ต้นตอที่กฎหมาย – จากกรณีศาลปกครองมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น (กทม.) เพิกถอนคำขออนุญาตก่อ สร้างอาคารชุด พักอาศัยแอชตัน อโศก นั้น มีสาระสำคัญในส่วนของพิจารณาว่าที่ดินที่โครงการใช้เป็นทางเข้าออกนั้นมี 2 แปลงที่รวมกันนั้น ไม่เป็นทางสาธารณะหรือที่สาธารณะ เพราะที่ดินส่วนการครอบครองของโครงการ 6.00 เมตร มิได้มีการเปิดให้ประชาชนหรือยอมให้ประชาชนเข้าใช้สอยใดๆ และที่ดินแปลงที่กว้าง 7.00 เมตร จะรวมกับที่ดินของผู้ประกอบการ 6.00 เมตร จนทำให้เกิดพื้นที่สาธารณะกว้าง 13.00 เมตรนั้น เพราะที่ดินส่วนที่การรถไฟเวนคืนเพื่อกิจการของการรถไฟฟ้า การรถไฟฟ้าจะมอบให้บุคคลอื่นไปใช้เพื่อประโยชน์ที่มิใช่เพื่อกิจการของการรถไฟฟ้าก็หาใช่

ดังนั้น คำพิพากษาระบุว่า การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมิได้ออกคำสั่งหรือการทักท้วงการแจ้งการก่อสร้างโดยไม่รอคำอนุญาตก่อสร้างโครงการนี้ตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคารจึงกระทำโดยมิชอบ

ปัญหาก็ย้อนกลับมาที่ตัวกฎหมายคือ ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารหมวด 4 อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมิได้มีบทบาทใดที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจเพิกถอนคำแจ้งการก่อสร้างอาคารตาม มาตรา 39 ทวิ ไว้แต่ประการใด เพราะอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในหมวดที่ 4 กำหนดอำนาจหน้าที่ที่จะดำเนินการต่างๆ ต่ออาคารที่ก่อสร้างผิดไปจากที่ได้ขออนุญาตไว้เท่านั้น

คำถามก็คือ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราใดมาออกคำสั่งเพิกถอนคำขออนุญาตก่อสร้างตามมาตรา 39 ทวิ ได้

และก็จะมีคำถามถึงการจะดำเนินการอย่างไรกับโครงการการลง ทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารสูงอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่สร้างเสร็จ และจดทะเบียนกรรมสิทธิ์อาคารชุดกันไปแล้วกว่า 10 อาคาร ที่มีปัญหาเรื่องของแนวเขตที่ดินของโครงการกับทางสาธารณะเช่นเดียวกับอาคารแอชตัน อโศก จะนับว่าเป็นการเลือกปฏิบัติได้หรือไม่

ต้นเหตุของปัญหาในอุตสาหกรรมก่อสร้างหรืออาคารบ้านเรือนนั้นมาจากปัญหาที่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนมากมายหลายฉบับ และแต่ละฉบับก็มีบทบัญญัติในเรื่องต่างๆ ที่แตกต่างกัน ทั้งในความหมาย วัตถุประสงค์ และรายละเอียดที่ซับซ้อนและซ้ำซ้อนทำให้มีการตีความที่แตกต่างกันตามอำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบ อันส่งผลให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติมาโดยตลอด

กรณีอาคารแอชตัน อโศก การจะลงทุนในอาคารด้านอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ได้นั้น เป็นวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ที่ดินที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงผังเมืองรวม กทม.ไว้ชัดเจน ซึ่งหากจะใช้ข้อกำหนดในกฎกระทรวงควบคุมอาคารหรือข้อบัญญัติควบคุมอาคารกรุงเทพมหานคร จะถือว่าเป็นการขัดกันของกฎหมายหรือไม่ ทั้งๆ ที่ในพ.ร.บ.ควบคุมอาคารก็มีบทบัญญัติในกรณีที่มีข้อขัดแย้งกันระหว่างกฎหมายทั้งสองฉบับ ให้ถือตามข้อกำหนดทางผังเมืองเป็นหลัก

ปัญหาของการตีความของความซับซ้อนและซ้ำซ้อนของถ้อยคำในกฎหมายที่แตกต่างกันเป็น ต้นเหตุอันสำคัญที่ได้สร้างปัญหาในภายหลังตลอดมา








Advertisement

จะปฏิรูปกฎหมายเพื่อลดปัญหาเหล่านี้ได้หรือยัง

นายช่าง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน