เมื่อวันที่ 25 ต.ค. นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รักษาราชการอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในทวีปแอฟริกา เริ่มต้นช่วงก.ย.2565 โดยข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประเทศยูกันดาและองค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2565 มีรายงานพบผู้ป่วยติดเชื้อในยูกันดาหลายเมือง 90 ราย และเสียชีวิต 44 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 49 จำนวนนี้มีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสาธารณสุขติดเชื้อ 11 ราย และเสียชีวิต 5 ราย การระบาดครั้งนี้เป็นการระบาดของไวรัสอีโบลา สายพันธุ์ซูดาน มีความรุนแรงเป็นอันดับ 2 อัตราป่วยตายเฉลี่ยร้อยละ 53 รองมาจากสายพันธุ์ซาอีร์ ที่อัตราป่วยตายเฉลี่ยร้อยละ 68

นพ.ธเรศกล่าวต่อว่า การระบาดครั้งนี้ แม้จำนวนผู้ป่วยยังไม่มากแต่เป็นที่จับตาอย่าง ใกล้ชิดโดยมีการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมการระบาดในยูกันดาอย่างเข้มข้น จากการตรวจสอบข่าวพบว่าองค์การอนามัยโลก ยังไม่ได้ประกาศให้การระบาดครั้งนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ แต่ปกติจะมีการประเมินสถานการณ์ระบาดเป็นระยะ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ก.ย. 2565 กรมควบคุมโรคได้ยกระดับมาตรการป้องกันที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ เนื่องจากโรคอีโบลาเป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 โดยดำเนินการตรวจคัดกรองผู้เดินทางมาจากยูกันดาทุกรายจะต้องได้รับการคัดกรองสุขภาพ และลงทะเบียน ณ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศก่อนเข้าประเทศไทย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน