชิรธรรมวิธาน สถิต ณ วัดป่าวชิร บรรพต จ.ชลบุรี 14.พระครูถิรธรรมรัต วัดราษฎร์อุปถัมภ์ จ.พังงา เป็นพระราชาคณะ มีนามว่า พระวชิรญาณโสภณ และ 15.พระเบร็ท อจโล ที่พักสงฆ์อานันทคีรี จ.เพชรบูรณ์ เป็นพระราชาคณะ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามว่า พระวชิรญาณมุนี

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค.2564 ประกาศ ณ วันที่ 8 ก.ค.2564 เป็นปีที่ 6 ในรัชกาลปัจจุบัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน