“ถ้าเรามีทรัพย์สมบัติสิ่งของ ก่อนที่จะหยิบยื่นให้ใครต่อใคร ควรจะประเคนให้บิดามารดาของเราก่อนอื่น ซึ่งเป็นการเลี้ยงดูบิดามารดาของตน” สารธรรมมงคล พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

“หลวงปู่ใจ อินทสุวัณโณ” วัดเสด็จต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงครามพระเกจิชื่อดังลุ่มน้ำแม่กลอง จัดสร้าง “เหรียญงบน้ำอ้อย” หรือ “เหรียญอริยสัจ” เมื่อราวปี พ.ศ.2489-2490 ที่ระลึกแก่ผู้ร่วมงานทำบุญในวันฝัง ลูกนิมิตพระอุโบสถหลังใหม่ สร้างเป็นเนื้อเงิน 80 เหรียญ เนื้อทองแดงรมดำ 300 เหรียญเท่านั้น

ลักษณะเป็นเหรียญกลม หูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปกลีบบัวบาน มีอักขระขอมกำกับแต่ละกลีบ ตรงกลางเป็นหัวใจอริยสัจว่า “ทุ สะ นิ มะ” ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปธรรมจักร ตรงกลางมี “ยันต์เฑาะว์” ถัดมาเป็นพระปิดตาวงนอกสุดเป็นอักขระขอมโดยรอบ

“หลวงปู่สา สุขธัมโม” วัดบ้านเหล่า ต.เม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม พระเกจิเรืองวิทยาคมที่มีชื่อเสียง จัดสร้างเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ในปี 2509 โดดเด่นไม่เป็นรองรุ่นแรกคือ “เหรียญรูปเหมือนรุ่น 2 พ.ศ.2513”

เหรียญหลวงปู่สา รุ่น 2 เป็นเหรียญพิมพ์เสมาเล็ก มีหูห่วง จำนวนการสร้างประมาณ 3,000 เหรียญ จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงรมดำ ด้านหน้าเหรียญจะเป็นรูปเหมือนหลวงปู่สา ครึ่งองค์ ใต้ห่วงมีอักขระยันต์ 3 แถวเป็นคาถาตั้งธาตุด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “หลวงพ่อสา สุขธมฺโม” ส่วนด้านซ้ายเขียนว่า “วัดบ้านเหล่า จ.มหาสารคาม”

ด้านหลังเหรียญบริเวณใต้ห่วงมีอักขระ บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนพระครูสีหราชครึ่งองค์เอียงข้างหลับตา ใต้รูปเหมือนเขียนว่า “รุ่น ๒” จากด้านขวาของขอบเหรียญ วนลงไปยังด้านล่างโค้งขึ้นไป ด้านซ้าย มีตัวอักษรเขียนว่า “หลวงพ่อสีหราช วัดแก่นท้าว จ.มหาสารคาม” เป็นที่โจษขานในเรื่องพุทธคุณรอบด้าน

“พระครูอุภัยภาดาธร” หรือ “หลวงพ่อขอม อนิโช” อดีต เจ้าอาวาสวัดไผ่โรงวัว อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เป็นพระ นักพัฒนารูปสำคัญ พระเครื่องและวัตถุมงคลที่สร้างและ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงมาจนถึงปัจจุบัน คือ “เหรียญน้ำมนต์หลวงพ่อขอม” วัดโพธาราม (วัดไผ่โรงวัว) จ.สุพรรณบุรีจัดสร้างขึ้นในปี 2513 โดย นายบุญมา บุญเลิศวณิชย์ สร้างถวายวัดให้แจกฟรี

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อขอม นั่งสมาธิเต็มองค์ รอบเหรียญไล่จากด้านล่างมาด้านบนเขียนว่า “เหรียญน้ำมนต์ วัดโพธาราม หลวงพ่อขอมสุพรรณบุรี” และมีคำว่า “พิเศษ” ด้านหลังเหรียญเป็นรูปพระพุทธเขียนด้านบนว่า “พระพุทธโคดม” พร้อมอักขระยันต์เป็นเนื้อโลหะ ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมาก

อริยะ เผดียงธรรม

[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน