“ความรู้ที่เกิดขึ้นแล้ว จิตไม่ยึดสร้างปัญหาให้ตัวเองเดือดร้อน เพราะรู้แจ้งเห็นจริง มีแต่ปล่อยวาง ความรู้นั้นเป็นสัมมาทิฐิ” สารธรรมมงคล พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

ปี พ.ศ.2537 คณะศิษย์จัดสร้างวัตถุมงคลถวาย “หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ” อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม เป็นเหรียญรุ่นแซยิด ครบรอบ 80 ปี วันที่ 10 ม.ค.2538 ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงหยดน้ำ ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่คำพันธ์ ครึ่งองค์ลอยนูน ตรงจีวรตอกโค้ด “ธ.ช.” ย่อมาจากพระธาตุมหาชัย ด้านล่างใกล้เส้นสันขอบนูน สลักคำ “พระสุนทร ธรรมากร” สมณศักดิ์พระราชาคณะกรณีพิเศษ (พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก

ด้านหลัง มียันต์มหาเศรษฐีสี่ทิศ ซึ่งเป็นยันต์ประจำตัวของหลวงปู่ ด้านซ้ายตอกโค้ดตัว “นะ” ย่อมาจาก “นะปัด สู่นิพพาน” ด้านขวาตอกโค้ด “ธ.ช.” กำกับอีกครั้ง ถัดจากยันต์สลักคำว่า “แซยิด คณะศิษย์สร้างถวาย ๑๐ ม.ค.๓๗ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม” เป็นเหรียญวัตถุมงคลที่ได้รับการกล่าวขวัญถึง

“หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ” พระวิปัสสนาอาจารย์ชื่อดัง วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนคร ศรีอยุธยา วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมอย่างมาก คือ “พระเหนือพรหมเนื้อผง” รูปแบบจะเป็นพระพรหมมี 4 พระพักตร์ และมีรูปพระพุทธองค์อยู่บนเศียรพระพรหม พระชุดนี้จัดสร้างช่วงแรกปี 2517 มีเนื้อเดียว คือ “เนื้อผงสีขาว” หรือ “ผงมหาจักรพรรดิ” ที่หลวงปู่ดู่ลบผงด้วยตัวท่านเอง พระบางองค์มีคราบสีเหลือง เนื่องจากแช่น้ำชาที่ชงดื่ม

ปี 2531 หลวงปู่ดู่ สร้างพระเหนือพรหมขึ้นมาอีกรุ่น ที่พิเศษคือ ผสมเส้นเกศาลงไปด้วย พิมพ์ทรงลักษณะเดิม เปลี่ยนแปลงเพียงแค่รูปในหน้าพระพรหมที่คมชัดมากกว่ารุ่นแรก และยังสร้างเป็นเนื้อโลหะผสมที่มีรูปทรงเดียวกันอีกด้วย “พระเหนือพรหมเนื้อผง” ในยุคแรกนั้น จะไม่ปั๊มยันต์หมึกรูปกงจักร ซึ่งยันต์หมึกนี้ ปั๊มหลังจากมรณภาพ และคณะกรรมการวัดเข้าไปสำรวจทรัพย์สินทั้งหมด และจึงทำยันต์ปั๊มออกมา เพื่อป้องกันการปลอมแปลง จัดเป็นอีกวัตถุมงคลที่หายาก

วัตถุมงคลหลวงปู่ถิน สารานุโม อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านดงเมืองน้อย อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม จัดสร้างออกมาเพียงไม่กี่รุ่น แต่ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง คือ เหรียญ พ.ศ.2520 ที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมา ลักษณะเป็นเหรียญกลมยกขอบมีหูห่วง ด้านหน้าเป็นรูปเหมือน เขียนว่า “หลวงพ่อพระครูนิเทศธรรมโกศล”








Advertisement

ด้านหลังเขียนว่า “ที่ระลึกในงานฝังลูกนิมิต วัดดงเมืองน้อย” และจากด้านขวาโค้งลงไปทางด้านล่างวนขึ้นไปทางด้านซ้าย เขียนว่า “ต.ดงเมือง อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหา สารคาม” บริเวณกลางเหรียญเป็นยันต์อักขระพระเจ้าห้าพระองค์ จัดเป็นเหรียญยอดนิยมในพื้นที่

อริยะ เผดียงธรรม

[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน