สธ.เตือนภัยนร.แบกเป๋าหนัก – เมื่อวันที่ 26 พ.ค. นพ. ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กระเป๋าหนังสือของนักเรียนถือว่ามีผลกระทบต่อกระดูกสันหลังของเด็ก บางครั้งเด็กที่ถือกระเป๋าแบบหิ้วหรือแบบสะพายข้าง ถ้ามีน้ำหนักมากเด็กก็จะเอียงตัวไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อรับน้ำหนัก ทำให้เมื่อเราเอียงตัวไป บุคลิกภาพเราก็จะเป็นท่านั้น กล้ามเนื้อก็จะพัฒนาไปในลักษณะข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งคนเราปกติถ้าใช้งานร่างกายข้างใดข้างหนึ่งหรือซีกใดซีกหนึ่ง ข้างนั้นก็จะทำงานหนักมากกว่าปกติ ส่งผลต่อการเจริญ

เติบโตของร่างกายของเด็ก ซึ่งปกติแนะนำให้เด็กนักเรียนไม่ควรแบกกระเป๋าที่มีน้ำหนักเกินร้อยละ 10-20 ของน้ำหนักตัว เนื่องจากหากแบกกระเป๋านักเรียนที่มีน้ำหนักมากอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อระบบโครงสร้างกล้ามเนื้อของร่างกาย

“เด็กจะมีอาการปวดบ่า ปวดต้นคอ ตลอดจนทำให้เป็นสาเหตุของการปวดหลังเรื้อรังได้ และยังเป็นผลให้มีลักษณะทางบุคลิกภาพที่ผิดปกติ เช่น หลังค่อม ไหล่หรือเชิงกรานดูไม่สมดุลกัน เป็นผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก แนะผู้ปกครองสังเกตอาการโรคกระดูกคดเอียงเบื้องต้น” นพ.ณัฐพงศ์กล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน