ทูตสุขภาพจิต – ผลกระทบทางสังคมจากภาวะเศรษฐกิจ และสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้ประเด็นสุขภาพจิตของประชาชนเป็น เรื่องใหญ่ขึ้น

บางประเทศต้องทุ่มทรัพยากรและงบประมาณเพื่อรับมือกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะดังที่ทราบว่าอาการป่วยทางใจอาจส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้

ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตของไทย อัตราการฆ่าตัวตายไต่ระดับขึ้นเมื่อปี 2563 เนื่องจากภาวะวิกฤตเพิ่มความเสี่ยงต่อกลุ่มที่เปราะบางอยู่แล้ว

ส่วนภาวะความเครียดเป็นอีกปัจจัยที่กระทบต่อสุขภาพจิตในปี 2564 ที่โรคโควิดหวนกลับมาระบาดรอบใหม่

การตั้งทูตสุขภาพจิตอาจเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยการรณรงค์เรื่องนี้ แต่การตัดสินใจยุติบทบาททูตสุขภาพจิตของมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2020 น.ส.อแมนด้า ชาลิสา ออบดัม กลับกลายเป็นการผูกปมขัดแย้งขึ้นใหม่

หลังจากน.ส.อแมนด้าแสดงความคิดเห็นทางการเมือง รวมถึงล่าสุดที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่รัฐต่อผู้ชุมนุมในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 ก.พ.

กรมสุขภาพจิตให้คำอธิบายว่า ไม่อาจดำเนินภารกิจที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งและสร้างความไม่สบายใจแก่ประชาชน

การตัดสินใจดังกล่าวจึงดูเหมือนอยู่บนพื้นฐานของความหวังดีและห่วงใยประชาชนที่ไม่ ชื่นชอบการแสดงออกของน.ส.อแมนด้า

แต่ไม่ได้ครอบคลุมถึงกลุ่มคนที่ไม่ขัดข้องกับการแสดงออกตามวิถีประชา ธิปไตยของนางงามสาว

ตามข้อมูลของมิสยูเวิร์สไทยแลนด์ 2020 หญิงสาวจัดตั้งโครงการ Have you listened ตามประสบการณ์ด้านสุขภาพจิตและต้องการรับฟังเสียงของทุกคนในช่วงเวลายากลำบากนี้

ส่วนบุคลิกทั่วไปของน.ส.อแมนด้า ไม่ได้แสดงอาการเครียด หวาดระแวง หรือมีอารมณ์สองขั้ว

อีกทั้งไม่ได้แสดงความเห็นที่สุดโต่งทาง การเมืองเหมือนบุคคลที่โจมตีหญิงสาว

หลังจากถูกยุติบทบาททูตสุขภาพจิต น.ส. อแมนด้ายืนกรานถึงการแสดงออกถึงจุดยืนสนับสนุนประชาธิปไตย ความเท่าเทียมของมนุษย์ และต่อต้านการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ

น่าเสียดายว่า คนที่มีคุณสมบัติที่ดีเหล่านี้น่าจะได้เป็นทูตสุขภาพจิต

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน