“Matichon Read Alert! อ่านเอาเรื่อง” – ไม่ต้องรอ ไม่ต้องอดใจแล้ว คลิกเลือกทันควัน แล้วจะส่งให้อ่านทันใจ ไม่ต้องเศร้าไปแม้งานสัปดาห์หนังสือครั้งที่ 49 จะเลื่อน

บัดนี้เส้นทางออนไลน์เปิดฉลุย ตรงเข้าไปได้เลยที่ www.matichonbook .com สำนักพิมพ์มติชนชวน “Read Alert! อ่านเอาเรื่อง” กับเทศกาลช็อปหนังสือออนไลน์ ยกทัพหนังสือใหม่ หนังสือไฮไลต์ พร้อมโปรโมชั่นโดนใจและของสมนาคุณสุดเซอร์ไพรส์ ส่งไวถึงมือคุณ

ในภาวะโควิด-19 ระบาดรุนแรง การรักษาระยะห่างเป็นเรื่องสำคัญ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 49 ซึ่งมีกำหนดจัดระหว่างวันที่ 17-25 เมษายน 2564 จึงต้องเลื่อนออกไปก่อน เพื่อเป็นทางหนึ่งในการสกัดการแพร่กระจายของเชื้อโรค

 

แต่รักจะอ่าน อะไรก็กั้นขวางไม่ได้ มาออนไลน์แล้ว Matichon Read Alert! อ่านเอาเรื่องกันเถอะ 16 เมษายน–5 พฤษภาคม 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง

เริ่มจาก Check List เล่มห้ามพลาดกันก่อน ได้แก่ มติชน บันทึกประเทศไทย ปี 2563, ความรักของวัลยา, ปีศาจ, วิถีแห่งอำนาจ เอี้ยก่วย, 24/7-1 (หรือ “24 ชั่วโมง 7 วัน ใน 1 สัปดาห์”), พุทธศิลป์ไทยในอาเซียน, Midnight’s Children, หมู่เกาะมาเลย์ เล่ม 2 (The Malay Archipelago 2)

ประวัติศาสตร์อยุธยา ห้าศตวรรษสู่โลกใหม่, มนุษย์อยุธยา ประวัติศาสตร์สังคมจากข้าวปลา หยูกยา ตำรา SEX, ธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา และระหว่างบรรทัด บันทึกประวัติศาสตร์ มหากาพย์บัตรทอง

…อ่านเอาเรื่องกันต่อกับ ‘สงครามเย็น (ใน) ระหว่าง โบว์ขาว’ ผลงานศึกษาวิจัยที่ออกมาเป็นหนังสือเล่มล่าสุดของ ผศ.ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก้าวเข้าไปสำรวจมุมมอง โลกทัศน์ ตัวตนต่างรุ่น ต่างวัย ต่างวัฒนธรรม ต่างอุดมการณ์ทางการเมืองของคน 3 เจเนอเรชั่น ที่มีบทบาทในปรากฏการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญของไทยเมื่อปี พ.ศ.2563

คือ คนรุ่นสงครามเย็น หรือเทียบได้กับรุ่น baby boomer ของฝรั่ง, คนรุ่น inbetween (ในระหว่าง) หรือลูกของ baby boomer และเป็นพ่อแม่ของรุ่นโบว์ขาว และคนรุ่นโบว์ขาว หรือนักเรียนมัธยม นิสิตนักศึกษา รวมถึงคนเพิ่งเริ่มต้นชีวิตการทำงาน

(สรุปแบบหยาบและเร็วที่สุดคือ รุ่นโบว์ขาว กำลังไฝว้กับรุ่นสงครามเย็น และทั้งคู่แตกต่างกัน โดยสิ้นเชิง เติบโตมาในบริบทที่ต่างสุดขีด มองโลกต่างสุดขั้ว ส่วนคำตอบสำหรับการเปลี่ยนแปลงนั้น ผู้วิจัยเห็นว่าอยู่ในกำมือของคนรุ่น inbetween ผู้ติดอยู่กึ่งกลางระหว่างยุคสมัยและอุดมการณ์ ซึ่งอาจเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการเชื่อมประสานรอยร้าวและความขัดแย้งที่ไร้ทางออก)

ฉายภาพเบื้องหลังความแตกต่างทางการเมืองและความขัดแย้งที่ดูคล้ายไม่มีวันจะลงรอยระหว่างผู้ใหญ่รุ่นสงครามเย็น รุ่นกลาง และคนหนุ่มสาวรุ่นโบว์ขาว จากการเข้าไปร่วมสังเกต สนทนา เก็บสถิติ ฟังเสียงและทำความเข้าใจความแตกต่างของพวกเขาจากพื้นที่การชุมนุมจริง เพื่อทบทวน ตั้งคำถาม และเขียนคำตอบใหม่ในใจร่วมกัน ว่าเราจะก้าวข้ามความขัดแย้งและอยู่ร่วมกันท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดยั้งนี้อย่างไร

“ท่ามกลางการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและเศรษฐกิจแปรปวนทั้งที่เกิดขึ้นจากปัญหาความสามารถในการแข่งขันของไทยและ ผลกระทบจากโรค โควิด-19 ในปี พ.ศ. 2563 เราได้เห็นการปะทุตัวขึ้นของการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างคนรุ่นใหม่กับผู้มีอำนาจในบ้านเมือง…การปะทะที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้มิใช่เพียงมิติทางการเมือง แต่รวมไปถึงการปะทะระหว่างคนสองวัยในองค์กรต่างๆ ทั้งองค์กรรัฐ บริษัท โรงเรียน และสถาบันครอบครัวที่มีคนสองวัยนี้อยู่ด้วยกัน

เพื่อเตรียมพร้อมให้แก่ผู้อ่านในการใช้ชีวิตแบบ New Normal ทางการเมืองและสังคมที่ความแตกต่างเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้เขียนจึงขอพาย้อนไปดูอดีตว่าผู้คนแต่ละรุ่นในสังคมไทย เติบโตและสร้างตัวตนทางการเมืองและสังคมของพวกเขาผ่านประสบการณ์แบบใด เราจะเข้าใจตัวเราเอง เข้าใจคนอื่นๆ ทั้งที่คิดเหมือนหรือแตกต่างกับเรา เพื่อจะได้ร่วมกันคิดว่าเราจะเข้าใจกันได้อย่างไร และเราจะเลือกเส้นทางใดเพื่อก้าวผ่านจุดเปลี่ยนของสังคมไทยที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้าก็เร็ว ให้สังคมนี้เป็นพื้นที่สำหรับสร้างอนาคตที่เหมาะสมและสวยงามสำหรับคนรุ่นต่อไป”

“แรงงานวิจารณ์เจ้า” ประวัติศาสตร์ราษฎรผู้หาญกล้าท้าทายสมบูรณาญาสิทธิ์ไทย (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3) ผลงาน ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ คืนเรื่องราวของสามัญชนผู้ยิ่งใหญ่ให้กลับมามีตัวตนในหน้าประวัติศาสตร์

ในบรรยากาศที่เสรีภาพทางความคิดจำกัดคับแคบและหาผู้หาญกล้าวิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นปกครองได้ยาก เฉกเช่นสมัยสมบูรณา ญาสิทธิราชย์ ‘ถวัติ ฤทธิเดช’ ผู้นำกรรมกรร ถรางที่หลายคนให้สมญานามว่า วีรบุรุษ คนแรกของขบวนการกรรมกรไทย คือหนึ่งในราษฎรสามัญที่ยืนหยัดต่อสู้ในเชิงหลักการและเหตุผลอย่างตรงไปตรงมา ด้วยการยื่นฎีกาและเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ เรียกร้องสิทธิต่างๆ ที่ชนชั้นกรรมกรพึงได้รับ และตั้งคำถามที่มาก่อนกาลถึงความฉ้อฉลของ ผู้ถืออำนาจรัฐในขณะนั้น

ครั้นเสรีภาพทางความคิดเปิดกว้างขึ้นหลังการปฏิวัติ 2475 ถวัติยังคงเดินหน้าเรียกร้องสิทธิให้แก่กรรมกรอย่างต่อเนื่อง ด้วยอุดมการณ์ที่ศรัทธาต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างแน่นแฟ้น ทำให้ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ‘ทรงบริภาษใส่ความเป็นการหมิ่นประมาท’ ต่อตัวถวัติ จึงเกิดกรณีที่สามัญชนยื่นฟ้องคดีอาญาต่อพระมหากษัตริย์ขึ้นมา เรียกว่า คดีพระปกเกล้า

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กล่าวไว้ในคำนำเสนอ “ถวัติ เป็นนักหนังสือพิมพ์ และนักคิดนักเขียน วิพากษ์วิจารณ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ไม่สามารถจะปรับตัวและตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคมไทยได้ทันต่อกาลเวลา

ในช่วง 10 กว่าปีของกลางทศวรรษ 2460 จนถึงปลายทศวรรษ 2470 บทบาทของถวัติโดดเด่น ทั้งวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งเป็นปากเป็นเสียงให้ชาวนาชาวไร่ เป็นผู้นำกรรมกร (แบบไม่จำกัดเชื้อชาติและภาษา) ถวัติไปไกลถึงขนาดยื่นฟ้องร้องต่อศาลว่า พระเจ้าแผ่นดิน คือรัชกาลที่ 7 ทรงหมิ่นประมาทตนที่เป็นราษฎร แต่เขาต้องตกเป็นจำเลยในข้อหาคลาสสิค คือ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ… งานชิ้นนี้ของศิโรตม์น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแผ้วถางทางสำหรับประวัติศาสตร์และการเมืองไทยภาคประชาชน”

…อีกเล่มที่เผยชัดเจนถึงบทบาทของสามัญชน “ยุคทองล้านนา ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสามัญชน” ของ วิชญา มาแก้ว พาผู้อ่านกลับไปยังดินแดนแห่งหุบเขาและสายน้ำอันอุดมสมบูรณ์ ที่สามัญชนทั้งหลายได้ร่วมกันสร้างยุคสมัยอันรุ่งเรืองด้วยการค้า

ในคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 ล้านนาซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรของป่าที่สำคัญได้เปิดประตูรับยุคสมัยแห่งการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล้านนาที่ก่อตัวขึ้นจากเครือรัฐต่างๆ ในดินแดนหุบเขาทางตอนเหนือของประเทศ ไทย ซึ่งเป็นรัฐตอนในที่ไม่ติดทะเล ได้อาศัยเครือข่ายระหว่างเมืองและรัฐในการกระจายสินค้าและทรัพยากรจากดินแดนหุบเขาไปสู่เมืองท่าชายฝั่ง เพื่อส่งออกไปขายในตลาดการค้าใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประกอบกับโครงสร้างสังคมและการปกครองของล้านนาที่เอื้อให้ชนชั้นล่างหรือไพร่มีอิสระในการทำค้า-ทำการผลิต ทำให้ไพร่เหล่านี้บางส่วนกลายเป็นทั้งพ่อค้า ช่างฝีมือ และบางคนสามารถสะสมทุนได้จากการค้าที่รุ่งเรือง และกระจายความมั่งคั่งผ่านการระดุมทุนสร้างวัดอันทำให้เกิดการจ้างงาน การผลิต และการค้าอีกต่อหนึ่ง

หนังสือเล่มนี้ ตามหา รื้อฟื้น และเปิดเผยบทบาทของสามัญชนต่อเศรษฐกิจการค้าในล้านนายุคทอง ทลายกรอบความเชื่อประวัติศาสตร์ที่ว่า กษัตริย์เป็นผู้ทำให้อาณาจักรรุ่งเรืองหรือเสื่อมสลาย ด้วยการเล่าประวัติศาสตร์จากหลักฐานเดิมแต่คำอธิบายใหม่ อันเผยให้เห็นผู้คนในระบบเศรษฐกิจล้านนาที่เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสร้างความรุ่มรวยให้แก่อาณาจักร

ปักหมุดลงแล้วตรงไปเลย www. matichonbook.com สู่แคมเปญ “Matichon Read Alert! อ่านเอาเรื่อง”

ผู้สื่อข่าวหรรษา

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน